เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด

  • The submission has not been previously published, nor is it before another journal for consideration (or an explanation has been provided in Comments to the Editor).
  • The submission file is in OpenOffice, Microsoft Word, or RTF document file format.
  • Where available, URLs for the references have been provided.
  • The text is single-spaced; uses a 12-point font; employs italics, rather than underlining (except with URL addresses); and all illustrations, figures, and tables are placed within the text at the appropriate points, rather than at the end.
  • The text adheres to the stylistic and bibliographic requirements outlined in the Author Guidelines.

รูปแบบการเขียนบทความ

หลักเกณฑ์การเสนอบทความวิชาการหรือบทความวิจัย เพื่อพิมพ์ในวารสารนิเทศสยามปริทัศน์ กองบรรณาธิการวารสารนิเทศสยามปริทัศน์มีความยินดีที่จะขอเรียนเชิญผู้ที่สนใจทุกท่านส่งบทความ ทางวิชาการหรือรายงานการวิจัยเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ความรู้และความก้าวหน้าทางวิชาการใน วารสารนิเทศสยามปริทัศน์ ทั้งนี้บทความที่ส่งมาให้พิจารณาต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างการตีพิมพ์ในวารสารอื่น ทางกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจทานและแก้ไขต้นฉบับและจะพิจารณาตีพิมพ์ตามความเหมาะสม โดยมีเกณฑ์การพิจารณาดังนี้

1. บทความวิชาการหรือบทความวิจัยเน้นสาระความรู้ การวิจัยและวิชาการที่เกี่ยวข้องกับ นิเทศศาสตร์วารสารศาสตร์ประชาสัมพันธ์โฆษณาหนังสือพิมพ์วิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ การแสดง การสื่อสารการตลาด สื่อดิจิทัล และการสื่อสารมวลชน ฯลฯ ซึ่งเป็นการนำเสนอองค์ความรู้ใหม่ทางวิชาการและวิชาชีพที่น่าสนใจ

2. บทความวิชาการหรือบทความวิจัยเรื่องที่ส่งไปตีพิมพ์จะต้องเป็นเรื่องที่ไม่เคยตีพิมพ์ที่ไหนมาก่อน หรือไม่อยู่ในระหว่างส่งไปตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่น ต้องระบุชื่อบทความและชื่อ-นามสกุลจริง ของผู้เขียนบทความภายในบทความให้ชัดเจน

3. บทความวิชาการหรือบทความวิจัยต้องเขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ในกรณีที่เป็นภาษาอังกฤษต้องผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาก่อนส่งมายังกองบรรณาธิการ

4. ผู้เขียนต้องกรอกข้อมูลในแบบเสนอขอส่งบทความเพื่อลงตีพิมพ์ในวารสารนิเทศสยามปริทัศน์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม ให้ครบถ้วนและส่งมาพร้อมกับบทความวิชาการหรือ บทความวิจัย

5. บทความวิชาการหรือบทความวิจัยที่ส่งตีพิมพ์จะได้รับกลั่นกรองจากผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 3 ท่าน ในสาขาที่เกี่ยวข้องกับบทความ สำหรับบทความที่ไม่ผ่านการพิจารณาให้ตีพิมพ์ทางกอง บรรณาธิการจะแจ้งให้ผู้เขียนทราบ แต่จะไม่ส่งต้นฉบับคืนผู้เขียน

6.  บทความวิชาการหรือบทความวิจัยที่แปลหรือเรียบเรียงจากภาษาต่างประเทศต้องมีหลัก ฐานการอนุญาตให้พิมพ์เป็นลายลักษณ์อักษรจากเจ้าของลิขสิทธิ์

