การสื่อสารกับการรื้อสร้างอัตลักษณ์ของชุมชนท่าแร่ จังหวัดสกลนคร

Main Article Content

ธันว์เฉลิม ชัยชนะ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาการสื่อสารกับการรื้อสร้างอัตลักษณ์ภายใต้บริบทการท่องเที่ยวของชุมชนท่าแร่ 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการสื่อสารกับการรื้อสร้างอัตลักษณ์ภายใต้บริบทการท่องเที่ยวของชุมชนท่าแร่ 3) เพื่อศึกษาการรับรู้ความหมายเกี่ยวกับการรื้อสร้างอัตลักษณ์ภายใต้บริบทการท่องเที่ยวของชุมชนท่าแร่จากคนในชุมชน และคนนอกชุมชน โดยมีระเบียบวิธีวิจัย คือ การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้เครื่องมือ การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) ทั้งคนในชุมชนและคนนอกชุมชน ร่วมกับการสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participant Observation) กับการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม (Non - Participant Observation) และการวิเคราะห์เอกสารที่เกี่ยวข้อง (Documentary analysis) และใช้แนวคิดและทฤษฎีเรื่องการสื่อสารชุมชน การท่องเที่ยวชุมชน อัตลักษณ์ ชาติพันธุ์ และการผลิตซ้ำทางวัฒนธรรม มาเป็นแนวทางในการวิจัยครั้งนี้


 ผลการวิจัย พบว่า ประวัติศาสตร์มีส่วนสำคัญในการรื้อสร้างอัตลักษณ์ของชุมชนท่าแร่ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการรื้อสร้างอัตลักษณ์มากที่สุด คือ ความมั่นคงของศาสนาคริสต์ที่เป็นแหล่งยึดเหนี่ยวจิตใจ ทำให้คนในชุมชนมีความสามัคคีกัน และสื่อบุคคล มีส่วนสำคัญในการรื้อสร้างอัตลักษณ์ ซึ่งมีกลยุทธ์การสื่อสาร โดยใช้กลยุทธ์ในการเปลี่ยนรูปแบบที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด และสื่อประเพณีแห่ดาวคริสต์มาส เป็นสื่อที่มีอิทธิพลต่อบริบทการท่องเที่ยว คือ เป็นสื่อที่ถูกบรรจุเป็นประเพณีท่องเที่ยวของจังหวัดสกลนคร ประกอบกับทำให้ชุมชนเข้าสู่บริบทการท่องเที่ยว นอกจากนี้ มีการใช้สื่อสังคมออนไลน์ และสิ่งพิมพ์ เพื่อการประชาสัมพันธ์ไปยังคนนอกชุมชน


 นอกจากนี้ การรับรู้ความหมายเกี่ยวกับรื้อสร้างอัตลักษณ์ของชุมชนท่าแร่คนในชุมชนและคนนอกชุมชน พบว่า เหมือนกัน คือ ชุมชนที่เก่าแก่ที่นับถือศาสนาคริสต์มากที่สุดในประเทศไทย ชาวเวียดนามค่อนข้างมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจ และมีสถาปัตยกรรมฝรั่งเศสผสมเวียดนามที่โดดเด่น ที่สำคัญมีประเพณีแห่ดาวคริสต์มาสที่สวยงาม และแห่งเดียวในประเทศไทย แตกต่างกัน คือ มีบางส่วนยังจดจำอัตลักษณ์ในอดีตที่มีการค้าขาย และการบริโภคสุนัข ดังนั้น อัตลักษณ์ชุมชนท่าแร่ จึงได้มีการพลิกกลับไปกลับมาขึ้นอยู่กับผลประโยชน์ที่จะรับแล้วแต่ละกรณี

Article Details

How to Cite
ชัยชนะ ธ. . (2020). การสื่อสารกับการรื้อสร้างอัตลักษณ์ของชุมชนท่าแร่ จังหวัดสกลนคร. นิเทศสยามปริทัศน์, 19(2), 71–91. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/commartsreviewsiamu/article/view/248316
บท
บทความวิจัย

