ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการใช้สิ่งเทียมอาวุธปืน ศึกษาเฉพาะกรณีการนำไปใช้ในการกระทำความผิดทางอาญา

Main Article Content

ประทีป ทับอัตตานนท์
สุคนธา แก้วทอง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายเกี่ยวกับอาวุธปืนของประเทศไทยกับกฎหมายของประเทศอื่น เนื่องจากความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้ไฟ และสิ่งเทียมอาวุธ พ.ศ. 2490 มิได้มีการกำหนดความผิดเกี่ยวกับการนำสิ่งเทียมอาวุธปืนมาใช้ ด้วยเหตุว่ากฎหมายดังกล่าวมีบทบัญญัติเพียงห้ามมิให้บุคคลสั่ง นำเข้า หรือค้าซึ่งสิ่งเทียมอาวุธปืนโดยไม่มีใบอนุญาตเท่านั้น กฎหมายมิได้ห้ามมิให้บุคคลครอบครองหรือพกพาไปในที่สาธารณะ หากผู้ครอบครองสิ่งเทียมอาวุธปืนไปข่มขู่ผู้อื่น ก็จะรับผิดตามประมวลกฎหมายอาญา เกี่ยวกับการทำให้ผู้อื่นเกิดความกลัวหรือความตกใจ เท่านั้น ทั้งที่ในความเป็นจริงผลร้ายที่เกิดขึ้นมีเช่นเดียวกันถือเป็นอันตรายต่อสังคม แต่กฎหมายมีความแตกต่างกัน ดังนั้นเมื่อมีการนำสิ่งเทียมอาวุธปืนมาใช้ เพื่อข่มขู่ผู้อื่น หรือใช้ประกอบอาชญากรรมอื่น ๆย่อมต้องได้รับโทษเช่นเดียวกัน ใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เป็นการ วิจัยทางเอกสาร (Documentary Research) ศึกษาจาก หลักกฎหมายของประเทศไทยและกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืนของ ประเทศญี่ปุ่น ประเทศมาเลเซีย สาธารณรัฐสิงคโปร์ สาธารณรัฐประชาชนจีน และสหพันธ์รัฐสวิส เพื่อรวบรวมข้อมูลไปสู่การสังเคราะห์ต่อไป ผลการวิจัยพบว่า พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้ไฟ และสิ่งเทียมอาวุธ พ.ศ. 2490 ยังไม่มีบทบัญญัติเฉพาะเกี่ยวกับความผิดในการพกพาสิ่งเทียมอาวุธปืน ไว้โดยชัดแจ้ง ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับกฎหมายเกี่ยวกับอาวุธปืนของประเทศญี่ปุ่นประเทศ


มาเลเซีย สาธารณรัฐประชาชนจีน และสหพันธ์รัฐสวิส แล้วพบว่า กฎหมายของประเทศไทยยังขาดบทบัญญัติของกฎหมายในเรื่องของการลงโทษผู้ที่กระทำความผิดเกี่ยวกับการใช้สิ่งเทียมอาวุธปืนมาใช้ เพื่อข่มขู่ผู้อื่น หรือใช้ประกอบอาชญากรรมอื่น ๆ


           ข้อเสนอแนะจากการวิจัยคือ ประเทศไทยควรมีการปรับปรุงพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้ไฟ และสิ่งเทียมอาวุธ พ.ศ. 2490 ให้เป็นไปตามหลักการคุ้มครองสังคมตามแนวทางของประเทศประเทศญี่ปุ่นประเทศมาเลเซีย สาธารณรัฐประชาชนจีน และสหพันธ์รัฐสวิส เพื่อให้เกิดความยุติธรรมต่อสังคมเพราะ เมื่อไม่มีกฎหมายก็ไม่สามารถลงโทษผู้กระทำความผิด ดังกล่าวได้ตามหลักไม่มีโทษถ้าไม่มีกฎหมายกำหนด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณิต ณ นคร, (2552). ปฎิรูปกระบวนการยุติธรรมทางอาญา,กรุงเทพ :สำนักพิม์วิญญูชน.

อภิรัตน์ เพ็ชรศิริ, (2548), ทฤษฎีอาญา (พิมพ์ครั้งที่ ๒), กรุงเทพ:สำนักพิมพ์วิญญูชน.

Central Government Portal www.gov.cn 27 กุมภาพันธ์ 2551 http://www.gov.cn/zwgk/2008-02/27/content_902728.htm

China.org.cn, February 14, 2011. Retrieved from http://www.china.org.cn/china/LegislationsForm2001-2010/2011-02/14/content_21916528.htm

Federal Act on Weapons, Weapon Accessories and Ammunition (Weapons Act, WA) of 20 June 1997 (Status as of 1 September 2020). Retrieved from https://www.admin.ch/opc/en/classifiedcompilation/19983208/index.html

Incorporating all amendments up to 1 January 2006 retrieved from http://www.agc.gov.my/agcportal/uploads/files/Publications/LOM/EN/Act%2 037.pdf

John Stuart Mill, On Liberty. (1976). Gertrude Mimmelfarb, (ed) Middlesex: Penguin book, p. 68

Mark Alleman, Translation, Firearm and Sword Possession Contro/Law, 9 Pac. Rim L & Pol'y J. 176 (2000). Retrieved from https://digitalcommons.law.uw.edu/cgi/viewcontent.cgi?article=1236&context=wilj

Pound, R. (1959) Jurisprudence, St Paul, Minnesota: West Publishing Company,Vol. 1 p. 15

REVISED EDITION 2008 (31st March 2008) Singapore Statutes Online. Retrieved from https://sso.agc.gov.sg/Act/AOA1973

The National Archives on behalf of HM Government. Firearms Act 1968. Retrieved from https://www.legislation.gov.uk/ukpga/2006/38/contents