อํานาจศาลในกฎหมายการชุมนุมสาธารณะของประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
กฎหมายการชุมนุมสาธารณะของประเทศ มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2558 ซึ่งเมื่อมี การประกาศใช้บังคับแล้ว การชุมนุมสาธารณะที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคตต้องอยู่ภายใต้ข้อกําหนด ของกฎหมายดังกล่าว เนื่องจากประเทศไทยยังไม่เคยมีกฎหมายการชุมนุมสาธารณะ จึงมีปัญหาบาง ประการที่เป็นประเด็นที่น่าสนใจ กล่าวคือ ในเนื้อหาของกฎหมายฉบับนี้มีประเด็นที่มีการถกเถียงกัน มากนับตั้งแต่เริ่มต้นการร่างกฎหมาย แต่เมื่อกฎหมายมีผลใช้บังคับ แนวคิดในเรื่องดังกล่าวก็ยังเป็นที่ วิพากษ์วิจารณ์กันอยู่ ประเด็นดังกล่าวคือ ประเด็นที่เกี่ยวกับอํานาจศาลในกฎหมายการชุมนุม สาธารณะ ซึ่งในกฎหมายกําหนดให้อํานาจการพิจารณาคดีที่เกี่ยวกับการชุมนุมสาธารณะเป็นอํานาจ ของศาลยุติธรรม แต่โดยหลักการอํานาจศาลที่เกี่ยวกับการชุมนุมสาธารณะควรเป็นอํานาจของศาล ปกครองที่จะพิจารณาคดี หรือมีคําสั่งอย่างใดเกี่ยวกับการชุมนุมสาธารณะ ดังเช่นในกฎหมายการ ชุมนุมสาธารณะของสหพันธรัฐเยอรมนี ทั้งนี้เพราะคําสั่งหรือคําวินิจฉัยของศาลเป็นผลกระทบต่อการ ใช้สิทธิของประชาชน ซึ่งควรถือเป็นคําสั่งทางปกครอง บทความฉบับนี้จึงเป็นข้อเสนอแนะในการ พิจารณาเพื่อปรับปรุงกฎหมายการชุมนุมสาธารณะต่อไปในอนาคต
Article Details
References
เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์. (2550). หลักความเสมอภาค [เอกสารประกอบการสอน]. กรุงเทพฯ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชาญชัย แสวงศักดิ์. (2552). กฎหมายรัฐธรรมนูญ แนวคิดและประสบการณ์ของต่างประเทศ.กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
นันทวัฒน์ บรมานันท์. (2556). สัญญาทางปกครอง (พิมพ์ครั้งที่ 2), กรุงเทพฯ: วิญญูชน
บรรเจิด สิงคะเนติ. (2556). หลักพื้นฐานของสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ตามรัฐธรรมนูญ (พิมพ์ครั้งที่ 4), กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
ปกรณ์ นิลประพันธ์. (2553). กฎหมายว่าด้วยการชุมนุมในที่สาธารณะของต่างประเทศ. วารสารกฎหมายปกครอง, 27(1), 3-68.
ปทิตตา นิภาวรรณ. (2553). กฎหมายว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะของประเทศฝรั่งเศส. วารสารกฎหมายปกครอง, 2(1), 98-105.
วรเจตน์ ภาคีรัตน์. (2548). แนวคิดเกี่ยวกับเสรีภาพในการชุมนุมตามกฎหมายเยอรมันและสภาพการณ์การชุมนุมในประเทศไทย. สืบค้น 15 มีนาคม 2558, จาก http://www.Thaingo.org
วรเจตน์ ภาคีรัตน์. (2557). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายปกครอง: หลักการพื้นฐานของกฎหมาย ปกครองและการกระทําทางปกครอง (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
วรนารี สิงห์โต. (2553). กฎหมายเกี่ยวกับการชุมนุมและเดินขบวนและการบังคับทางปกครองตามคําสั่งสลายการชุมนุมและการเดินขบวนในระบบกฎหมายเยอรมัน, วารสารกฎหมายปกครอง
สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, 271), 106-129.
วรพจน์ วิศรุตพิชญ์. (2538) หลักการพื้นฐานของกฎหมายปกครอง กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ. (2550). หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการสิทธิและเสรีภาพในการชุมนุมของประเทศสหรัฐอเมริกา เจุลสาร]. กรุงเทพฯ : สํานักงานตํารวจแห่งชาติ
สุชาติ เวโรจน์. (2552ก), พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558. กรุงเทพฯ: สํานักงานศาลปกครอง
สุชาติ เวโรจน์. (2552ข), หลักความเสมอภาคและการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม. กรุงเทพฯ :สํานักงานศาลปกครอง
อังกูร วัฒนรุ่ง. (2550). หลักแห่งความได้สัดส่วน (Principle of Proportionality) [จุลสาร] กรุงเทพฯ : สํานักงานตํารวจแห่งชาติ