ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวในจังหวัดพังงา

Main Article Content

ชนม์ธิดา ยศปัน
ฌาวีรัชญ์ พรศิยาวรัญญ์
พสุ ชัยเวฬุ
ประสงค์ อุทัย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาศักยภาพในการพัฒนาการท่องเที่ยว ภาพลักษณ์แหล่งท่องเที่ยวและแรงจูงใจในการกลับมาเที่ยวซ้ำที่ส่งผลถึงผลกระทบต่อการท่องเที่ยวจังหวัดพังงา ของนักท่องเที่ยวชาวไทย และ 2) เพื่อศึกษาโครงสร้างความสัมพันธ์ของปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวในจังหวัดพังงาของนักท่องเที่ยวชาวไทย กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่มาเที่ยวจังหวัดพังงาจำนวน 400 คน เครื่องมือในการวิจัยใช้แบบสอบถามแบบ 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยเทคนิคการวิเคราะห์สมการเชิงโครงสร้าง (SEM) ประกอบด้วยการวิเคราะห์แบบจำลองโครงสร้าง (Structural Model) และการวิเคราะห์แบบจำลองการวัด (Measurement Model) ผลการวิจัย พบว่า 1) ศักยภาพในการพัฒนาการท่องเที่ยวมีผลกระทบต่อการท่องเที่ยวจังหวัดพังงามากที่สุด รองลงมา คือ ภาพลักษณ์แหล่งท่องเที่ยว และแรงจูงใจในการกลับมาเที่ยวซ้ำ 2) โครงสร้างความสัมพันธ์ของปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวในจังหวัดพังงาประกอบไปด้วย ปัจจัยศักยภาพในการพัฒนาการท่องเที่ยว แรงจูงใจในการกลับมาเที่ยวซ้ำ และภาพลักษณ์แหล่งท่องเที่ยว โดยโมเดลสมการโครงสร้างที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ตามเกณฑ์ ได้แก่  ค่า/df  = 1.227, P-value = 0.055, CFI = 0.936, GFI = 0.951, AGFI = 0.922, RMSEA 0.028 และ RMR = 0.011 พบว่า ศักยภาพในการพัฒนาการท่องเที่ยว ภาพลักษณ์แหล่งท่องเที่ยว และแรงจูงใจในการกลับมาเที่ยวซ้ำ ส่งผลถึงการท่องเที่ยวจังหวัดพังงาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 และ 0.001 ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Boontum, V. & Bussaparoek, M. (2021). Kānsưksā phrưttikam læ rǣng čhūngčhai nai kān tangčhai klap mā thō̜ngthīeo sam kō̜ranī sưksā čhangwat Surin. [A Study of Behavior and Motivation Toward Intention to Repeat to Travel: A Case Study of Surin]. Journal of Management Science Review, 23(2), 39-49.

วนารัตน์ บุญธรรม และมนภัทร บุษปฤกษ์. (2564). การศึกษาพฤติกรรมและแรงจูงใจในการตั้งใจกลับมาท่องเที่ยวซ้ำ กรณีศึกษา จังหวัดสุรินทร์. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 23(2), 39-49.

Buangam, P. & Sriyom, U. (2021). Nǣothāng kānphatthanā sakkayaphāp kānthō̜ngthīeo tām kēn māttrathān kānthō̜ngthīeo chumchon ʻamphœ̄ nop phi tam čhangwat Nakhō̜n Sī Thammarāt. [Potentiality Development Approach on Community-Based Tourism Standard in Nopphitam District, Nakhon Si Thammarat Province]. Rajapark Journal, 15(41), 230-241.

พรศิลป์ บัวงาม และอุทุมพร ศรีโยม. (2564). แนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวตามเกณฑ์มาตรฐานการท่องเที่ยวชุมชน อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารรัชต์ภาคย์, 15(41), 230-241.

Byrne, B. M. (2010). Structural Equation Modeling with AMOS: Basic Concepts, Applications, and Programming. New York: Routledge.

Echtner, C. M. & Ritchie, J. R. B. (2003). The Meaning and Measurement of Destination Image. Journal of Tourism Studies, 2(2), 2-12.

Hair, J. Black, W. C. Babin, B. J. & Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis (7th ed.). Upper Saddle River, New Jersey: Pearson Educational International.

