ความรับผิดชอบและความเคารพนับถือ : คุณลักษณะที่จำเป็น สำหรับนักเรียนอาชีวศึกษาทวิภาคี

Main Article Content

วสพร บุญสุข
โกศล มีคุณ
ธารินทร์ รสานนท์
นรา สมประสงค์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหมายและความสำคัญของความรับผิดชอบและความเคารพนับถือ ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่จำเป็นสำหรับนักเรียนอาชีวศึกษาทวิภาคี และปัจจัยที่มีผลต่อความรับผิดชอบและความเคารพนับถือ วิธีการที่ศึกษา คือ การวิเคราะห์เอกสาร ผลการศึกษา พบว่า ความรับผิดชอบ หมายถึง การรับรู้และปฏิบัติหน้าที่ด้วยความผูกพัน มุ่งมั่นด้วยความเพียรพยายาม ความละเอียดรอบคอบที่มีต่อตนเองและสังคม รวมถึงปฏิบัติหน้าที่งานร่วมกับผู้อื่น เพื่อให้บรรลุความสำเร็จตามเป้าหมาย และรับผลการกระทำทั้งผลดีและผลเสีย เพื่อปรับปรุงการปฏิบัติ


หน้าที่ให้ดียิ่งขึ้น โดยไม่ปัดภาระหน้าที่ของตนเองให้แก่ผู้อื่น ความรับผิดชอบ มี 3 ระดับ คือ 1) ต่อตนเอง 2) ต่อส่วนรวมหรือคนใกล้ชิด และ 3) ต่อคำมั่นสัญญา และอุดมคติอันเป็นสากล ความรับผิดชอบมีความสำคัญต่อตัวบุคคล สังคม และประเทศชาติ ที่จะพัฒนาบุคคล สังคม ประเทศชาติเจริญก้าวหน้า และความสงบสุข ความเคารพนับถือ หมายถึง การยอมรับตระหนักในคุณค่าคุณความดีของตน ของผู้อื่น ของเพื่อนมนุษย์ และสรรพสิ่งอันเป็นสากล มีการแสดงออกอย่างอ่อนน้อม อ่อนโยน ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ไม่ล่วงเกินและไม่ละเมิดสิทธิ์ของผู้อื่น ความเคารพนับถือมี 3 ระดับ คือ 1) ต่อตนเอง 2) ต่อผู้ใกล้ชิดและสังคม และ 3) ต่อเพื่อนมนุษย์และสรรพสิ่งอันเป็นสากล ซึ่งความเคารพนับถือมีความ สำคัญต่อตัวบุคคล สังคม และมวลมนุษย์รวมถึงสิ่งมีหรือไม่มีชีวิต ที่จะทำให้บุคคลและสังคมอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข และประสบความสำเร็จ และปัจจัยที่ส่งผลต่อความรับผิดชอบและความเคารพนับถือ ได้แก่ ปัจจัยเชิงสาเหตุ 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 กลุ่มลักษณะสถานการณ์ทางสังคม มี 4 ตัวแปร คือ การเห็นแบบอย่างคนใกล้ชิด การอบรมเลี้ยงดูในครอบครัว  การสนับสนุนจากโรงเรียน และ บรรยากาศ ของสถานศึกษา กลุ่มที่ 2 กลุ่มจิตลักษณะเดิม มี 3 ตัวแปร คือ เหตุผลเชิงจริยธรรม ความเชื่ออำนาจในตน และลักษณะมุ่งอนาคตและควบคุมตน และ กลุ่มที่ 3 กลุ่มจิตลักษณะตามสถานการณ์ มี 2 ตัวแปร คือ ทัศนคติต่อความรับผิดชอบ และความเคารพนับถือ และ ความเชื่ออำนาจในตนในความรับผิดชอบ และความเคารพนับถือ ผลการศึกษานี้ทำให้เกิดกรอบแนวคิดการวิจัย ที่จะไปสู่ขั้นตอนดำเนินการวิจัยและการพัฒนาต่อไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กฤทจ์พิสิษฐ์ ตั้งจิตปรารถนา, ดวงเดือน พันธุมนาวิน, ดุจเดือน พันธุมนาวิน และศรัณย์ พิมพ์ทอง. (2562). จิตลักษณะและสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการซื้อสินค้าอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารวิชาการ Veridian E –Journal,

Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 12(3), 100-124.

โกศล มีคุณ (2560). อิทธิพลของการใช้นวัตกรรมนิทานพัฒนาจิตลักษณะด้านเหตุผลเชิงจริยธรรมที่มีต่อจิตลักษณะและพฤติกรรมของนักเรียนวัยรุ่นตอนต้น. (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ:สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2557). การวิจัยเพื่อการสร้างแบบวัดความเชื่ออำนาจในตนทั่วไปและ เฉพาะกิจ เพื่อใช้กับวัยรุ่นไทยและการประเมินคุณลักษณะของคะแนนจากแบบวัด. วารสารจิตพฤติกรรมศาสตร์ : ระบบพฤติกรรมไทย, 11(2), 121-189.

ดุจเดือน พันธุมนาวิน. (2556). ปัจจัยเชิงเหตุและผลของพฤติกรรมเสี่ยงอย่างมีสติของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา. (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

ดุจเดือน พันธุมนาวิน. (2557). การวิจัยเพื่อพัฒนาแบบวัดลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตนด้วยเทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบ : แบบวัดทั่วไปและแบบวัดเฉพาะกิจและการประเมินคุณภาพจากการใช้. วารสารจิตพฤติกรรมศาสตร์ : ระบบพฤติกรรมไทย, 11(2), 190-232.

ทิพย์วรรณ สุขใจรุ่งวัฒนา และธีรศักดิ์ อุ่นอารมย์เลิศ. (2553). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเรียนที่ดีของนักเรียนชั้นมัยธมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดนครปฐม. วารสารศิลปกรศึกษาศาสตร์วิจัย, 1(2), 126-139.

นิศากร สนามเขต. (2550). การมีภูมิคุ้มกันภายในและภายนอกที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการคบเพื่อนอย่างเหมาะสมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์).

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554. (2556). เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554. กรุงเทพฯ: ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์.

สุขุมาภรณ์ เอี่ยมสำอางค์. (2551). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยบางประการที่ส่งผลต่อความรับผิดชอบของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

สุภาสินี นุ่มเนียม. (2546). ปัจจัยทางสภาพแวดล้อมและจิตลักษณะที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบ

ต่อหน้าที่ของนักเรียน มัธยมศึกษาตอนต้น. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิต พัฒนบริหารศาสตร์).

Bandura, A. (1997). Self-efficacy: the exercise of control. New York: Freeman.

Bhanthumnavin, D. (2000). Important of supervisory social support and it implications for HRD in Thailand. Psychology and Developing Societies: A Journal, 12(2), 155-167.

Hurlock, E.B. (1956). Child development (3rd ed.). New York: McGraw-Hill Inc.

Lickona, T. (1991). Educating for character: how our schools can teach respect and responsibility. New York: Bantam.