คุณภาพชีวิตในการทำงานของพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชนกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

วิรัช สงวนวงศ์วาน
ณัฐณิชา ปิยปัญญา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชนกรุงเทพมหานคร โดยศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ อายุการทำงาน วุฒิการศึกษาสูงสุด สถานภาพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และศึกษาคุณภาพชีวิตในการทำงาน 8 ด้าน ได้แก่ การได้รับผลตอบแทนที่ยุติธรรมและเพียงพอ สภาพการทำงานที่มีความปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพ การพัฒนาศักยภาพของพนักงาน ความก้าวหน้าและความมั่นคงในงาน การบูรณาการทางสังคม สิทธิของพนักงาน ความสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานกับชีวิตส่วนตัว และลักษณะงานมีส่วนเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับสังคม โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีองค์ประกอบคุณภาพชีวิตการทำงานของ Richard E. Walton ในการศึกษาได้สุ่มตัวอย่างแบบง่ายเป็นพยาบาลที่ทำงานในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร จำนวน 180 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเพื่อสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตในการทำงาน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยดังนี้ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 99.4 มีอายุระหว่าง 31-39 ปี อายุการทำงาน 1-3 ปี วุฒิการศึกษาสูงสุดระดับปริญญาตรี สถานภาพโสด คิดเป็นร้อยละ 82.2 และส่วนใหญ่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 15,000 - 20,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 39 ศึกษาพบว่าคุณภาพชีวิตในการทำงานของพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชนกรุงเทพมหานคร โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( x = 3.43, sd. = 0.69) และเมื่อพิจารณารายด้านพบว่า มีด้านที่คุณภาพชีวิตในการทำงานระดับ มากเป็นอันดับแรกคือ ด้านลักษณะงานมีส่วนเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับสังคม ( x = 3.75, sd. = 0.64) รองลงมาคือด้านการบูรณาการทางสังคม ( x = 3.57, sd. = 0.67) และด้านสภาพการทำงานที่มีความปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพ ( x = 3.56, sd. = 0.69) ส่วนด้านที่มีคุณภาพชีวิตปานกลาง และเป็นอันดับท้ายสุดคือ ด้านการได้รับผลตอบแทนที่ยุติธรรมและเพียงพอ ( x = 3.09, sd. = 0.67)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จริยาพรรณ แก้วสุวรรณ. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานกับประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

จันทร์ทิมา รุ่งเรือง. (2553). การศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงานของครูเขตธนบุรี สังกัด กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

ลักขณา ศิรถิรกุล, วาสนา อูปป้อ, และเรือเอกจรูญลักษณ์ ป้องเจริญ. (2555). รายงานการวิจัย เรื่องปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานและความสุขในการทำงานของอาจารย์ วิทยาลัยสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (รายงานผลการวิจัย). สุพรรณบุรี: วิทยาลัยพยาบาลบรม
ราชชนนี.

วงเดือน เลาหวัฒนภิญโญ, พัทธมน สุริโย, เกล็ดดาว ลมิ ปิศิลป์, และพชั รา ย้มิ ศรวล. (2552). คุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลในโรงพยาบาลพระจอมเกล้าจังหวัดเพชรบุรี. เพชรบุรี: กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลพระจอมเกล้าจังหวัดเพชรบุรี.

ศุภชัย วงศ์วรกาญจน์. (2555). คุณภาพชีวิตการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันในองค์การของพนักงานโรงแรมในกลุ่มชาเทรียมโฮเต็ล แอนด์ เรซิเด้นซ์. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

สุเนตร นามโคตรศรี. (2553). คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอด่านขุนทดจังหวัดนครราชสีมา. (โครงงานวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี).

สุวิณี วิวัฒน์วานิช. (2554). การขาดแคลนพยาบาลกับการเป็นโรงพยาบาลดึงดูดใจ : ประเด็นท้าทายสำหรับผู้บริหารการพยาบาล. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 23(1), 1–12.

Herzberg, Frederick., Mausner, Bernard., & Snyderman, Barbara B. (1959). The motivation to work. New York: John Wiley & Sons.