พฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านสื่อสังคมออนไลน์

Main Article Content

จริยา ศรีจรูญ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านการตลาดออนไลน์ และปัจจัยด้านการสื่อสารการตลาดออนไลน์กับพฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียน นักศึกษา พนักงานบริษัทเอกชน ข้าราชการ  เจ้าของธุรกิจ ที่มีภูมิสำเนาหรือที่พักอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร และเคยซื้อหรือซื้อสินค้าผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) อยู่ระหว่าง 0.60-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.87 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย 1) พฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร พบว่า ความถี่ในการค้นหาสินค้าออนไลน์ และความถี่ในการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ อยู่ในระดับมาก  2) ปัจจัยส่วนบุคคลด้านรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านสื่อสังคมออนไลน์ด้านความถี่ในการค้นหาสินค้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ไม่มีความสัมพันธ์กับความถี่ในการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์  ส่วนปัจจัยด้านการตลาดออนไลน์ทุกด้านมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในด้านความถี่ในการค้นหาสินค้าออนไลน์ และด้านความถี่ในการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ปัจจัยด้านการสื่อสารการตลาดออนไลน์มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในด้านความถี่ในการค้นหาสินค้าออนไลน์ และด้านความถี่ในการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชนนิกานต์ จุลมกร. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านอินเทอร์เน็ตของนิสิตระดับปริญญาตรี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ธัญลักษณ์ สุมนานุสรณ์. (2561). พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ของผู้สูงอายุ. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธนิดา อัศวโยธิน. (2561). การตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติจังหวัดนครราชสีมา.

บุษยา วงษ์ชวลิตกุล สงวน วงษ์ชวลิตกุล ธนกร ลิ้มศรัณย์ อรอุมา ปราชญ์ปรีชา ทศพล ปราชญ์ปรีชา และจอมภัค จันทะคัต. (2560). พฤติกรรมการซื้อและการวิเคราะห์องค์ประกอบปัจจัยที่มีผลต่อ การซื้อสินค้าหรือบริการผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภค ในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี, 6(1), 95-113.

ปิยมาภรณ์ ช่วยชูหนู. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางสังคมออนไลน์.บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปัทมพร คัมภีระ. (2557). พฤติกรรมการซื้อเครื่องสำอางผ่านเว็บไซต์เฟซบุ๊ค ของนักศึกษาหญิงในเขตกรุงเทพมหานคร. นิเทศศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ภาวุธ พงษ์วิทยภานุและคณะ. (2555). E-Marketing เจาะเทคนิคการตลาดออนไลน์. กรุงเทพมหานคร วิตตี้กรุ๊ป.

ภูษณ สุวรรณภักดี และ วิลาวัลย์ จันทร์ศรี. (2561). อิทธิพลของความไว้วางใจ ทัศนคติ และส่วนประสมการตลาดต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของผู้บริโภคในจังหวัดสงขลา. วารสารเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 10(2), 21-38.

สุณิสา ตรงจิตร์. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านช่องทางตลาดกลาง.พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Marketplace). บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. ผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2562. สืบค้น 10 กรกฏาคม 2563, จาก https://www.etda.or.th/th/NEWS/ETDA-Revealed-Thailand-Internet-User-Behavior-2019.aspx.

อรวรรณ แก้วโพธิ์ทอง. (2553). Social Media เครื่องมือเพิ่มศักยภาพทางธุรกิจ. วารสารนักบริหาร. 30(4). 1-20.

Cochran, W. G. (1997). Sampling techniques. New Jersey: Dryden Press.

Cronbach. L. J. (1970). Educational Psychology. 2nded. New York: Harcourt, Brace and Company.

Kentzmann, J. H., Hermkens, K, McCarthy,I.P. & Silvestre, B.S., (2011). Social Media? Get Seruous! Understanding the Functional Building Bocks of Social Media, Business Horizons.