ระดับการปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูของครูอาชีวศึกษา ในวิทยาลัยเครือไทย-เทค
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพ ครูของครูอาชีวศึกษาในวิทยาลัยเครือไทย-เทค และ 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับการปฏิบัติงานตาม เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูของครูอาชีวศึกษาในวิทยาลัยเครือไทย-เทค จําแนกตามระดับการศึกษา และประสบการณ์การสอน ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูอาชีวศึกษาในวิทยาลัยเครือ ไทย-เทค ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จํานวน 189 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติบรรยาย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูของครูอาชีวศึกษา ในวิทยาลัยเครือไทย-เทค ในภาพรวมและรายมาตรฐานอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นราย มาตรฐาน พบว่า มาตรฐานที่ 8 ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.87) และมีค่าเฉลี่ยต่ําที่สุด ที่มาตรฐานที่ 7 รายงานผลการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างเป็นระบบ (ค่าเฉลี่ย = 4.56) และ 2) ผลการเปรียบเทียบระดับการปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูของครู อาชีวศึกษาในวิทยาลัยเครือไทย-เทค มีดังนี้ ครูอาชีวศึกษาในวิทยาลัยเครือไทย-เทค ที่มีระดับ การศึกษาต่างกันมีระดับการปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูในภาพรวม และ รายมาตรฐาน แตกต่างกัน ยกเว้นมาตรฐานที่ 2 ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ โดยคํานึงถึงผลที่จะเกิดกับผู้เรียน มาตรฐานที่ 3 มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ และมาตรฐานที่ 9 ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษา อย่างสร้างสรรค์ และครูอาชีวศึกษาในวิทยาลัยเครือไทย-เทค ที่มีประสบการณ์การสอนต่างกัน มีระดับการปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูในภาพรวมและรายมาตรฐานแตกต่างกัน
Article Details
References
จิณารี ขมจินตา. (2552). การปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูของครูสังกัดเทศบาลเมืองศรีราชา จังหวัดชลบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).
ธัญญรัตน์ ฟังศิลปชัยพร. (2548). การปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูของครูในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสํานักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต)
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สุริยาสาส์น
ยศ นัยประยูร. (2549). การปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูของครูโรงเรียนอาชีวะเอกชนในเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยบูรพา),
วิทยาลัยเครือไทย-เทค. (2557ก), บริบทวิทยาลัยเครือไทย-เทศ. สืบค้น 9 ตุลาคม 2557, จากhttp://www.thai-tech.ac.th/TBC.html วิทยาลัยเครือไทย-เทค. (2557ข) แผนปฏิบัติการประจําปี 2557 วิทยาลัยเครือไทย-เทศ. กรุงเทพฯ วิทยาลัยเครือไทย-เทค.
วิทยาลัยเทคโนโลยีไทยบริหารธุรกิจ. (2557). TBC HANDBOOK2014. กรุงเทพฯ: สุพีเรียพริ้นติ้งเฮ้าส์
ศิริกาญจน์ โกสุมภ์. (2551). สอนให้เด็กคิดเป็น (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: เกรทอินตูเคชัน
สนธยา พิมพันธ์. (2555). การปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู ของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา อําเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต)
สนธิรัก เทพเรณู, รังสรรค์ บุษยะมา และศรีมงคล เทพเรณู. (2545). การศึกษาผลการทํางานวิชาการอาจารย์ 3 ที่มีต่อคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน. นครปฐม: สถาบันพัฒนาผู้บริหาร การศึกษา
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: สํานักงาน
คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2548). รายงานวิจัย การสังเคราะห์องค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญตั้งแต่พ.ศ. 2542-2547 (ฉบับสมบูรณ์). กรุงเทพฯ: สํานักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้
สุดา ด้วงเทพ. (2547). การพัฒนาเกณฑ์มาตรฐานด้านการปฏิบัติงานของครูอาชีวศึกษา (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร
ลาดกระบัง)
สุวิมล ติรกานันท์. (2550). การสร้างเครื่องมือวัดตัวแปรในการวิจัยทางสังคมศาสตร์ : แนวทางสู่การปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 2), กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เอมอร ดวงจันทร์โชติ. (2555). การปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูของข้าราชการครูสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว เขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).