ความสัมพันธ์ของคุณภาพสารสนเทศทางบัญชีกับประสิทธิภาพ ในการควบคุมต้นทุนอาหารและเครื่องดื่ม ของโรงแรมในกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ณัฐธยาน์ อธิรัฐจิรชัย
พัชราภรณ์ ใจบุญมา
นิตญา ก่อมขุนทด

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณภาพสารสนเทศทางการบัญชีที่ใช้ในการควบคุมต้นทุนอาหารและเครื่องดื่มของโรงแรมในกรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาประสิทธิภาพในการควบคุมต้นทุนอาหารและเครื่องดื่มของโรงแรมในกรุงเทพมหานคร และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ของคุณภาพสารสนเทศทางการบัญชีกับประสิทธิภาพในการควบคุมต้นทุนอาหารและเครื่องดื่มของโรงแรมในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารในแผนกอาหารและเครื่องดื่มของโรงแรมในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพของสารสนเทศทางบัญชีกับประสิทธิภาพในการควบคุมต้นทุนโดยการทดสอบด้วยการวิเคราะห์แบบถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis)


ผลการวิจัยดังนี้ 1) คุณภาพของสารสนเทศทางการบัญชีที่ใช้ในการควบคุมต้นทุนอาหารและเครื่องดื่มของโรงแรมในกรุงเทพมหานคร โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านการใช้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจมีระดับมากที่สุด เป็นข้อมูลที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการได้ดี รองลงมา คือด้านการเปรียบเทียบข้อมูลเกี่ยวกับสามารถนำข้อมูลการเปรียบเทียบไปใช้ประโยชน์ได้ดี และด้านข้อมูลที่ทันต่อเวลาเป็นข้อมูลที่ได้รับตรงตามเวลาที่กำหนด 2) ประสิทธิภาพในการควบคุมต้นทุนอาหารและเครื่องดื่มของโรงแรมในเขตกรุงเทพมหานคร โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยความคิดเห็นเกี่ยวกับด้านการควบคุมการสั่งซื้อมีระดับมากที่สุดที่ปริมาณการสั่งซื้อในแต่ละครั้งมีความเหมาะสม รองลงมาคือด้านการควบคุมการรับของที่ปริมาณของวัตถุดิบที่ได้รับ ถูกต้อง ตรงตามใบสั่งซื้อ ด้านการควบคุมการเบิกจ่ายเกี่ยวกับมีแบบฟอร์มการเบิกจ่ายวัตถุดิบ และด้านการควบคุมการเก็บรักษาเกี่ยวกับสภาพของเครื่องมือ อุปกรณ์ ในห้องเก็บรักษา มีความสะอาด และสามารถตรวจสอบวัตถุดิบคงเหลือได้ และ 3) ผลการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ พบว่า คุณภาพของสารสนเทศทางการบัญชีมีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการควบคุมการสั่งซื้ออาหารและเครื่องดื่ม ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติเท่ากับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พรรณี ลีกิจวัฒนะ. (2558). วิธีการวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: มีนเซอร์วิส ซัพพลายเชน.

ศูนย์ข้อมูลกรุงเทพมหานคร. (2562). จำนวนโรงแรมในกรุงเทพมหานคร. สืบค้น 1 เมษายน 2562, จาก https://203.155.220.230/bmainfo/esp/

สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น). (2553). บทวิเคราะห์ธุรกิจโรงแรมและรีสอร์ท รายงานโครงการกิจกรรมเผยแพร่ผลวิเคราะห์ระบบเตือนภัยและระบบฐานข้อมูลแก่สาธารณะ. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2553). บทวิเคราะห์ธุรกิจโรงแรมขนาดกลางและขนาดย่อมรายสาขาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว รายงานโครงการกิจกรรมเผยแพร่ผลวิเคราะห์ระบบเตือนภัยและระบบฐานข้อมูลแก่สาธารณะ. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).

สุรีย์ เข็มทอง และคณะ. (2555). การจัดการห้องพักและการจัดการอาหารและเครื่องดื่ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

อุทัยวรรณ จรุงวิภู. (2550). ระบบสารสนเทศทางการบัญชี. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Cronbach, Lee J. (1970). Essentials of psychological test (5th ed.). New York: Harper Collins.

Yamane, Taro. (1973). Statistics: An introductory analysis (3rd ed.). New York: Harper and Row Publication.