การพยากรณ์ต้นทุนค่าเดินทางที่เหมาะสมของรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนกรุงเทพ ส่วนเชื่อมขยายในมุมมองผู้บริโภค
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับคุณภาพและอิทธิพลของการให้บริการรถไฟฟ้าและคุณภาพของระบบรถไฟฟ้าที่มีต่อต้นทุนค่าเดินทางที่เหมาะสมของรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนกรุงเทพส่วนเชื่อมขยายในมุมมองผู้บริโภค ประชากรในการวิจัย เป็นผู้โดยสารที่ใช้รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนกรุงเทพส่วนเชื่อมขยายทั้ง 3 สาย ประกอบด้วย 1) สายแบริ่ง-สมุทรปราการ 2) สายสนามกีฬาแห่งชาติ-บางหว้า และ 3) สายหมอชิต -สะพานใหม่-คูคต มีทั้งหมด 23 สถานี โดยเก็บข้อมูลผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าตามความสะดวก (Convenience Sampling) จำนวน 140 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่มีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.964 โดยใช้การวิเคราะห์ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า ตัวแปรที่ส่งผลต่อต้นทุนค่าเดินทางที่เหมาะสมของรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานครส่วนเชื่อมขยายในมุมมองผู้บริโภค (Y) ได้แก่ ปัจจัยด้านลักษณะทางกายภาพ (X1) ด้านความสามารถในการให้บริการของโครงข่ายระบบรางรถไฟฟ้าส่วนเชื่อมขยาย (X6) และด้านความน่าเชื่อถือ (X2) โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยเท่ากับ 0.222, 0.299 และ 0.270 ตามลำดับ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ในการทำนาย (R2) เท่ากับ 0.524 สามารถทำนายต้นทุนค่าเดินทางที่เหมาะสมของรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานครส่วนเชื่อมขยายในมุมมองผู้บริโภคได้ ร้อยละ 52.4 โดยผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณสามารถนำไปสร้างสมการพยากรณ์ได้ดังนี้
สมการในรูปแบบคะแนนดิบ
Y= 0.488 + 0.256(X1) + 0.295(X2) + 0.256(X6)
สมการในรูปแบบคะแนนมาตรฐาน
Z^ = 0.222(Z1) + 0.299(Z2) + 0.270(Z6)
Article Details
References
Bangkok Traffic and Transport Bureau. (2020). Sathiti čharāčhō̜n pī sō̜ngphanhārō̜ihoksipsō̜ng. [Traffic statistics for 2019]. Retrieved November 1, 2020, from https://division. bangkok.go.th/dotat/
สำนักการจราจรและขนส่งกรุงเทพมหานคร. (2563). สถิติจราจรปี 2562. สืบค้น 1 พฤศจิกายน 2563, จาก https://division.bangkok.go.th/dotat/
BLT Bangkok. (2021). Khā dōisān rotfaifā khō̜ng khon krung 2564. [Sky train fares for Bangkokians 2021]. Retrieved January 15, 2021, from https://www.bltbangkok.com/
BLT Bangkok. (2564). ค่าโดยสารรถไฟฟ้าของคนกรุง 2564. สืบค้น 15 มกราคม 2564, จาก https://www.bltbangkok.com/
Chaloemphong, S. (2020). Chūak Krung Thēp... rabop khonsong mūanchon yō̜t yǣ rotmē mai thưng khon čhon - rotfaifā phư̄a khon rūai. [Criticizing Bangkok's terrible mass transit system, buses for not reaching the poor, electric trains for the rich]. Retrieved October 14, 2020, from https://www.tcijthai.com/news/ 2013/02/scoop/3159
ศักดิ์สิทธิ์ เฉลิมพงศ์. (2563). จวกกรุงเทพฯ ระบบขนส่งมวลชนยอดแย่รถเมล์ไม่ถึงคนจน-รถไฟฟ้าเพื่อคนรวย. สืบค้น 12 ตุลาคม 2563, จาก https://www.tcijthai.com/news/2013/ 02/scoop/3159
Charoensri, W. (2017). Patčhai thī mī ʻitthi phon tō̜ ʻakān tatsin čhai chai rotfai fā bī thī ʻē sō̜ [Factors affecting commuters’ decision making of using the Bangkok Sky Train]. (Master’s Independent study, Thammasat University).
วริศรา เจริญศรี. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้รถไฟฟ้าบีทีเอส. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
Dolly Solutions. (2017). Panhā kān čharāčhō̜n thīthǣ čhing mī ʻarai bāng. [What are the real traffic problems?]. Retrieved October 14, 2020, from https://dparktraffic.com/traffic/
ดอลลี่ โซลูชั่น. (2560). ปัญหาการจราจรที่แท้จริง มีอะไรบ้าง. สืบค้น 15 ตุลาคม 2563, จาก https://dparktraffic.com/traffic/
Geographic Information Division. (2020). Prachākō̜n tām khō̜mūn thabīan rāt Na pī 2562. [Population according to civil registration data 2019]. Retrieved August October 14, 2020, from https://webportal.bangkok.go.th/gis
กองสารสนเทศภูมิศาสตร์. (2563). ประชากรตามข้อมูลทะเบียนราษฎร์ ณ ปี 2562. สืบค้น 14 ตุลาคม 2563, จาก https://webportal.bangkok.go.th/gis
Hair, J. F. et al. (2010). Multivariate data analysis (7th ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.
