การศึกษาสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ที่ศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 ชั้นปีที่ 3 จำนวน 25 คน ชั้นปีที่ 4 จำนวน 25 คน รวมนักศึกษาที่เป็นกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดสมรรถนะทางคณิตศาสตร์จำนวน 8 ด้าน โดยมีลักษณะเป็นแบบอัตนัยและแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์โปรโตคอล (Protocal Analysis) การวิเคราะห์งานเขียน (Task Analysis) และการบรรยายเชิงวิเคราะห์ (Analytic Description) จากแบบวัดสมรรถนะทางคณิตศาสตร์
ผลการวิจัย พบว่า การศึกษาสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ ของนักศึกษา จำแนกตามสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ที่เด่นของนักศึกษา เรียงตามลำดับความสามารถในการใช้สมรรถนะทางคณิตศาสตร์จากสูงสุดไปต่ำสุด คือ สมรรถนะที่ 7 การใช้สัญลักษณ์ ภาษา และการดำเนินการ (Using Symbolic, Language and Operation) สมรรถนะที่ 5 การตั้งและการแก้ปัญหา (Problem Posing and Solving) สมรรถนะที่ 1 การคิดและการให้เหตุผล (Thinking and Reasoning) สมรรถนะที่ 6 การแสดงเครื่องหมายแทน (Representation) สมรรถนะที่ 3 การสื่อสาร (Communication) สมรรถนะที่ 8 การใช้ตัวช่วยและเครื่องมือ (Using Aids and Tools) และสมรรถนะที่ 4 การสร้างตัวแบบ (Modeling)
Article Details
References
จิตรา ทองเกิด. (2542). กิจกรรมที่จัดในโรงเรียน. วารสารวิชาการ, 10(3).
ทิศนา แขมมณี. (2547). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพ ฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.
ไพศาล วรคำ. (2554). การวิจัยทางการศึกษา Educational Research. มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2556). รายงานประจำปี 2556. กรุงเทพฯ: สถาบัน.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2550). ทักษะ/กระบวนการทางคณิตศาสตร์. กรุงเทพ ฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.).
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2553). รายงานผลการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น: โครงการ PISA 2009. กรุงเทพ ฯ: อรุณการพิมพ์.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2554). ผลการประเมิน PISA 2009 การอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์. กรุงเทพ ฯ: อรุณการพิมพ์.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โครงการ PISA ประเทศไทย. (2557). ตัวอย่างการประเมินผลนานาชาติ PISA คณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.
Cai, J. & Lester Jr., F. K. (2005). Solution representations and pedagogical representations in Chinese and U.S. Classrooms. Journal of Mathematical Behavior, (24).
Capraro, M. & Joffrion, H. (2006). Algebraic equations : Can middle school students meaningfully translate from words to mathematical symbols?. Reading Psychology, 27(2), 147-164.
Emori, H. (2005). The Workshop for young mathematics educations in Thailand 2005 building up the research agenda for the next 10 year, 2006 -2015. Khon Kean: Khon Kean University.
Fennema, E. & Franke, M. (1992). Teacher’s knowledge and its impact. In D. A. Grouws (Ed.), Handbook of Research on Mathematics Teaching and Learning. New York: Macmillan Publishing.
Healy, L. & Hoyles, C. (1999). Visual and symbolic reasoning in mathematics: Making connections with computers?. Mathematical Thinking and Learning, 1(1), 59-84.
Hodgson, T. (1995). Secondary mathematical modeling issues and challenges. School Science and Mathematics, 95(7).
Linchevski, L. & Herscovics, N. (1996). Crossing the cognitive gap between arithmetic and algebra : Operating on the unknown in the context of equations. Educational Studies in Mathematics, 30(1).
Movshovitz-Hadar, N., Zaslavsky, O. & Inbar, S. (1987). An Empirical classification model for errors in high school mathematics. Journal for Research in Mathematics Education, 18(1), 3-14.
Sallis, E. & Jones, G. (2002). Knowledge management in education : Enhancing learning and education. London: Kogan Page.
Stein, S. (2001). Equipped for the future, content standards. Washington, DC: National Institute for Literacy.