การออกแบบผลิตภัณฑ์ส่งเสริมพฤฒพลังผู้สูงอายุชมรม เต้า เต๋อ ซิ่น ซี เพื่อสร้างเสริมรายได้จากทุนชุมชน แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความการวิจัยเชิงสร้างสรรค์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สามารถบูรณาการความรู้ทางนิเทศศาสตร์ไปใช้ในการบริการวิชาการในการออกแบบผลิตภัณฑ์ส่งเสริมพฤฒพลังชมรมผู้สูงอายุ เต้า เต๋อ ซิ่น ซี เพื่อสร้างเสริมรายได้จากทุนชุมชน โดยศึกษาและรวบรวมข้อมูลทุนชุมชนและภูมิปัญญาที่สามารถนํามาสร้างสรรค์และเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ชุมชน จากฐานวิถีความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุ (2) ค้นหาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมากทุนชุมชนที่สามารถนำสู่การประยุกต์ใช้พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาชุมชน พัฒนาพื้นที่ เพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมศักยภาพชุมชนท้องถิ่น อันนำไปสู่การสร้างความมั่นคงของรากฐานสังคม และ (3) เพื่อสร้างการเรียนรู้ การทำงานร่วมกัน พัฒนาความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยสยาม ชุมชน และประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน และส่งเสริมการพึ่งตนเองจากการพัฒนาชุมชน และสร้างรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชมรมผู้สูงอายุ เต้า เต๋อ ซิ่น ซี อีกทั้งการศึกษาถึงกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อทำการขยายโอกาสทางการขายและการตลาด
ผู้วิจัยพบว่าการปักสไบมอญแล้วยังได้มีแนวทางในการพัฒนาต่อยอดความรู้ในการปักลายของสไบมอญ นำไปใช้ในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ดังจะเห็นได้จากจำนวนกลุ่มผู้ประกอบการมีการรวมตัวกันจำนวนมาก โดยผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นสำหรับการวิจัยเชิงสร้างสรรค์คือ กระเป๋ารามัญสยาม ซึ่งสื่อให้เห็นถึงผลิตภัณฑ์ที่เกิดมาจากทุนชุมชน และสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ได้ มีมาตรฐาน มีเอกลักษณ์โดดเด่นเน้นเรื่องราว วิถีการดำเนินชีวิต ซึ่งจะส่งเสริม พฤฒพลังผู้สูงอายุชมรม เต้า เต๋อ ซิ่น ซี ให้แข็งแรงงมากขึ้น นำรายได้ให้กับผู้สูงอายุมากยิ่งขึ้น โดยผลการประเมินความพึงพอใจผลลัพธ์ผลิตภัณฑ์กระเป๋า “รามัญ-สยาม” เฉลี่ยคือพอใจมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.26) พบว่าระดับความพึงพอใจประเด็นความเหมาะสมด้านรูปแบบ/รูปทรงระดับพอใจมากที่สุด คะแนนเฉลี่ย 4.56 รองลงมาประเด็น ความเหมาะสมด้านประโยชน์ใช้สอยระดับพอใจมากที่สุด คะแนนเฉลี่ย 4.44 และลำดับที่ 3 ประเด็นความเหมาะสมด้านลวดลาย/สี ระดับพอใจมากที่สุด คะแนนเฉลี่ย 4.32 ตามลำดับ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ภาษาไทย
จิรันดร วิกสูงเนิน. (2553). ความพึงพอใจที่มีต่อการจัดสวัสดิการสังคมแก่ผู้สูงอายุขององค์การบริหาร ส่วนตำบล ในเขตอำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์. สาขาวิชาการจัดการโครงการและการประเมินโครงการ. มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ธวัช ราษฎร์โยธา. (2565). การออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อการท่องเที่ยวชุมชน OTOP นวัตวิถี. วารสารศิลปศาสตร์ (วังนางเลิ้ง) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2565)
พรสนอง วงศ์สิงห์ทอง. (2545) วิธีวิทยาการวิจัยการออกแบบผลิตภัณฑ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุธาวัลย์ ธรรมสังวาลย์, ประกิจ อาษา และณัฐวุฒิ สิงห์หนองสวง. (2566) การออกแบบผลิตภัณฑ์จากอัตลักษณ์ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์มอญเพื่อเสริมรายได้ผู้สูงอายุชมรมเต้าเต๋อซิ่นซี: โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดฯ. วารสารนิเทศสยามปริทัศน์. 2 (22)
เอกรินทร์ พึ่งประชา. (2545). พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน พื้นที่ที่ถูกต่อรองบนความขัดแย้ง กรณีศึกษาศูนย์ศิลปวัฒนธรรมมอญบางกระดี่. ภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร. นครปฐม.
ภาษาอังกฤษ
Fuller, G.W. (1994). New Product Development from Concept to Marketplace. CRC Press, Inc. USA : Boca Raton, Florida
ระบบออนไลน์
กรมการจัดหางาน. (2567). ส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ. เข้าถึงได้จาก www.doe.go.th/prd/vgnew/custom/param/site/132/cat/40/sub/0/pull/detail/view/detail/object_id/455#
สำนักเขตบางขุนเทียน. (2567) เขตบางขุนเทียน. เข้าถึงได้จาก https://webportal.bangkok.go.th/bangkhunthian/index
Teacher Nu. (2567) หลักการออกแบบผลิตภัณฑ์. เข้าถึงได้จาก https://www.teachernu.com/2018/12/20/15/00/28/35/