ปัจจัยที่ส่งผลให้ผู้ที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น ยอมรับการนำ Inclusive Design มาใช้กับแอปพลิเคชันอีคอมเมิร์ซ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลให้ผู้ที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นยอมรับการนำ Inclusive Design มาใช้กับแอปพลิเคชันอีคอมเมิร์ซ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น จำนวน 250 คน โดยการคำนวณขนาดของกลุ่มตัวอย่าง ด้วยวิธีที่เหมาะสมกับหลักการวิเคราะห์โมเดลสมการเชิงโครงสร้าง (Structural Equation Modeling: SEM) ซึ่งขนาดของตัวอย่างควรมีจำนวนมากกว่าตัวแปรอย่างน้อย 200 ตัวอย่างขึ้นไป และคำนวณด้วยการประมาณค่าพารามิเตอร์ด้วยวิธีไลค์ลิฮูดสูงสุด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ที่มีค่าสัมประสิทธ์ความน่าเชื่อถือเท่ากับ 0.790 การวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบไปด้วยค่าร้อยละ (Percentage) การแจกแจงความถี่ (Frequency) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) ด้วยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis: EFA) และการวิเคราะห์สมการเชิงโครงสร้าง (Structural Equation Modeling: SEM) ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลให้ผู้ที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นยอมรับการนำ Inclusive Design มาใช้กับแอปพลิเคชันอีคอมเมิร์ซ คือ ความไว้วางใจ (Trust) โดยส่งผลต่อการยอมรับการนำ Inclusive Design มาใช้กับแอปพลิเคชันอีคอมเมิร์ซ (Adoption Intention of Inclusive Design) ได้ร้อยละ 69% โดยปัจจัยความไว้วางใจมีค่าน้ำหนักสัมพันธ์มาตรฐานที่ 0.658 ปัจจัยทางอ้อมที่ส่งผลกระทบ ได้แก่ ปัจจัยด้านการออกแบบสภาพแวดล้อมทางกายภาพของเทคโนโลยีอำนวยความสะดวก (Physical Environment Design) และ ปัจจัยด้านการออกแบบสภาพแวดล้อมทางจิตวิทยา (Psychological)
Article Details
References
Brand Buffet. (2564). Inclusive Design thē ron ʻō̜k bǣp sinkhā dūai nǣokhit mai thing khrai wai khāng lang ( Leave No One Behind ). ['Inclusive Design', a trend in designing products with the concept "Leave No One Behind" (Leave No One Behind)]. Retrieved February 27, 2024, from http://www.brandbuffet.In.th/2021/10/inclusive-design-trend-for-‘eave-no-one-behind/
Brand Buffet. (2564). ‘Inclusive Design’ เทรนด์ออกแบบสินค้าด้วยแนวคิด “ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” (Leave No One Behind). สืบค้น 27 กุมภาพันธ์ 2567, จากhttp://www.brandbuffet.In.th/2021/10/inclusive-design-trend-for-‘eave-no-one-behind/
Department of Empowerment of Persons with Disabilities. (2023). Sathānakān khonphikān sāmsip Kanyāyon 2566. [Situation of people with disabilities 30 September 2023]. Retrieved February 27, 2024, from
กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ. (2566). สถานการณ์คนพิการ 30 กันยายน 2566. สืบค้น 27 กุมภาพันธ์ 2567, จาก https://dep.go.th/th/law-academic/knowledge-base/disabled-person-situation/สถานการณ์คนพิการ-30-กันยายน-2565
Yinhanmingmongkol, J. (2023). Patčhai thī song phon tō̜ khwām tangčhai chai phrō̜m phē nai kān ʻōn ngœ̄n rawāng prathēt : kō̜ranī sưksā phrō̜m phē - phē nāo. [Factors affecting intention to use PromptPay for international money transfers: A case study of PromptPay-PayNow]. (Master of Science, Thammasat University).
จารวี ยินหาญมิ่งมงคล. (2566). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจใช้พร้อมเพย์ในการโอนเงินระหว่างประเทศ: กรณีศึกษาพร้อมเพย์-เพย์นาว. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
Yaemkleebbua, C. (2022). ʻItthiphon kānyō̜mrap theknōlōyī læ khwām wai wāngčhai khō̜ng phūchai bō̜rikān thī song phon tō̜ khwām tangčhai ʻasi nakhā phān thāng rabop phānit ʻilekthrō̜nik (E - commerce) Lazada. [Influence of technology acceptance and trust of service users That affects the intention to purchase products through the electronic commerce system (E-commerce) Lazada.]. (Master of Management Thesis, Mahidol University).
ชลธิดา แย้มกลีบบัว. (2565). อิทธิพลการยอมรับเทคโนโลยีและความไว้วางใจของผู้ใช้บริการ ที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าผ่านทางระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce) Lazada. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล).
Kittiwongkamjorn, N. (2022). Patčhai thī mī ʻitthi phon tō̜ khwāmphưngphō̜čhai khō̜ng phūbō̜riphōk thī ʻasi nakhā ʻō̜ nalai : kō̜ranī sưksā wep sai lā sādā . [Factors influencing consumer satisfaction when purchasing products online: A case study of the Lazada website.]. (Master of Business Administration Thesis, Burapha University).
นิสรา กิตติวงษ์กำจร. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าออนไลน์ : กรณีศึกษาเว็บไซต์ลาซาด้า. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).
Phetcharot, D. and Chamniprasat, A. (2004). Rabīap withīkān wičhai . [Research methods]. Bangkok: Phimdeekarn print.
ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ และอัจฉรา ชำนิประศาสน์. ระเบียบวิธีการวิจัย. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดีการพิมพ์.
Kowasattanasakul, W.(2011). Kānphatthanā nawattakam theknōlōyī si ngō̜ʻam nūai khwām sadūak phư̄a phū phikān thāngkān mō̜ng hen samrap kāntham thurakam thāng kānngœ̄n phān khrư̄ang rap čhāi ngœ̄n ʻattanōmat ( ʻē thī ʻem : ATM ). [Developing innovative assistive technology for people with disabilities visually for financial transactions Through an automatic teller machine (ATM: ATM)]. (Doctor of Science Thesis, Chulalongkorn University).
วรท กอวสัฒนสกุล. (2554). การพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อผู้พิกาทางการมองเห็น สำหรับการทำธุรกรรมทางการเงิน ผ่านเครื่องรับจ่ายเงินอัตโนมัติ (เอทีเอ็ม: ATM). (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
Office of the Permanent Secretary, Ministry of Education. (2018). Yuk Digital 4.0 mư̄a lōk khapkhlư̄an dūai theknōlōyī . [4.0 when the world is driven by technology]. Retrieved February 27, 2024, from จาก https://ops.moe.go.th/ยุค-digital-4-0-เมื่อโลกขับเคลื่อน/.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2561). ยุค Digital 4.0 เมื่อโลกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี. สืบค้น 27 กุมภาพันธ์ 2567, จาก https://ops.moe.go.th/ยุค-digital-4-0-เมื่อโลกขับเคลื่อน/.