การใช้สื่อสังคมออนไลน์ในกลุ่มผู้สูงอายุเพื่อส่งเสริมการออกกำลังกาย

Main Article Content

วโรชา สุทธิรักษ์

บทคัดย่อ

ในปี 2564 ประเทศไทยจะเข้าสู่ “สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์” (Complete aged society) เมื่อประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป มีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด (มหาวิทยาลัยมหิดล, 2019) ปัญหาสำคัญของผู้สูงอายุ คือเรื่องสุขภาพ ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของร่างกายหลายอย่างที่ส่งผลต่อระบบการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ที่สังเกตได้ชัดเจน เช่น ความอดทน ความว่องไว และความแข็งแรงลดลง ผู้สูงอายุที่ขาดการฟื้นฟูและพัฒนาสุขภาพของตนเอง จะก่อให้เกิดความเจ็บป่วยเรื้อรัง ทำให้สมรรถภาพทางกายลดลงกว่าที่ควรจะเป็นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องกระตุ้นให้มีการออกกำลังกาย เพื่อให้ผู้สูงอายุมีอายุยืนยาวขึ้นอย่างมีคุณภาพ กิจกรรมการออกกำลังกายจะแตกต่างกันไปตามสุขภาพและความสามารถของผู้สูงอายุแต่ละบุคคล รูปแบบการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ มีหลายวิธี เช่น การเดิน หรือวิ่งช้า ๆ กายบริหาร ว่ายน้ำ – เดินในน้ำ ขี่จักรยาน และลีลาศ เป็นต้น


การหาข้อมูลเกี่ยวกับการออกกำลังกายโดยการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในปัจจุบันเป็นช่องทางสำคัญที่ใช้ในการส่งผ่านข้อมูลในหลายด้านโดยเฉพาะความรู้ทางด้านสุขภาพเพื่อเป็นการให้ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง สื่อสังคมออนไลน์ที่ผู้สูงอายุ นิยมใช้ในการแสวงหาข้อมูลอันดับหนึ่ง ได้แก่ ไลน์ แอปพลิเคชัน รองลงมาได้แก่ ยูทูบ และ เฟชบุ๊ก ตามลำดับ การใช้สื่อสังคมออนไลน์มีทั้งด้านบวกและลบ ทางบวกคือได้พัฒนาความสัมพันธ์และหาเพื่อนใหม่ การมีส่วนร่วมและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ ในขณะเดียวกันก็สามารถสร้างผลกระทบทางลบเช่นกัน ได้แก่ การแพร่กระจายของข้อมูลที่ไม่น่าเชื่อถือและเป็นเท็จ เนื่องจากผู้สูงอายุนิยมส่งต่อ (Forward) หรือแบ่งปัน (Share) ข้อมูลข่าวสารสุขภาพซึ่งมีทั้งน่าเชื่อและไม่น่าเชื่อถือ ก่อให้เกิดผลกระทบทางลบได้ ดังนั้นการใช้สื่อสังคมออนไลน์ ผู้สูงอายุจำเป็นต้องมีความรู้และทักษะในการวิเคราะห์ ประเมินข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ที่ได้รับอย่างรู้เท่าทัน ต้องมีเป้าหมายในการใช้และใช้ได้อย่างเหมาะสม ควรมีหน่วยงานที่รับผิดชอบการพัฒนาโปรแกรมในการเพิ่มความรู้และแนะนำการใช้สื่อสังคมออนไลน์ สำหรับผู้สูงอายุทุกคนเพื่อให้สามารถใช้สื่อในการรับรู้ข้อมูลข้อสารที่เป็นประโยชน์ ควรมีหน่วยงานหลักให้การแนะนำผู้ผลิตเนื้อหาและทำคลิปในการออกกำลังกายและการดูแลสุขภาพที่มีความหลากหลาย มีความเหมาะสมและเชื่อถือได้

