ปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ ของผู้บริโภคกลุ่มเจเนอเรชันเบบี้บูม ในจังหวัดสมุทรปราการ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยด้านทัศนคติและสังคมที่ส่งผลต่อการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ (2) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ และ (3) ความต้องการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพของผู้บริโภคกลุ่มเจเนอเรชันเบบี้บูม ในจังหวัดสมุทรปราการ เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 384 คน เครื่องมือที่เก็บข้อมูลมีลักษณะเป็นแบบสอบถามปลายเปิด-ปิด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยด้านทัศนคติและสังคม และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดมีผลต่อการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ขณะที่ผู้บริโภคกลุ่มเจเนอเรชันเบบี้บูม ในจังหวัดสมุทรปราการ มีความต้องการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายประเภท พบว่า ผู้บริโภคเจเนอเรชันเบบี้บูมต้องการประเภทผลไม้ ประเภทผัก ประเภทเนื้อปลา และแป้ง ตามลำดับ ทั้งนี้ปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพของผู้บริโภคกลุ่มเจเนอเรชันเบบี้บูม ในจังหวัดสมุทรปราการ (Y) เรียงลำดับผลกระทบ ได้แก่ ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (ด้านผลิตภัณฑ์) (X3) และปัจจัยทางสังคม (X2) โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยเท่ากับ 0.371 และ 0.161 ตามลำดับ และมีค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ความต้องการ (R2) เท่ากับ 0.386
Article Details
References
กรมการปกครอง. (2560). สถิติผู้สูงอายุของประเทศไทย 77 จังหวัด. สืบค้น 14 สิงหาคม 2561, จาก http://www.dop.go.th/download/knowledge/th1533055363-125_1.pdf
จาริณี แซ่ว่อง. (2556). พฤติกรรมผู้บริโภค. สงขลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.
ชนิดา ปโชติการ, ศัลยา คงสมบูรณ์เวช, และอภิสิทธิ์ ฉัตรทนานนท์. (2550). อาหาร & สุขภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เสริมมิตร.
ชูชัย สมิทธิไกร. (2558). พฤติกรรมผู้บริโภค (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พันธุ์ทิพย์ คำเพิ่มพูล. (2555). เบบี้บูมเมอร์ จากยุค “รุ่งเรือง สู่วัย”ร่วงโรย. สืบค้น 30 เมษายน 2561, จาก https://www.ryt9.com/s/iq/1355346
สิฏฐากร ชูทรัพย์, และสายชล วิสุทธิ์สมุทร. (2558). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: เอมพันธ์.
อำพล นววงศ์เสถียร. (2557). พฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคในร้านค้าออนไลน์. วารสารการจัดการปัญญาภิวัฒน์, 5(2), 134-149.
Cochran, W. G. (1977). Sampling techniques (3rd ed.). NY: John Wiley & Sons.
Cronbach, L. J. (1963). Educational psychology (2nd ed.). NY: Harcourt, B race and Company.
Kotler, P. (2000). Marketing management the millennium edition. New Jersey: Prentice Hall.
Likert, R. A. (1932). Technique for the measurement of attitude. Archives Psychological 3(1), 42-48.
Petty, R. E., Wegener, D. T., & Fabrigar, L. R. (1997). Attitudes and attitude change. Annual Review of Psychology, (48), 609-647.
Sharkawi, Ismawati., Zainalabidin, Mohamed., & Rezai, Golnaz. (2014). Healthy eating: The preventive factors among malaysians. Journal of Economics Business and Management, 2(4), 257-261.
Shim, J. K. (2000). Strategic business forecasting: The complete guide to forecasting real world company performance. London: Global Professional Publishing.