7. บทความวิชาการหรือบทความวิจัยต้องมีรูปแบบของการเขียนและการเตรียมต้นฉบับโดยชื่อเรื่องให้พิมพ์ไว้หน้าแรก ส่วนรายชื่อผู้เขียนให้พิมพ์ไว้ใต้ชื่อเรื่อง โดยเยื้องไปทางขวามือ ชื่อเรื่องและชื่อผู้เขียนให้ระบุภาษาอังกฤษไว้ด้วย ส่วนตำแหน่งและสถาบันหรือที่ทำงานของผู้เขียนควรพิมพ์ไว้เป็น เชิงอรรถ ความยาวของเนื้อเรื่องต้องไม่เกิน 15-21 หน้ากระดาษ A4 ขนาดอักษร TH SarabanPSK 16 (บทความที่มีภาพประกอบ ให้แนบไฟล์ภาพ .JPEG) โดยมีการเรียงลำดับเนื้อหาดังนี้

ในการนี้สำหรับบทความภาษาไทย จำเป็นจะต้องมีข้อมูล 1. ชื่อบทความ 2. ชื่อและสังกัดของผู้เขียนบทความ (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) พร้อม e-mail 3. บทคัดย่อ 4. คำสำคัญ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

 บทคัดย่อและคำสำคัญ

บทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ความยาวอย่างละไม่เกิน 300 คำกรุณาตรวจสอบความถูกต้องของไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ และความสอดคล้องระหว่างบทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษด้วย

- คำสำคัญภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

- ควรเป็นคำที่บ่งชี้หัวข้อหรือประเด็นที่ศึกษา กลุ่มแนวคิดทฤษฎีที่เป็นกรอบการศึกษา หรือระเบียบวิธีวิจัย (หากเป็นองค์ประกอบสำคัญของงานวิจัย) อย่างชัดเจน เพื่อให้ผู้อ่านสืบค้นได้ง่าย

- ผู้เขียนสามารถระบุคำสำคัญได้ไม่เกิน 5 คำ และให้ใช้เครื่องหมายจุลภาค (,) คั่นคำสำคัญแต่ละคำ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

            7.1 บทความวิชาการ • บทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (ไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ A4) • คำสำคัญบทความประกอบด้วย (บทนำ แนวคิดหรือทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง กระบวนการสร้างสรรค์/ผลงาน  องค์ความรู้ที่ได้รับ บรรณานุกรม)

            7.2 บทความวิจัย • บทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (ไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ A4) • บทนำซึ่งครอบคลุมความสำคัญของปัญหาและวัตถุประสงค์การวิจัย • วิธีการวิจัย (กลุ่มตัวอย่าง, เครื่องมือ, วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล) • สรุปผลการวิจัยและข้อจำกัดของการวิจัย • อภิปรายผลการวิจัย • ข้อเสนอแนะ •บรรณานุกรม

7.3 รูปแบบการพิมพ์ (Format)

เพื่อความสะดวกในการจัดหน้าและเพื่อคงความสมบูรณ์ของเนื้อหาในต้นฉบับ ขอให้ผู้เขียนใช้รูปแบบการพิมพ์ดังต่อไปนี้

- ต้นฉบับเป็นไฟล์ Microsoft Word (เวอร์ชั่น 97 ขึ้นไป) ความยาวไม่เกิน 15-21 หน้ากระดาษขนาด A4

- ใช้ตัวอักษรฟอนต์ Th SarabunPSK ขนาด 16 point ระยะห่างระหว่างบรรทัด 1 เท่า (single paragraph spacing) และจัดแนวข้อความให้ด้านหน้าและหลังเสมอกันแบบ Thai Distributed เพื่อความสะดวกในการจัดหน้า

- มีเลขหน้ากำกับบทความ โดยวางตำแหน่งเลขหน้าที่กึ่งกลางด้านล่าง หรือมุมขวาด้านบน เพื่อความสะดวกในการอ้างอิงข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิและกองบรรณาธิการต่อไป

