การศึกษาระดับความรู้และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในวิชาศึกษาทั่วไปกลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

Main Article Content

ดร.นิตยา จันตะคุณ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรู้ในการเรียนวิชาศึกษาทั่วไปกลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม และศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อระดับความรู้ หรือผลสัมฤทธิ์การเรียนวิชาศึกษาทั่วไปกลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ ซึ่งกลุ่มวิชาคณิตศาสตร์อยู่รวมในกลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยการศึกษานี้ศึกษาเฉพาะรายวิชาคณิตศาสตร์และ
สถิติประยุกต์เพื่อการตัดสินใจ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ และสถิติประยุกต์เพื่อการตัดสินใจ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ปีการศึกษา 2558 จำนวน 70 คน วิธีการวิจัยใช้หลักการตรรกศาสตร์คลุมเครือ และ สถิติ t-test, F-test เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แบบทดสอบวัดความรู้ในการเรียนในวิชารายวิชาคณิตศาสตร์และสถิติประยุกต์เพื่อการตัดสินใจ (2) แบบสอบถามปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อระดับความรู้ในการเรียนในกลุ่มวิชาคณิตศาสตร์


ผลการวิจัย พบว่า โดยใช้หลักการตรรกศาสตร์คลุมเครือแล้วนักศึกษาส่วนใหญ่ ร้อยละ 54.30 มีระดับความรู้ในการเรียนในรายวิชาคณิตศาสตร์และสถิติประยุกต์เพื่อการตัดสินใจ อยู่ในระดับสูง
รองลงมาคือ ความรู้ระดับปานกลาง ร้อยละ 28.60 และพบว่าปัจจัยด้าน เพศ ชั้นปี ความสามารถด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ บรรยากาศในชั้นเรียนแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และรูปแบบการเรียนการสอน มีอิทธิพลต่อระดับความรู้ในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จากการวิเคราะห์เปรียบเทียบคะแนนรวมในวิชาศึกษาทั่วไปกลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ จำแนกตามเพศ พบว่า นักศึกษาที่มี เพศ หมู่เรียน และชั้นปีที่แตกต่างกันมีคะแนนเฉลี่ยแตกต่างกันอย่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พิมพ์พร ฟองหล่ำ. (2555). สภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอนรายวิชาคณิตศาสตร์ทั่วไป. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีปทุม).

มัณฑนา พรมรักษ์. (2556). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้โมเดลการแก้ปัญหาที่เน้นกระบวนการกำกับทางปัญญาที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2. (วิทยานิพนธ์
ครุศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย).

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2551). ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์.กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

Voskoglou, Michael Gr. (2011). Measuring students modeling capacities: A fuzzy approach. Iranian Journal of Fuzzy Systems, 8(3), 23-33.

Zadeh, L.A. (1965). Fuzzy sets. Information and Control, 8(3), 338-353.