Article Details

How to Cite
สุทธิรักษ์ ว. . (2020). การใช้สื่อสังคมออนไลน์ในกลุ่มผู้สูงอายุเพื่อส่งเสริมการออกกำลังกาย. นิเทศสยามปริทัศน์, 19(1), 172–184. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/commartsreviewsiamu/article/view/242726
บท
บทความวิชาการ

References

ภาษาไทย
กฤษณาพร ทิพย์กาญจนเรขา และคณะ. (2560). พฤติกรรมการแสวงหาข้อมูลสุขภาพจากสื่อออนไลน์และสื่อสังคมของผู้สูงอายุ ตามระดับการรับรู้ภาวะสุขภาพ. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 11(ฉบับพิเศษ), 33 -42.
เชียง เภาชิต และ พรรณราย เทียมทัน. (2559). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ ผู้สูงอายุในจังหวังนครสวรรค์. วารสารสุทธิปริทัศน์, 30(94), หน้า 112 – 127.
พิชญาวี คณะผล. (2561). พฤติกรรมการใช้และผลการใช้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ของผู้สูงอายุในจังหวัดนนทบุรี (รายงานการวิจัย). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.
มนัสสินี บุญมีศรีสง่า และ มินตรา สดชื่น. (2560). รูปแบบการใช้สื่อโซเซียลมีเดียของผู้สูงอายุในสังคมไทยของผู้สูงอายุในสังคมไทย กรณีศึกษาเขตกรุงเทพมหานคร. รายงานการประชุม การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 9 “ราชมงคลสร้างสรรค์กับนวัตกรรมที่ยั่งยืนสู่ประเทศไทย 4.0. วันที่ 7-9 สิงหาคม 2560 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ (หน้า 1470-1477). นครปฐม: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.
มยุรี ถนอมสุข และคณะ. (2558). การสร้างต้นแบบการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุอำเภอกำแพงแสน (รายงานการวิจัย). นครปฐม: คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.
ศิริพร แซ่ลิ้ม. (2559). พฤติกรรมการใช้ไลน์แอปพลิเคชันของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารมวลชน คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุปราณี หมื่นยา และคณะ. (2558). พฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ: การเสริมสร้างสมรรถนะแห่งตน. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 25(1), 74-81.
สุวิช ถิระโคตร และ วีระพงษ์ พลนิกรกิจ. (2561). พฤติกรรมการใช้และการรู้เท่าทันอินเทอร์เน็ตและทัศนคติการใช้เนื้อหาด้านสุขภาวะบนอินเทอร์เน็ตของผู้สูงอายุ. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 36(1), 72-80.

ออนไลน์
ไทยรัฐฉบับพิมพ์. (2558, 7 ตุลาคม). แชร์มั่วว่อนเน็ต บทเรียนถึงตาย. ไทยรัฐออนไลน์. เข้าถึงได้จาก https://www.thairath.co.th/content/530257
สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล. (2558). สื่อออนไลน์ประโยชน์เยอะ ภัยร้ายแยะ. เข้าถึงได้จาก http:dga.or.th/th/content/890/1904
สื่อมัลติมีเดีย กรมอนามัย. (2562). สร้างเสริมสุขภาวะของผู้สูงอายุด้วยการออกกำลังกาย. เข้าถึงได้จาก http://multimedia.anamai.moph.go.th/help-knowledgs/exercises-for-seniors/
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ. (2562). ผู้สูงวัย ออกกำลังกายอย่างไรให้เหมาะสม. เข้าถึงได้จาก http://www.nsm.or.th/other-service/664-online-science/knowledge-inventory/sci-article/sci-article-science-museum/3715
ETDA คลังความรู้. (2017). รู้ใจ Gen ใช้เน็ตอย่างไร เพื่อขายให้โดนใจ. เข้าถึงได้จาก https://www.etda.or.th/content/internet-use-categorized-by-generation.html
Mindphp.com. (2560). Facebook คืออะไร. เข้าถึงได้จาก mindphp.com/คู่มือ/73-คืออะไร/2388-facebook-คืออะไร.html
Techno intrend. (2019). YouTube คืออะไร. เข้าถึงได้จาก https://www.technointrend.com/what-is-youtube/