การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันสมรรถนะของพนักงาน ตามความคาดหวังของผู้บริหารในสถาบันการเงินเฉพาะกิจ

Main Article Content

อุบลวรรณ ขุนทอง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาองค์ประกอบของสมรรถนะของพนักงานในสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ตามทัศนะที่คาดหวังของผู้บริหาร ประชากร คือ ผู้บริหารของสถาบันการเงินเฉพาะกิจจำนวน 6 แห่ง คือ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ทั้งผู้บริหารระดับสูง ระดับกลาง และระดับปฏิบัติการ รวม 684 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร ระดับสูงจำนวน 32 คน ผู้บริหารระดับกลางจำนวน 92 คน และผู้บริหารระดับปฏิบัติการจำนวน 332 คน รวม 456 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประเมินค่า (Rating scale) ตามวิธีของลิเคิร์ท (Likert) ใช้สถิติพรรณนาหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการสร้างแบบจำลองสมการโครงสร้าง (structural equation model: SEM) ประมาณค่าด้วยสถิติขั้นสูง ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะของพนักงานที่พึงประสงค์ในสถาบันการเงินเฉพาะกิจตามทัศนะที่คาดหวังของผู้บริหาร เรียงลำดับความสำคัญจากคะแนนน้ำหนักสูงสุด คือ 1) องค์ประกอบสมรรถนะตามสายอาชีพ (Functional Competency) ประกอบด้วย ด้านเทคนิค ด้านภาวะผู้นำ 2) องค์ประกอบสมรรถนะทางการบริหาร (Managerial Competency) ประกอบด้วย ด้านการจัดการธุรกิจ ด้านการสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพและด้านความยืดหยุ่นในการบริหารงาน และ 3) องค์ประกอบสมรรถนะหลัก (Core Competency) ประกอบด้วย ด้านความเชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์ ด้านการทำงานเป็นทีม และด้านการสื่อสาร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกื้อจิตร ชีระกาญจน์. (2555). สมรรถนะในปัจจุบันของผู้จัดการฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคลในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

จิรศักดิ์ สุทธาดล. (2553). สมรรถนะของพนักงานธนาคารพาณิชย์ไทยที่พึงประสงค์ตามทัศนะของผู้บริหาร. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

ศศิกาญจน์ สามัคคีนนท์. (2556). ความคาดหวังและความพึงพอใจในประสิทธิภาพการทำงานตามสมรรถนะหลัก (Core competency) ของพนักงานธนาคารออมสินภาค 3. (งานค้นคว้าอิสระ หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2551). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย. สืบค้น 15 สิงหาคม 2562, จาก http://www.opdc.go.th/uploads/files/strategies_new2.pdf

อุษาวดี บุญรอด. (2554). การพัฒนาสมรรถนะพนักงานสินเชื่อ ธนาคารกรุงไทย สังกัดสำนักงานเขตกำแพงเพชร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร).

Kline, R. B. (2005). Principles and practice of structural equation modeling. New York: The Guilford Press.

McClelland, D. (1973). Testing for competence rather than for intelligence. USA: American Psycologist.

Prahalad & Hamel. (1990). The core competence of the corporation. Harvard Business Review, 79-91.

PwC Consulting (ประเทศไทย). (2016). PwC’s global digital banking survey 2016. Retrieved May 12, 2019, from https://www.pwc.com/us/en/industries/financial-services/library/digital-banking-consumer-survey.html

World Economic Forum March. (2016). Framework for 21st Century Learning, Partnership for 21st Century Learning. Retrieved May 12, 2019, from http://www.rexpublishing.com.ph/articles/2018/04/p21-framework-for-21st-century-learning/