พลวัตและการสืบสานตำนานแม่นาคพระโขนงในสื่อบันเทิงยุคปัจจุบัน

Main Article Content

สรรัตน์ จิรบวรวิสุทธิ์

บทคัดย่อ

          งานวิจัยเรื่อง “พลวัตและการสืบสานตำนานแม่นาคพระโขนงในสื่อบันเทิงยุคปัจจุบัน” เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่ต้องการศึกษาลักษณะร่วมและแตกต่างของแบบเรื่องแม่นาคพระโขนงสำนวนต่างๆ และวิเคราะห์ให้เห็นถึงปัจจัยและเงื่อนไขบริบททางสังคมและวัฒนธรรมที่มีต่อการผลิตซ้ำและสร้างใหม่ของตำนานแม่นาคพระโขนงภายใต้แนวคิดทฤษฎีทางคติชนวิทยาด้านการแสดงและการสื่อสารความหมาย แนวคิดเรื่องการศึกษาวิเคราะห์แบบเรื่องของนิทาน และแนวคิดเรื่องการศึกษาคติชนเชิงบทบาทหน้าที่โดยใช้การศึกษาเนื้อหาของบทภาพยนตร์ ละครโทรทัศน์ และละครเวที เรื่องแม่นากพระโขนง 3 สำนวน ประกอบการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กลุ่มตัวอย่างนักเขียนบทละครสำนวนดังกล่าว


          จากการศึกษาพบว่าตำนานแม่นาคพระโขนงในสื่อบันเทิงยุคปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นภาพยนตร์ ละครเวที หรือละครโทรทัศน์ ต่างดำเนินตามโครงเรื่องเดียวกัน แต่เลือกใช้กลวิธีการเล่าเรื่องที่ต่างกันออกไป เช่น การกำหนดภูมิหลัง ความเป็นมาของตัวละคร การขยายความ /การเพิ่มเติม การตัดทอน / การละความ และการดัดแปลงรายละเอียดต่างๆเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทที่ใช้ในการนำเสนอ รวมทั้งความทรงจำร่วมของผู้คนในสังคม โดยพลวัตของเรื่องเล่าที่นำมาถ่ายทอดผ่านกระบวนการสื่อสารที่มีลักษณะต่างเวลาและต่างสื่อกันนั้นมีความสัมพันธ์กับบริบททางสังคมวัฒนธรรม 5 ประการ ได้แก่มโนทัศน์เรื่องผีกับความเป็นหญิง ผีกับพระ  ผีกับการแพทย์ ผีกับการเกณฑ์ทหาร และผีกับความเป็นอื่น


          ผู้วิจัยตั้งข้อสังเกตว่าการผลิตซ้ำและสร้างใหม่ของตำนานแม่นาคพระโขนงชี้ให้เห็นถึงความทรงจำร่วมที่สะท้อนความปรารถนาเรียกร้องหาความเป็นธรรมในสังคมไทยที่เป็นปัญหาเรื้อรังตั้งแต่อดีตจนกระทั่งถึงปัจจุบัน.

Article Details

How to Cite
จิรบวรวิสุทธิ์ ส. (2019). พลวัตและการสืบสานตำนานแม่นาคพระโขนงในสื่อบันเทิงยุคปัจจุบัน. นิเทศสยามปริทัศน์, 18(2), 69–96. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/commartsreviewsiamu/article/view/225517
บท
บทความวิจัย

References

ภาษาไทย
กำจร หลุยยะพงศ์ และสมสุข หินวิมาน. (2552). หลอน รัก สับสน ในหนังไทย. กรุงเทพฯ: ศยาม.
ธนากิต. (2539). 50 นิทานไทย. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
บรรจง ปิสัญธนะกูล, สัมภาษณ์ 1 ธันวาคม 2561.
ปรมินท์ จารุวร. (2549). ความขัดแย้งและการประนีประนอมในตำนานปรัมปราไทย. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พาณี ศรีวิภาต (2545). การศึกษาเปรียบเทียบวรรณกรรมเรื่อง “นางนากพระโขนง”. วิทยานิพนธ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วรวรรณ ชัยสกุลสุรินทร์, สัมภาษณ์ 5 ธันวาคม 2561.
วัชราภรณ์ ดิษฐป้าน. (2549).แบบเรื่องนิทานสังข์ทอง: การแพร่กระจายและความหลากหลาย. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิชุดา ปานกลาง. (2539). การวิเคราะห์การถ่ายทอดความหมายเรื่อง “ผี” ในภาพยนตร์ไทยเรื่อง “แม่นาคพระโขนง” พ.ศ. 2521-2532. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิราพร ณ ถลาง, บรรณาธิการ. (2557). ไวยากรณ์ของนิทาน: การศึกษานิทานเชิงโครงสร้าง. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิราพร ณ ถลาง และปรมินท์ จารุวร, บรรณาธิการ. (2560). อิงอดีต สนองปัจจุบัน: คติชนสร้างสรรค์ สังคม ร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิริพร ไฝศิริ. (2544). การสร้างสรรค์ในการผลิตซ้ำภาพยนตร์ไทยจากตํานาน “แม่นาคพระโขนง”. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สายป่าน ปุริวรรณชนะ. (2552). ตำนานประจำถิ่นริมแม่น้ำและชายฝั่งทะเลภาคกลาง: ความสามานฉันท์ใน ความหลากหลาย. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุภา จิตติวสุรัตน์. (2545). การสร้างความหมายทางสังคมและการรับรู้ “ความเป็นจริง” ในภาพยนตร์อิงเรื่องจริง. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อิทธิพล วรานุศุภากุล. (2558). การเล่าเรื่องของ “พี่มากพระโขนง” และสัมพันธบทจาก “แม่นาคพระโขนง” สู่ “พี่มากพระโขนง”. วิทยานิพนธ์วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
เอนก นาวิกมูล. (2549). เปิดตํานานแม่นาคพระโขนง. กรุงเทพฯ: มติชนปากเกร็ด.

ภาษาอังกฤษ
Erll, Astrid. Memory in Culture. Translated by Sara B.Young. London: Palgrave Macmillan, 2011.
Tim Wildschut and Constantine Sedikides. Nostalgia: Content, Triggers, Functions. Journal of Personality and Social Psychology Vol. 91, No. 5 (2006).