รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงกีฬาในประเทศไทย

Main Article Content

ภคนันท์ วระพินิจ
กอบกูล จันทรโคลิกา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษารูปแบบของการท่องเที่ยวเชิงกีฬาในประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาปัจจัยแห่งความสำเร็จของการท่องเที่ยวเชิงกีฬาในประเทศไทย และ 3) เพื่อเสนอแนะรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงกีฬาในประเทศไทย ทั้งภาคเอกชนและหน่วยงานภาครัฐในประเทศไทย ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงกีฬาในประเทศไทยมี 5 รูปแบบ ประกอบด้วย รูปแบบที่ 1 การท่องเที่ยวเชิงกีฬาสถานที่ตามธรรมชาติสร้างขึ้น รูปแบบที่ 2 การท่องเที่ยวเชิงกีฬาสถานที่ตามธรรมชาติและมนุษย์สร้างขึ้น รูปแบบที่ 3 การท่องเที่ยวเชิงกีฬาสถานที่ที่มนุษย์สร้างขึ้น รูปแบบที่ 4 การท่องเที่ยวเชิงกีฬาเน้นจัดกิจกรรม และรูปแบบที่ 5 การท่องเที่ยวเชิงกีฬาพื้นเมือง และปัจจัยแห่งความสำเร็จของการท่องเที่ยวเชิงกีฬาในประเทศไทย ทั้ง 5 รูปแบบ ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านสถานที่ ปัจจัยด้านชนิดกีฬา และปัจจัยด้านหน่วยงาน เสนอแนะรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงกีฬาโดยนำเอกลักษณ์พิเศษของวัฒนธรรมการแข่งกีฬาในท้องถิ่นมาเป็นจุดดึงดูดการท่องเที่ยว


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชัชชัย โกมารทัต. (2554). กีฬาพื้นเมืองไทยภาคกลาง: ศึกษาและวิเคราะห์ความเป็นมาวิธีเล่นและ คุณค่า (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สถาพรบุ๊คส์.

ณัฐริการ์ ปานมาศ. (2560). ความพึงพอใจและพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวเชิงกีฬาทางน้ำ

ในเกาะสมุยจังหวัดสุราษฎร์ธานี. (การค้นคว้าอิสระ การสื่อสารเชิงกลยุทธ์, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).

ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย. (2561) จับกระแส Sport Tourism สู่โอกาสของผู้ประกอบการไทย. สืบค้น 15 ธันวาคม 2561, จาก http://exim.go.th/doc/newsCenter/50030.pdf

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2555). พฤติกรรมนักท่องเที่ยว (Tourist Behavior). นนทบุรี: เฟริ์นข้าหลวง ปริ้นติ้ง พับลิชชิ่ง.

ภัทราพร อาวัชนาการ. (2558). ปัจจัยทางการตลาดและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม อย่างยั่งยืน ในเขตอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์. (การค้นคว้าอิสระ, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2559). การท่องเที่ยวเชิงกีฬา (Sport Tourism). รายงานภาวะเศรษฐกิจท่องเที่ยว ฉบับที่ 6. สืบค้น 20 ตุลาคม 2560, จาก https://www.mots.go.th/ewt_dl_link.php?nid=8265

สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). สถานการณ์การท่องเที่ยวของไทยที่สำคัญ. รายงานภาวะเศรษฐกิจท่องเที่ยว ฉบับที่ 7. สืบค้น 20 ตุลาคม 2560, จาก https://www.mots.go.th/ewt_dl_link.php?nid=8404

อานนท์ สีดาเพ็ง. (2559). รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงกีฬากอล์ฟโดยการประยุกต์ทฤษฎีการ แลกเปลี่ยนทางสังคม. (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

Markovic, J. J., & Petrovic, M. D. (2013). Sport and recreation influence upon mountain area and sustainable tourism development. Journal of Environmental and Tourism Analyses, I(1), 80-89.

Polanec, A. (2014). Sport tourism centres from top athletes’ perspective: Differences among sport groups. Business Systems Research Journal, 5(2), 97-109.

Safdel, H. (2014). Effective factors on sports tourism: Emphasizing development in sports natural attractions. Annals of Applied Sport Science, 2(4), 67-74.

Zajadacz, A. (2016). Sport tourism: An attempt to define the concept. Tourism, 26(1), 96-97.