สื่อ สาร สาววาย...ความสัมพันธ์ในแอปพลิเคชันจอยลดา

Main Article Content

ยุทธนา สุวรรณรัตน์

บทคัดย่อ

บทความชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ทางสังคมของแอปพลิเคชันจอยลดาผ่านมุมมองการสื่อสาร โดยใช้แนวคิดเรื่องสื่อคือสารและแนวคิดปฏิสังสรรค์สัญลักษณ์ เก็บข้อมูลโดยใช้การสังเกตและวิเคราะห์ลักษณะของสื่อและสารในแอปพลิเคชันจอยลดา รวมทั้งสัมภาษณ์ผู้ใช้สื่อจอยลดาสองท่าน เพื่อนำมาสู่ข้อสรุปให้เห็นว่าจอยลดาแสดงบทบาททั้งในฐานะสื่อและพื้นที่ทางสังคม โดยสื่อได้กำหนดคุณลักษณะของเนื้อหาที่ถูกสร้างขึ้นมาโดยสาววายแต่อย่างไรก็ตามสาววายมีการต่อรองต่อคุณลักษณะของสื่อเพื่อถ่ายทอดจินตนาการมาสู่เนื้อหาที่ตนต้องการนำเสนอ และพบว่าสาววายแสดงเอกลักษณ์ทางบทบาทเพื่อเป็นการประเมินและติชมตนเอง นอกจากนี้บทความชิ้นนี้ยังเสนอให้ใช้ทฤษฎีเครือข่าย-ผู้กระทำเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผู้กระทำการที่เป็นผู้ใช้สื่อและตัวสื่อ

Article Details

How to Cite
สุวรรณรัตน์ ย. . . (2020). สื่อ สาร สาววาย.ความสัมพันธ์ในแอปพลิเคชันจอยลดา. นิเทศสยามปริทัศน์, 19(1), 160–171. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/commartsreviewsiamu/article/view/242725
บท
บทความวิชาการ

References

ภาษาไทย
กฤษณ์ ทองเลิศ. (2546). การผสานรูปแบบ การสื่อความหมายและจินตสาระของผู้รับสารเป้าหมายที่มีต่องานภาพถ่ายกับลายลักษณ์อักษรในงานโฆษณาทางสื่อสิ่งพิมพ์. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขานิเทศศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จันทนี เจริญศรี. (2560). สารของสื่อพิพิธภัณฑ์: ออร่าของข้าวของ. แสง สิ่งของและการมองเห็น ภาพถ่าย สิ่งของจากภาคสนามและการทำความเข้าใจคนอื่น. คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ณิชชารีย์ เลิศวิชญ์. (2560). หัวใจวาย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์บัน.
บุณยนุช นาคะ.(2560). แฟนคลับเกาหลี อัตลักษณ์เชิงวัตถุและชุมชนแฟนคลับ. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาการวิจัยทางสังคม คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิพงษ์. (2560). Symbolic Interactionism ทฤษฎีการปฏิสังสรรค์สัญลักษณ์ [เอกสารประกอบการสอน].กรุงเทพมหานคร.
ยุทธนา สุวรรณรัตน์. (2559). การข้ามผ่านทางการสื่อสารของบทพระราชนิพนธ์เรื่องไกลบ้าน. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิเทศศาสตร์, มหาวิทยาลัยสยาม.
ศิริชัย ศิริกายะ. (2557). แบบจำลองการสื่อสารในยุคดิจิทัล. วารสารนิเทศสยามปริทัศน์. 13(15), 8-13.

ภาษาอังกฤษ
Jenkins, H. (2006). Convergence culture: where old and new media collide. New York: New York University Press.
Jenkins, H. (1992). Television Fans & Participatory Culture. New York: Routledge.
McLuhan, M. (1964). Understanding Media: The Extensions of Man. New York: McGraw-Hill.

ออนไลน์
ชายชัญ ชัยสุขโกศล. (2551, 8 กันยายน). เทคโนโลยีกับสังคม: ข้อเสนอกรอบคิดข้ามสาขาวิชาและบททดลองวิเคราะห์ กรณีจีเอ็มโอ ประเทศไทย. [เว็บล็อก]. เข้าถึงได้จาก https://chaisuk.files.wordpress.com/2008/09/tech-society-gmos-jan08.pdf
นราธร สายเส็ง. (2560). ธรรมชาติมนุษย์กับมุมมองเชิงพื้นที่. Veridian E-Journal, 10(1), 635-646. เข้าถึงได้จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/issue/view/7086
Fayossy. (2560). ทำความรู้จักกับ “จอยลดา” แอปฯ อ่านนิยายแชทรูปแบบใหม่ ที่มาแรงสุด ๆ ในตอนนี้. เข้าถึงได้จาก: https://www.marketingoops.com/digital-life/apps-joylada/
Issaree Chulakasem. (2561). หมู Ookbee กับเบื้องหลังแอปนิยายแชท 'จอยลดา' ที่มียอดคลิก 1,000 ล้านครั้งต่อวัน. เข้าถึงได้จาก https://techsauce.co/tech-and-biz/exclusive-interview-application-joylada-with-ookbee/