การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันกระบวนการจัดการความรู้ ของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ

Main Article Content

ศศิวิมล ว่องวิไล
ฉัตรรัตน์ โหตระไวศยะ
มาธุสร แข็งขัน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันกระบวนการจัดการความรู้ ของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ สังกัดมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ 12 แห่ง 355 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามการปฏิบัติด้านกระบวนการจัดการความรู้ ตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหามีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.60 – 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่ 2 เพื่อตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของโมเดล ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบของกระบวนการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ จากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบด้านการตรวจสอบความรู้และกำหนดความรู้ที่ต้องการ องค์ประกอบด้านการแสวงหาและการสร้างความรู้ องค์ประกอบด้านการประมวลความรู้และการเข้าถึงความรู้ องค์ประกอบด้านการจัดเก็บความรู้ให้เป็นระบบ และองค์ประกอบด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยผลการตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ด้วยการ พบว่า โมเดลกระบวนการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าสถิติ gif.latex?\chi2= 1314.803, gif.latex?\chi2/df = 1.065, df = 1234, p = 0.054, RMSEA = 0.014, RMR = 0.025, GFI = 0.889, AGFI = 0.857, CFI = 0.996 โดยค่าน้ำหนักองค์ประกอบของตัวแปรแฝงทุกตัวมีค่าเป็นบวก มีค่าอยู่ระหว่าง 0.832 - 0.974 โดยองค์ประกอบที่มีน้ำหนักองค์ประกอบมากที่สุดคือ องค์ประกอบด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และประเมินผลความรู้ และองค์ประกอบที่มีน้ำหนักองค์ประกอบน้อยที่สุดคือ องค์ประกอบด้านการแสวงหาและการสร้างความรู้ ซึ่งมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐควรสนับสนุนให้บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการเข้าร่วมกิจกรรมที่เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับหน่วยงานอื่น ๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย จะส่งผลให้การจัดการความรู้ในหน่วยงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กล้าหาญ ณ น่าน. (2556). แบบจำลองเชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการความรู้ของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (รายงานผลการวิจัย). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

กัลยา จุลศรี. (2552). การศึกษาสภาพการจัดการความรู้ทางการพยาบาลของโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2556). การวิเคราะห์สมการโครงสร้าง (SEM) ด้วย AMOS. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามลดา.

กิตติพล มุกดาเจริญชัย. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานของการผลิตแบบลีนในอุตสาหกรรมยานยนต์โดยใช้โมเดลสมการโครงสร้าง. ใน การประชุมทางวิชาการมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 51. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ชำนาญ เหล่ารักผล. (2553). การพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการความรู้สำหรับโรงเรียนในเครือมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล : สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บดินทร์ วิจารณ์. (2548). การพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.

บุญดี บุญญากิจ และคณะ. (2549). การจัดการความรู้จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จิรวัฒน์เอ็กซ์เพรส.

ภิญญดา อุ่นเที่ยว. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานตามกระบวนการจัดการความรู้ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดอุดรธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช).

วันดี วิถี. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จังหวัดศรีสะเกษ ; การวิเคราะห์กลุ่มพหุ. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).

วิจารณ์ พานิช. (2548ก). การจัดการความรู้ : ฉบับนักปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ.

วิจารณ์ พานิช. (2548ข). การจัดการความรู้คืออะไร : ไม่ทำไม่รู้. สืบค้น 21 สิงหาคม 2561, จาก http://www.swcom.mi.th/km/index.php/image-gallery/scenery/94-km/86-2013-04-29-04-24-08

สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. (2558). ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ มุ่งหน้าสู่การปฏิบัติ. วารสารไทยคู่ฟ้า, (26), 14-15.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2546). คู่มือคำอธิบายและแนวทางปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์ และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.๒๕๔๖. กรุงเทพฯ: บริษัท สิรบุตรการพิมพ์ จำกัด.

สำนักงานจังหวัดตรัง. (2553). แนวทางการจัดทำแผนการจัดการความรู้ในหมวด 4 (ข.) การวัดการวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ในปีงบประมาณ พ.ศ.2552. ใน การประชุมการชี้แจงการจัดทำแผนการจัดการความรู้ (KM Plan) ของตัวชี้วัด การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 (น.12-22). ตรัง: สำนักงานจังหวัดตรัง.

Comrey, A. L., & Lee, H. B. (1992). A First course in factor analysis (2nd ed.). Hillsdale,New Jersey: Lawrence Erlbaum Associated.

Trapp, Holger. (1999). Benefits of an intranet-based knowledge management system-measuring the effect. Retrieved August 21, 2018, from http://www.avinci.de/ competence/publikationen/diplomarbeit_holger_trapp.pdf