Housing Development Academic Department, National Housing Authority. (2019). Khō̜mūn thīyūʻāsai hǣng chāt. [National housing data]. Retrieved October 14, 2020, from https://nhic.m-society.go.th/category/dataset/information-news-housing/
ฝ่ายวิชาการพัฒนาที่อยู่อาศัย การเคหะแห่งชาติ. (2562). ข้อมูลที่อยู่อาศัยแห่งชาติ. สืบค้น 14 ตุลาคม 2563, จาก https://nhic.m-society.go.th/category/dataset/information-news-housing/
Leekitwattana, P. (2015). Withīkān wičhai thāngkān sưksā (Phim khrang thī sip).[Educational research methods (10th ed.)]. Bangkok: Min Service Supply.
พรรณี ลีกิจวัฒนะ. (2558). วิธีการวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: มีน เซอร์วิส ซัพพลาย.
Narasan, C. (2019). Phrưttikam kāndœ̄nthāng phư̄a kānthō̜ngthīeo nai khēt Krung Thēp Mahā Nakhō̜n khō̜ng phūsūngʻāyu: kō̜ranī sưksā khonsong sāthārana. [Travel Behavior for Tourism in Bangkok of the Elderly: a Case Study of Public Transportation]. (Master’s thesis, King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang).
ชวลิต นรสาร. (2562). พฤติกรรมการเดินทางเพื่อการท่องเที่ยวในเขตกรุงเทพมหานครของผู้สูงอายุ : กรณีศึกษาขนส่งสาธารณะ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง).
Ongkittikul, S. (2021). Kānsưksā khō̜ng TDRI prīapthīap tonthun khāchaičhāi rabop khonsong sāthārana rō̜p Krung Thēp Mahā Nakhō̜n læ parimonthon . [The TDRI Study on The Comparison of the Costs of Public Transportation Systems in Bangkok and its Vicinity]. Retrieved December 10, 2020, from http://www.anticorruption.in.th/2016/th/detail/1465/4'ทีดีอาร์ไอ'%20ลุยศึกษาค่ารถไฟฟ้าแพง.
สุเมธ องกิตติกุล. (2564). การศึกษาของ TDRI เปรียบเทียบต้นทุนค่าใช้จ่ายระบบขนส่งสาธารณะรอบกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. สืบค้น 10 ธันวาคม2563, จาก http://www.anticorruption.in.th/2016/th/detail/1465/4'ทีดีอาร์ไอ'%20ลุยศึกษาค่ารถไฟฟ้าแพง.
Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., & Berry, L. L. (1985). A conceptual model of service quality and its implications for future research. Journal of Marketing, 49, 41- 50.
Sermsirimon, R. (2018). Itthiphon khō̜ng khunnaphāp kān bō̜rikān thī mī phon tō̜ ʻakān tatsinčhai lư̄ak chai bō̜rikān khonsong mūanchon khō̜ng lūkkhā bō̜risat X čhamkat nai khēt phư̄nthī čhangwat Mahā Sārakhām. [Influence of service quality on customers' decision-making in using mass transit of X company in Mahasarakham, Thailand]. (Master’s independent study, Bangkok University).
รตีทิพย์ เสริมสิริมน. (2561). อิทธิพลของคุณภาพการบริการที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการขนส่งมวลชนของ ลูกค้าบริษัท X จำกัด ในเขตพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม. (การค้นคว้าอิสระ ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).
Suangka, K. (2015). Patčhai thī mī phon tō̜ ʻakān lư̄ak dœ̄nthāng dūai rabop khonsong sāthārana khō̜ng phūsūngʻāyu : kānprayukchai bǣpčhamlō̜ng samakān khrōngsāng. [Factors Affecting Elderly’s Decisions to use Public Transportation: the Application of Structural Equation Model]. Srinakharinwirot University Journal of Sciences and Technology, 7(14), 129–142.
กาญจน์กรอง สุอังคะ. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะของผู้สูงอายุ: การประยุกต์ใช้แบบจำลองสมการโครงสร้าง. วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 7(14), 129–142.
Vukan, R.V. (1992). Comparative analysis: Public transport (2nd ed.). New Jersey: Prentice-Hall.
Yazid, M. F., Ali, A. M., & Manaf, S. A. (2020). Customer satisfaction in public transport service. European Journal of Molecular & Clinical Medicine, 7(3), 4108-4112