References

ภาษาไทย
กาญจนา แก้วเทพ และสมสุข หินวิมาน. (2560). สายธารแห่งนักคิดและทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองและการ สื่อสารศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อินทนิล.
. (2547). การศึกษาสื่อสารมวลชนด้วยทฤษฎีวิพากษ์. กรุงเทพฯ: Thaicoon.
บุญธรรม อาจหาญ. (2549). การศึกษาธุรกิจเนื้อสุนัข: ชุมชนท่าแร่ จังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะเศรษฐศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พรสิทธิ์ พัฒธนานุรักษ์. (2559). แนวคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับความเป็นชุมชนและการสื่อสารชุมชน ใน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์, เอกสารการสอนชุดวิชาความรู้เบื้องต้นการสื่อสารชุมชน หน่วยที่ 1-5. (เล่ม 1, หน่วยที่ 1). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
พระวิชิต สุขศิริ. (2561). บทบาทผู้นำกับการธำรงอัตลักษณ์ประเพณีแห่ดาวบ้านท่าแร่ ตำบลท่าแร่ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม, มหาวิทยาลัยรังสิต.
พิมลวรรณ พันธ์วุ้น. (2561). การรับรู้เอกลักษณ์ อัตลักษณ์ และสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม มีผลต่อการตระหนักรู้ต่อผลกระทบทางการท่องเที่ยวด้านสังคมและวัฒนธรรมของกลุ่มคนมอญ เกาะเกร็ด ประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์การ กีฬา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมสุข หินวิมาน. (2557). ทฤษฎีสำนักวัฒนธรรมศึกษา ใน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. บัณฑิตวิทยาลัย. สาขาวิชานิเทศศาสตร์, ประมวลสาระชุดวิชาปรัชญานิเทศศาสตร์และทฤษฎีการสื่อสาร หน่วยที่ 6-10. (เล่มที่ 2, หน่วยที่ 6). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สาลินี มานะกิจ. (2548). ความเป็นมาและการเปลี่ยนแปลงของชุมชนคาทอลิกบ้านท่าแร่ จังหวัดสกลนคร พ.ศ. 2427 – 2508. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะอักษรศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุจิตรา เปลี่ยนรุ่ง. (2553). การสื่อสารเพื่อสร้างธำรงรักษาและต่อรองอัตลักษณ์ความเป็นมอญของกลุ่มชาวมอญพลัดถิ่นในประเทศไทยท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรัตน์ วรางค์รัตน์. (2542). ปี ปิติมหาการุญ คริสตศักราช 2000 วิถีแห่งความเชื่อ วิถีแห่งชีวิต ในสถาปัตยกรรมชนชาวคริสต์ที่บ้านท่าแร่สกลนคร. สกลนคร: สกลนครการพิมพ์.

ออนไลน์
เทศบาลตำบลท่าแร่. (2562). ข้อมูลทั่วไปเทศบาลตำบลท่าแร่. เข้าถึงได้จาก http://www.tharaesakon.go.th /link%20marge/Data%20pawat/data%20pawat.html
. (2562). เทศกาลแห่ดาวคริสต์มาส. เข้าถึงได้จาก http://www.tharaesakon.go.th/link%20marge/Christmas/christmas.html
ไทยพีบีเอส. (1 กุมภาพันธ์ 2558). ลักลอบขายเนื้อสุนัขใน ต.ท่าแร่ หลังมี พ.ร.บ.ป้องกันทารุณกรรมสัตว์ [Video file]. เข้าถึงได้จาก https://www.youtube.com/watch?v=GRXQ_2ud16c
ไทยรัฐทีวี. (11 มกราคม 2558). ชาวท่าแร่เปลี่ยนอาชีพ หลังมี พ.ร.บ.คุ้มครองสุนัข [Video file]. เข้าถึงได้จาก https://www.youtube.com/watch?v=SkyuU2ZXnbc
ธนกร วงษ์ปัญญา และกิตติโชติ ถิรผดุงพงศ์. (2560). ท่าแร่สกลนคร หมู่บ้านคนคาทอลิกมากสุดในไทยที่ไม่ได้ มีแค่เรื่องคนกินหมา. เข้าถึงได้จาก https://thestandard.co/news-thailand-sakonnakhon-tha-rae-catholic-community/
ศูนย์ของข้อมูลประเทศไทย. (2563). ตำบลท่าแร่. เข้าถึงได้จาก http://sakonnakhon.kapook.com/เมืองสกลนคร/ท่าแร่