- การเว้นวรรคตอน

- ใช้การเว้นวรรคตอนเล็ก คือ ช่องว่างมีขนาดเท่า 1 ตัวอักษร หรือ 1 เคาะ

- สำหรับบทความภาษาไทย ไม่ใช้เครื่องหมายจุลภาค (,) คั่นระหว่างคำ แต่ใช้การเว้นวรรคตอนเล็กแทน

8. รูปแบบบรรณานุกรม ให้ผู้ส่งบทความจัดทำรูป การเขียนอ้างอิงและบรรณานุกรมรูปแบบ APA 7th edition

ตัวอย่างการเขียนบรรณานุกรม  https://e-library.siam.edu/wp-content/uploads/2023/10/APA-7-SiamU-2566.pdf

9. การรับบทความ

         - ฉบับที่ 1 รับบทความระหว่าง เดือน กรกฎาคม-ธันวาคม

          - ฉบับที่ 2 รับบทความระหว่าง เดือน มกราคม-มิถุนายน

10. การตอบรับบทความ และแก้ไขบทความ

          - กองบรรณาธิการจะพิจารณาตอบรับบทความหลังจากวันที่ส่งบทความระยะเวลา 3 สัปดาห์

          - การแก้ไขบทความ หลังจากที่กองบรรณาธิการพิจารณารับบทความ และส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาระยะเวลา  1 เดือน

11.  รูปแบบการเขียนข้อมูลเกี่ยวกับผู้เขียน

        - ในต้นฉบับบทความที่ส่งมายังกองบรรณาธิการ ควรระบุชื่อผู้เขียนด้านล่างชื่อบทความ และใส่ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เขียนในเชิงอรรถท้ายหน้า

       - กรุณาเรียบเรียงข้อมูลเกี่ยวกับผู้เขียนบทความตามรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งต่อไปนี้ การให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เขียนที่ครบถ้วนจะเป็นประโยชน์ในการอ้างอิงและหากผู้อ่านต้องการติดต่อผู้เขียนเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกรณีที่มีผู้เขียนมากกว่า 1 คน สามารถระบุเฉพาะอีเมล์ของผู้เขียนหลัก หรือผู้ที่ผู้อ่านสามารถติดต่อได้เพียงท่านเดียวก็ได้

     - ในกรณีเป็นบทความภาษาไทย ให้ใส่ข้อมูลผู้เขียนทำเป็น 2 ภาษา ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

12 การเขียนคำอธิบายภาพประกอบและตาราง (Captions)

- ตาราง แผนภูมิ รูปภาพ แผนที่ กราฟ หรือการนำเสนอข้อมูลด้วยภาพในรูปแบบอื่นๆ ต้องมีคำอธิบายประกอบ โดยระบุลำดับภาพเป็นตัวเลข ตามด้วยคำอธิบายที่พิมพ์ตัวหนา และวางคำอธิบาย (caption) ไว้เหนือภาพ ชิดแนวพิมพ์ด้านซ้าย

- ระบุที่มาของข้อมูลด้านล่างภาพ โดยใช้ว่า ที่มา: (อ้างอิงแหล่งข้อมูลตามหลักการอ้างอิง)

- ผู้เขียนควรตรวจสอบให้แน่ใจว่า ตาราง แผนภูมิ กราฟ มีเนื้อหาครบถ้วนและถูกต้อง หากเป็นแผนภูมิที่ผู้เขียนสร้างขึ้นเอง ควรจัดกลุ่มรูปร่างหรือวัตถุ (group) หรือแปลงแผนภูมิเป็นไฟล์ภาพ (.jpeg หรือ .tif) เพื่อให้มีเนื้อหาสมบูรณ์ ไม่มีส่วนใดขาดหายหรือเปลี่ยนแปลงเมื่อมีการบรรณาธิกรณ์ต้นฉบับหรือตีพิมพ์

- ภาพต้องมีความละเอียดสูง (300 dpi ขึ้นไป) และควรเป็นไฟล์ .jpeg หรือ .tif เพื่อให้สามารถเห็นได้ชัดเจนเมื่อตีพิมพ์