คลาวด์ คิทเชน : โอกาสและความท้าทาย ที่ส่งผลต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจร้านอาหาร

Main Article Content

จีณัสมา ศรีหิรัญ
อรพรรณ ปางแก้ว

บทคัดย่อ

Cloud Kitchen (คลาวด์ คิทเชน) คือ ร้านอาหารที่ไม่มีหน้าร้าน ไม่มีที่นั่งให้ลูกค้า มีช่องทางการจัดจำหน่ายโดยการรับคำสั่งซื้ออาหารออนไลน์ตามแอปพลิเคชั่น และมีลักษณะเป็นครัวกลาง ใช้เป็นสถานที่ประกอบอาหารและจุดรับส่งอาหารของกิจการ ซึ่งมี 5 ประเภท คือ 1) ครัวกลางกระจายสินค้า 2) ครัวกลางขนาดกะทัดรัด 3) ครัวเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่ที่มีระบบการสั่งซื้อออนไลน์ของตนเอง 4) ครัวรับจ้างเหมาภายนอก และ 5) ครัวอิสระ ประโยชน์ของธุรกิจ Cloud Kitchens ที่มีต่อผู้ประกอบการ จำแนกเป็น 4 ด้าน คือ 1) การดำเนินธุรกิจ 2) การจัดการด้านการเงิน 3) การจัดการด้านการตลาด และ 4) การจัดการด้านทรัพยากรมนุษย์ บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโอกาสและความท้าทายของ Cloud Kitchens ที่ส่งผลต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจร้านอาหาร โดยใช้แนวคิด PESTLE Analysis เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า Cloud Kitchen ได้รับการสนับสนุนและส่งเสริมด้าน 1) การเมือง และ 2) กฎหมาย โดยภาครัฐมีมาตรการเอื้อให้ผู้ประกอบการลงทุนได้ง่ายขึ้นและจูงใจทางภาษี ในขณะที่ความท้าทายด้านกฎหมายคือ การคุ้มครองสิทธิสวัสดิภาพแรงงานของคนงานและการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจากการสั่งซื้ออาหารออนไลน์ 3) ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ คือ Cloud Kitchen มีอัตราการขยายตัวของธุรกิจทั่วโลกเติบโตสูงกว่าอัตราการขยายตัวของธุรกิจร้านอาหาร ในขณะที่ความท้าทายด้านเศรษฐกิจคือการเกิดรูปแบบธุรกิจ Crowdfunding (การระดมทุนสาธารณะ) และการร่วมทุนในธุรกิจ หรือ Venture Capital (VC) 4) ปัจจัยด้านสังคม พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยน และห่วงโซ่อุปทานของธุรกิจร้านอาหารมีการเปลี่ยนแปลง ความท้าทายด้านสังคมที่เกิดขึ้น คือ พฤติกรรมผู้บริโภคขาดการปฏิสัมพันธ์ 5) ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม เกิดความท้าทายด้านนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และคำนึงถึงความปลอดภัยทางอาหาร สุขอนามัย ของสถานที่ประกอบอาหาร และผู้สัมผัสอาหาร และ 6) ปัจจัยด้านเทคโนโลยี คือ การพัฒนารูปแบบการค้าพาณิชย์ออนไลน์ (E-Commerce) ความท้าทายด้านเทคโนโลยี คือ ปัญหาความปลอดภัยในข้อมูลของผู้สั่งซื้ออาหารที่ใช้การสั่งจ่ายเงินผ่านแอปพลิเคชั่น ดังนั้น Cloud Kitchen จึงเกิดขึ้นมาเพื่อเป็นทางเลือกหนึ่งและทางรอดใหม่ในการเข้ามาแก้ปัญหาของการดำเนินการธุรกิจร้านอาหารให้สอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภคในยุคแห่งการเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยี

Article Details

How to Cite
ศรีหิรัญ จ., & ปางแก้ว อ. . . (2020). คลาวด์ คิทเชน : โอกาสและความท้าทาย ที่ส่งผลต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจร้านอาหาร. วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 6(2), 99–115. https://doi.org/10.14456/sb-journal.2020.17
บท
บทความวิชาการ

References

AOL. (2018). UBS: online food delivery could be a $365 billion industry by 2030: here are the winners and losers from that “mega trend”. Retrieved September 20, 2019, from https://www.aol.com/article/finance/2018/07/02/ubs-online-food-delivery-could-be-a-dollar365-billion-industry-by-2030-here-are-the-winners-and-losers-from-that-mega-trend/23473052/

Bhotvawala, A. M., Bidichandani N., Balihallimath H., & Khond, M. P. (2016). Growth of food tech : a comparative study of aggregator food delivery services in India. In proceedings of the 2016 international conference on industrial engineering and operations management (pp.140-149). Michigan: USA.

BOI. (2015, January). New investment promotion strategy (2015 – 2021). Investment Promotion Journal, 26(1)

CEO News. (2019). Case study "cloud kitchen" are disrupting the restaurants in USA. Retrieved July 16, 2019, from www.ceochannels.com/rise-of-the-cloud-kitchen

CNBC. (2016). The no. 1 thing to consider before opening a restaurant. Retrieved July 6, 2016, from www.cnbc.com

Department of Business Development. (2019). Restaurant Buisness. Department of Business Development, 1-4

DITP. (2019). The trend of restaurant business in the cloud kitchen through online application. Retrieved July 6, 2019, from Thai Trade Centre – Toronto Canada.

Hattie, G. (2017, June 8). Dark kitchens: is this the future of takeaway?. Financial Times. Retrieved from https://www.ft.com/content/d23c44fe-4b0b-11e7-919a-1e14ce4af89b

H.M.Moyeenudin, R., Anandan R., ShaikJaveed, & Bindu, G. (2020). A research on cloud kitchen prerequisites and branding strategies. International Journal of Innovative Technology and Exploring Engineering (IJITEE), 9(3), 983-987.

Hotho, S. C. (2011). Small businesses in the new creative industries: innovation as a people management challenge. Management Decision, 49(1), 29-54.

Liu, Y. J. (2009). Perceptions of Chinese restaurants in the U.S.: what affects customer satisfaction and behavioral intentions?. International Journal of Hospitality Management, 28(3), 338-348.

Medium.com. (2019). Customer convenience : how cloud kitchens are disrupting traditional restaurants. Retrieved October 22, 2019, from https://medium.com

Milan Ivkov, I. B. (2016). Innovations in the restaurant industry - an exploratory study. Economics of Agriculture, 63(4), 1169-1186.

Muller, C. (2018). Restaurant delivery : are the “ODP” the industry’s “OTA”? part I & II. Boston Hospitality Review, 1-16.

Sharda, N. (2020). Serving food from the cloud : financial growth strategy. Retrieved May 3, 2020, from https://www.toptal.com

ThaiSMEsCenter. (2019). Opportunity food app in Thailand 2020. Retrieved December 12, 2019, from https://www.thaismecenter.com

Thamaraiselvan N., Jayadevan G. R., & Chandrasekar K. S. (2019). Digital food delivery apps revolutionizing food products marketing in India. International Journal of Recent Technology and Engineering (IJRTE), 8(2S6), 662-665.