พฤติกรรมและการยอมรับของผู้ใช้บริการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบคิวอาร์โค้ด

Main Article Content

รัชนี พรหมพันธุ์ใจ
ยศระวี วายทองคำ
ศศิพรรณ บิลมาโนชญ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมและการยอมรับของผู้ใช้บริการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบ QR Code 2) เปรียบเทียบลักษณะประชากรศาสตร์ของผู้ใช้บริการกับการยอมรับชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบ QR Code การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานโดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ คือ ผู้ใช้บริการที่เคยชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบ QR Code ที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน คัดเลือกด้วยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.852 ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ ผู้ใช้บริการที่เคยชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบ QR Code ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 20 คน ได้แก่ แม่บ้าน พนักงานบริษัท นักศึกษาและเจ้าของกิจการ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสนทนากลุ่ม ตามประเด็นข้อคำถามงานวิจัย และวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว


ผลการวิจัยพบว่า


1.ผู้ใช้บริการมีพฤติกรรมการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบ QR Code ผ่านธนาคารกรุงเทพ มากที่สุด โดยใช้วิธีโอนเงินจากบัญชีและซื้อสินค้าผ่านออนไลน์โดยใช้จ่าย 2,001 – 2,500 ต่อครั้ง เพราะสะดวกในการชำระเงิน ซื้อ-ขาย สินค้าและมีความถี่โดยเฉลี่ยของการใช้มากกว่า 10 ครั้งต่อสัปดาห์ และมีการยอมรับการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ ในรูปแบบ QR Code ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.30) และรายได้อยู่ในระดับมากที่สุดด้านทัศนคติ (M = 4.41) ด้านการไว้วางใจในระบบ (M = 4.34) ด้านการรับรู้ความเสี่ยงในการใช้งาน (M = 4.30) และด้านการรับรู้ความง่ายที่เกิดขึ้นจากการใช้งาน (M = 4.30) ส่วนด้านการรับรู้ผลประโยชน์ ที่เกิดขึ้นจากการใช้งานอยู่ในระดับมาก (M = 4.17)                                          


2.ผู้ใช้บริการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบ QR Code ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือนและช่องทางในการชำระค่าสินค้า/บริการต่างกัน จะมีการยอมรับการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบ QR Code ไม่แตกต่างกัน ส่วนผลจากการสนทนากลุ่มพบว่า ผู้ให้ข้อมูลหลัก มีรูปแบบบริการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบ QR Code โดยโอนเงินจากบัญชีธนาคาร เพื่อใช้ในการซื้อสินค้าและบริการต่าง ๆ ผ่านสื่อออนไลน์ และมีความคิดเห็นตรงกันว่า การชำระเงินผ่าน QR Code สามารถช่วยลดภาระและความยุ่งยากในการชำระเงิน เข้ากับวิถีการดำเนินชีวิต มีความชื่อมั่นในการยืนยันรายการ และเชื่อมั่นเทคโนโลยีในการใช้บริการด้านชำระเงินผ่าน QR Code

Article Details

How to Cite
พรหมพันธุ์ใจ ร. ., วายทองคำ ย. ., & บิลมาโนชญ์ ศ. . (2020). พฤติกรรมและการยอมรับของผู้ใช้บริการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบคิวอาร์โค้ด . นิเทศสยามปริทัศน์, 19(1), 130–143. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/commartsreviewsiamu/article/view/242722
บท
บทความวิจัย

References

ภาษาไทย
กิติมา สุรสนธิ. (2541). ความรูทางการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร.
พรรณทิพา แอดํา. (2549). การยอมรับเทคโนโลยี สารสนเทศของข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน (รายงานการวิจัย). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
เยาวพา ชูประภาวรรณ. (2547). การยอมรับนวัตกรรมใหม่. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์, ศุภร เสรีย์รัตน์, องอาจ ปทะวานิช และปริญ ลักษิตานนท์. (2541). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ธีระฟิลม์ และไซเทกซ์ จำกัด.

ภาษาอังกฤษ
Cronbach, L. J. (1970). Essential of Psychological Testing (3rd ed.). New York: Harper Row. Stufflebeam.
Foster, G. M. (1973). Tradition Societies and Technological Change. New York: Harper and Row Publishers.
Rogers, E. M. (1962). Diffusion of Innovation. New York: Free Press.
Rogers, E. M., & Shoemaker, F. F. (1971). Communication of Innovation. New York: Free Press.

ออนไลน์
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2561). ขั้นตอนในการใช้บริการ QR Code. เข้าถึงได้จาก https://www.bot.or.th