ปัจจัยที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจอยู่หรือออกจากอาชีพของพยาบาลในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากระบวนการตัดสินใจอยู่-ย้าย หรือออกจากวิชาชีพพยาบาลในประเทศไทย ใช้กรอบแนวคิดของทฤษฎี สองปัจจัยของเฮอร์ซเบิร์ก (Herzberg ‘s Two Factor Theory) และใช้แนวคิดซึ่งเป็นบรรทัดฐานของสังคม โดยใช้วิธีวิจัยแบบเชิงคุณภาพ (Qualitative Method ) ใช้การสัมภาษณ์แบบเชิงลึก (In-Depth Interview) กับพยาบาลที่ทำงานโรงพยาบาลที่อยู่ในส่วนของภาครัฐจำนวน 10 คน พยาบาลภาคเอกชน จำนวน 10 คน และพยาบาลที่ออกจากอาชีพ จำนวน 4 คน ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยความภูมิใจในวิชาชีพพยาบาลของครอบครัว และ ปัจจัยการยอมรับในวิชาชีพพยาบาลของสังคม มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจอยู่ของอาชีพพยาบาล โดย พยาบาลภาครัฐ ได้แก่ ความสำเร็จในงาน ลักษณะของงานที่ปฏิบัติ ความก้าวหน้า ความสัมพันธ์กับหัวหน้างาน ความมั่นคงในการทำงาน และการปกครองบังคับบัญชา พยาบาลภาคเอกชน ได้แก่ ลักษณะของงานที่ปฏิบัติ ความก้าวหน้า สภาพการทำงาน ความมั่นคงในการทำงาน ค่าตอบแทน และนโยบาย และการบริหารงานขององค์กร ส่วนปัจจัยจูงใจ และปัจจัยสุขอนามัย ของพยาบาลทั้งภาครัฐ และเอกชน ไม่เพียงพอที่จะส่งผลกระบวนการตัดสินใจอยู่ในอาชีพ แต่เมื่อรวมเข้ากับปัจจัย ความภาคภูมิใจของครอบครัว และปัจจัยการยอมรับจากสังคม จะส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจคงอยู่กับองค์กร และคงอยู่ในวิชาชีพพยาบาล โดยที่ในการออกจากอาชีพพยาบาลพบว่า มีสาเหตุมาจากครอบครัวพยาบาลไม่ยอมรับ และไม่มีความภูมิใจในการทำงานในวิชาชีพพยาบาล ทั้งภาครัฐ และเอกชน ซึ่งมาจากการรับรู้การปฏิบัติงานของพยาบาล และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของสังคมส่วนการรับรู้ ที่มาจากการพัฒนาเทคโนโลยี ได้แก่ ภาระงานที่มาก ค่าตอบแทนในการทำงาน และเวลาทำงานที่ไม่แน่นอน สรุปว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อ กระบวนการตัดสินใจอยู่กับองค์กร ของพยาบาลที่ยังคงอยู่เกิดจาก ความภาคภูมิใจของครอบครัว และการยอมรับจากสังคม ที่มาจากแนวคิดซึ่งเป็นบรรทัดฐานของสังคม และกระบวนการตัดสินใจออกจากอาชีพเกิดจาก การไม่ยอมรับในการปฏิบัติงานของครอบครัวพยาบาลเอง และแนวคิดบรรทัดฐานของสังคมที่เปลี่ยนไปจากการพัฒนาประเทศ
Article Details
References
กระทรวงสาธารณสุข. (2560). รายงานข้อมูลทรัพยากรสาธารณสุขประจำปี 2560. กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข.
กฤษดา แสวงดี. (2560). วิกฤติขาดแคลนพยาบาลวิชาชีพในหน่วยบริการสุขภาพของสำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข: ข้อเสนอเชิงนโยบาย. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ. ปีที่ 12(15), 58-74.
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน : สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2562). สรุปสถิติที่สำคัญ พ.ศ 2562. กระทรวงสาธารณะสุข. จำนวนบุคลากรด้านสาธารณะสุข พ.ศ. 2556-2561.น 78.
เฉลิมพล พลมุข. (2560). อนาคตพยาบาลไทย. สืบค้น 20 ธันวาคม 2561, จากhttps://www.matichon.co.th/columnists/news_474428
สภาการพยาบาล. (2559). รายงานสถานภาพการทำงานของพยาบาลในประเทศไทย. การประชุมคณะกรรมการสภาการพยาบาล;11 พฤศจิกายน 2559 ; สภาการพยาบาล, นนทบุรี.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). สรุปผลเบื้องต้นการสำรวจโรงพยาบาลและสถานพยาบาลเอกชน. สืบค้น 20 ธันวาคม 2561 จากhttp://www.nso.go.th/sites/2014/DocLib13/2560/hospital60.pdf
Cben Cbung Ma (2003). Factors That Influence Nurses’ Job Satisfaction. JONA Vol. 33, No. 5 May 2003.
Dolan,J.T.(1991).Critical care nursing clinical Management through the nursing processes. Philadelphia : F. A. Davis.
Herzberg, Frederick, Bernarol and Synderman, Barbara Bloch.1959.The Motivation to
Work. New York : John Wiley and Sons, lnc.
Huey-Ming Tzeng .(2002).The influencg of nureses’working motivation and Job
satisfaction on intention to quit : an empirical investigation in Taiwan. International. Journal of nursing Studies , 39 (2002) , 867-878.
Lilllie Lum. (1998). Explaining nursing turnover intent:job satisfaction, pay satisfaction,or organizational commitmen. Journal of Organizational Behavior, VOL. 19, 305-320
Maslow, A. (1970). Motivation and Personality (2nd ed.). New York: Harpers and Row.
ROBERT KNOOP.(2010). Work Values and Job Satisfaction. The Journal of Psychology, J28(6), 683-690.
Robert Knoop (1994). Work Values and Job Satisfaction,The Journal of Psychology: Interdisciplinary and Applied, 128:6, 683-690.
World Health Organization. (2016). Global strategy on human resources for health: Workforce 2030. Geneva.