Ministry of Tourism and Sports. (2020). Sathānakān kānthō̜ngthīeo pī 2562 læ nǣonōm pī 2563. [Tourism Situation in 2019 and Trends in 2020]. Retrieved March 3, 2023, from https://www.thaipost.net/economy-news/391725/

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). สถานการณ์การท่องเที่ยวปี 2562 และแนวโน้มปี 2563. สืบค้น 3 มีนาคม 2566, จาก https://www.thaipost.net/economy-news/391725/

Nobsuwan, T. & Jansri, W. (2021). Phāplak lǣng thō̜ngthīeo thī mī ʻitthi phon tō̜ khwāmphưngphō̜čhai læ khwām čhongrakphakdī khō̜ng nak thō̜ngthīeo yān mư̄ang kao čhangwat Songkhlā. [The Influence of Tourist Attraction’s Image on Tourist’s Satisfaction and Loyalty in Songkhla Old Town]. Economics and Business Administration Journal Thaksin University, 13(2), 145–162.

ทัศน์พล นพสุวรรณ และวิลาวัลย์ จันทร์ศรี. (2564). ภาพลักษณ์แหล่งท่องเที่ยวที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจและความจงรักภักดีของนักท่องเที่ยวย่านเมืองเก่า จังหวัดสงขลา. วารสารเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 13(2), 145-162.

Nonthachot, P. (2014). Phonkrathop khō̜ng kānthō̜ngthīeo chœ̄ng Niwēt tō̜ chumchon thō̜ngthin thī mī khwāmlāklāi thāng chāttiphan: kō̜ranī sưksā chum chon bā nō̜ra wom mit tambon mǣ yāo ʻAmphœ̄ Mư̄ang čhangwat Chīang Rāi. [The Impact of Ecotourism on Local Community with Various Ethnic Groups: a Case Study of Ruam-mitr Village, Mae-Yaaw Sub District, Muang District, Chiangrai Province]. Kasalongkham Research Journal Chiangrai Rajabhat University, 8(2), 123-136.

ภีรวัฒน์ นนทะโชติ. (2557). ผลกระทบของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศต่อชุมชนท้องถิ่นที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์: กรณีศึกษาชุมชนบ้านรวมมิตร ตำบลแม่ยาว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. วารสารการวิจัยกาสะลองคำ, 8(2), 123-136.

Otakanon, P. (2012). Rūpbǣp khunnaphāp kān bō̜rikān phāplak lǣng thō̜ngthīeo læ khwāmphưngphō̜čhai thī song phon tō̜ khwāmtangčhai chœ̄ng phrưttikam kānthō̜ngthīeo bǣp phamnak raya yāo khō̜ng chāo Yurōp læ ʻamērikan. [The Model of Service Quality, Destination Image, and Satisfaction Influencing Behavioral Intention of European and American Visitors in Long Stay Tourism]. (Doctoral Dissertation, Eastern Asia University).

พบพร โอกานนท์. (2555). รูปแบบคุณภาพการบริการ ภาพลักษณ์แหล่งท่องเที่ยว และความพึงพอใจ ที่ส่งผลต่อความตั้งใจเชิงพฤติกรรมการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาวของชาวยุโรปและอเมริกัน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย)

Phangnga Provincial Governor's Office. (2018). Phǣn phatthanā čhangwat Phangngā hā pī (2561-2565). [Phangnga Province 5-Year Development Plan (2018-2022)]. Retrieved March 20, 2023, from

http://www.phangnga.go.th/index.php/th/ phangnga-plan/2016-10-11-07-01-57

สำนักงานจังหวัดพังงา. (2561). แผนพัฒนาจังหวัดพังงา 5 ปี (2561-2565). สืบค้น 20 มีนาคม 2566, จาก http://www.phangnga.go.th/index.php/th/phangnga-plan/2016-10-11-07-01-57

Srirathu, V. (2008). Sakkayaphāp lǣng thō̜ngthīeo chœ̄ng Niwēt nai ʻamphœ̄ khao khō̜ čhangwat Phetchabūn. [Eco-Tourism Potential of Amphoe Khao Kho, Phetchabun Province]. (Master’ Thesis, Srinakarinwirot University).

วิภา ศรีระทุ. (2551). ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศในอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

Wiratchai, N. (1999). Khwāmsamphan khrōngsāng chœ̄ng sēn LISREAL: sathiti wi kho̜ samrap kānwičhai thāng sangkhommasāt læ phrưttikam sāt. [LISREAL Linear Structural Relationships: Statistical Analysis for Social and Behavioral Science Research.]. Bangkok: Chulalongkorn University Press.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). ความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้น LISREAL: สถิติวิเคาะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Wongbuangam, B. & Poolsawat, M. (2013). Potential Assessment of Agro Tourism Awarded by the Philosophy of Sufficiency Economy Project in Bangkok and its Vicinity. Bangkok: Rajamangala University of Technology Phra Nakhon.

Zhang, B. (2016). The Impacts of Perceived Risk and Destination Image on Chinese Visitor’s Decision and Destination Loyalty for Visiting Thailand. (Master’ Thesis, Bangkok University).