บทบาทของสื่อพื้นบ้านใน “รายการจำอวดหน้าจอ” กับการส่งเสริมวัฒนธรรมไทยของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับรายการ เพื่อศึกษาการรับรู้และพึงพอใจการส่งเสริมวัฒนธรรมไทยเกี่ยวสื่อพื้นบ้าน เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์จากการส่งเสริมวัฒนธรรมไทยเกี่ยวกับสื่อพื้นบ้าน และเพื่อศึกษาบทบาทรายการจำอวดหน้าจอในการส่งเสริมวัฒนธรรมไทยของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล ระดับปริญญาตรี จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ แจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วย การทดสอบความแตกต่างระหว่างประชากรสองกลุ่ม (t test) วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (one-way ANOVA) ค่าไคสแควร์ (chi-square) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของ (Pearson’s product moment correlation coefficient)
ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ส่วนใหญ่ศึกษาอยู่ในกลุ่มคณะทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ส่วนใหญ่กำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 2 และมีภูมิลำเนาในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลเป็นส่วนใหญ่
พฤติกรรมการเปิดรับรายการจำอวดหน้าจอ พบว่า ส่วนใหญ่เปิดรับชมรายการจำอวดหน้าจอผ่านทางโทรทัศน์ช่อง 1 เวิร์คพ้อยท์ ตามเวลาออกอากาศ (อาทิตย์) ความถี่ในการเปิดรับชมรายการส่วนใหญ่ไม่ได้ชมทุกเดือนนาน ๆ ดูที และไม่ค่อยรับชมรายการย้อนหลัง ช่วงที่กลุ่มตัวอย่างชื่นชอบมากที่สุดคือ ช่วงฉ่อยเดอะซีรี่ส์ ส่วนลักษณะการเปิดรับชมรายการจะรับชมเฉพาะบางช่วงที่สนใจ มีการเปิดรับชมรายการเพื่อความบันเทิงเป็นส่วนใหญ่ และเปิดรับชมรายการจำอวดหน้าจอพร้อมกับสมาชิกในครอบครัว
การรับรู้และความพึงพอใจต่อเนื้อหาจากรายการจำอวดหน้าจอในด้านการส่งเสริมวัฒนธรรมไทยเกี่ยวสื่อพื้นบ้าน อยู่ในระดับมาก โดยมีรับรู้และพึงพอใจต่อการนำเสนอสื่อพื้นบ้านในรายการที่มีความสนุก มากที่สุด รองลงมาคือรับรู้และพึงพอใจต่อการนำเสนอเอกลักษณ์ความเป็นคนไทยในด้านรักความสนุกสนาน และรับรู้และพึงพอใจต่อเนื้อหาของรายการที่ส่งเสริมวัฒนธรรมด้านขนบธรรมเนียมและประเพณีไทย ตามลำดับ ส่วนการใช้ประโยชน์จากเนื้อหาความรู้ที่ได้รับจากรายการจำอวดหน้าจอในด้านการส่งเสริมวัฒนธรรมไทยเกี่ยวสื่อพื้นบ้าน อยู่ในระดับมาก การทำให้เกิดความตระหนักถึงการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย มากที่สุด รองลงมา คือ ทำให้เกิดความสนใจวัฒนธรรมไทยมากขึ้น และสามารถใช้คลายเหงา ตามลำดับ
ทั้งนี้ การรับรู้และใช้ประโยชน์จากเนื้อหารายการจำอวดหน้าจอแสดงให้เห็นว่ากลุ่มตัวอย่างสามารถรับรู้บทบาทหน้าที่ของรายการจำอวดหน้าจอทั้งในฐานะสื่อมวลชน และฐานะสื่อพื้นบ้านได้เป็นอย่างดี
Article Details
References
ณรงค์ สมพงษ์. (2543). สื่อมวลชนเพื่องานส่งเสริม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วรวุทธ สุวรรณฤทธิ์ และคณะ. (2549). วิถีไทย (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
สมควร กวียะ. (2547). การสื่อสารมวลชน: บทบาทหน้าที่ เสรีภาพ และความรับผิดชอบ (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: โกสินทร์.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และโครงการสื่อพื้นบ้านเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพชุมชน (สพส.) . (2548). สื่อพื้นบ้านสื่อสารสุข. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. กระทรวงวัฒนธรรม. (2551). สื่อ: บทบาทและความสำคัญต่อการเผยแพร่งานวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์. (2550). สื่อสารมวลชนเบื้องต้น : สื่อมวลชน วัฒนธรรม และสังคม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
West. R., & Turner. L. H. (2010). Introducing Communication Theory (4thed). NY: The McGraw-Hill.
Yamane. T. (1973). Statistics: an introductory analysis (3rded.). NY: Harper & Row.