คุณภาพการให้บริการที่สัมพันธ์กับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์เนชั่นแนล

Main Article Content

ภัทรปภา เชวงทรัพย์
ปฏิมา รุ่งเรือง
ภูษิตย์ วงษ์เล็ก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้บริการโรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์เนชั่นแนล 2) เพื่อศึกษาคุณภาพการให้บริการของโรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์เนชั่นแนล  และ 3) เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพการให้บริการกับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการโรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์เนชั่นแนล กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ใช้บริการที่เป็นผู้ป่วยนอก จำนวน 359 คน โดยใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ที่มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง 0.67 – 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมติฐานโดยหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ผลการวิจัย พบว่า 1) ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการโรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์เนชั่นแนล ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีระดับความพึงพอใจมากที่สุด คือ ด้านความสะดวก รองลงมาคือ ด้านอัธยาศัยผู้ให้บริการ ด้านการประสานงาน ด้านข้อมูลที่ได้รับจากการบริการสุขภาพ และด้านค่าใช้จ่ายเมื่อใช้บริการ 2) คุณภาพการให้บริการของโรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์เนชั่นแนล ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีระดับคุณภาพมากที่สุด คือ ด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการ รองลงมาคือ ด้านการให้ความมั่นใจแก่ลูกค้า ด้านการตอบสนองลูกค้า ด้านการเข้าใจและรู้จักลูกค้าและด้านความน่าเชื่อถือ และ 3) คุณภาพการให้บริการในภาพรวม มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการโรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์เนชั่นแนล อยู่ในระดับสูงมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2562). ธุรกิจโรงพยาบาลและสถานบริการพยาบาลบทวิเคราะห์ธุรกิจ ประจำเดือนมีนาคม 2562. สืบค้น 21 ธันวาคม 2562, จาก https://www.dbd.go.th/download/document_file/Statisic/2562/T26/T26_201903.pdf.

กระทรวงสาธารณสุข. (2562). แผนยุทธศาสตรกระทรวงสาธารณสุขประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. สืบค้น 21 ธันวาคม 2562, จากhttps://www.skto.moph.go.th/document_file/yudtasad20y.pdf.

จามรี ทองระอา (2563, 17 มกราคม). ตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์เนชันแนล [บทสัมภาษณ์].

ชาญกิจ อ่างทอง. (2558). การศึกษาความพึงพอใจในการใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนของคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

เบญชภา แจ้งเวชฉาย. (2559). คุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้โดยสารรถไฟฟ้า BTSในกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).

พรรณี ลีกิจวัฒนะ. (2559). วิธีการวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: มีนเซอร์วิส ซัพพลาย.

พูลสุข นิลกิจศรานนท์. (2562). ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน. สืบค้น 21 ธันวาคม 2562, จากhttps://www.krungsri.com/bank/getmedia/42e5f42d-4465-4304-92af-60e3c2539460/IO_Private_Hospital_190624_TH_EX.aspx.

ภาคิน นิธิโชติการ. (2560). ความพึงพอใจของผู้สูงอายุต่อการให้บริการโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน). ” (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก).

มยุเรศ โสภิพงค์. (2557). คุณภาพการให้บริการของโครงการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เทศบาลตำบลนาป่า อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกริก).

โสรัจจะราช เถระพันธ์. (2561). คุณภาพการบริการและการบริหารความสัมพันธ์กับผู้รับบริการที่ส่งผลต่อความไว้วางใจ ความพึงพอใจ และความภักดีของผู้ใช้บริการโรงพยาบาลเอกชน ในจังหวัดปทุมธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).

Cronbach, Lee J. (1970). Essential of Psychological Testing (3 rd.). New York: Harper& Row.

K.V.D.H.S.Kalutharawithana, N.S.Jayawardena. (2017). The Impact of Service Quality towards Customer satisfaction in Private sector Hospitals-A Case Study on the ABC Private Hospital in Sri Lanka. International Journal of Scientific & Engineering Research, Volume 8, Issue 12, December, 375 – 384.

Paridhi Pathak. (2017). An Analysis of Outpatients’Perceived Service Quality and Satisfaction in Selected Private Hospitals of Kathmandu. Journal of Business and Social Sciences Research (JBSSR), Vol. 2(No.1&2), 69 – 84.