ระดับการรับรู้ข่าวสารและพฤติกรรมการแบ่งปันข่าวสาร บนสื่อออนไลน์เกี่ยวเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ของผู้รับสาร 4 ช่วงวัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่อง “ระดับการรับรู้ข่าวสารและพฤติกรรมการแบ่งปันข่าวสารบนสื่อออนไลน์เกี่ยวเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ของผู้รับสาร 4 ช่วงวัย” มุ่ง
ศึกษา (ระดับการรับรู้ข่าวสารบนสื่อสังคมออนไลน์เกี่ยวเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของกลุ่มผู้รับสาร 4 ช่วงวัย (2)พฤติกรรมการแบ่งปันข่าวสารบนสื่อออนไลน์เกี่ยวเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของกลุ่มผู้รับสาร 4 ช่วงวัยโดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างที่จะศึกษาคือผู้รับสาร4ช่วงวัยรวม400คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวกโดยเลือกมาศึกษา
ผลการศึกษาพบว่าระดับการเท่าทันสื่ิอของผู้รับสาร 4 ช่วงวัย (1) ระดับการเท่าทันข่าวสารอยู่ในระดับมาก ( X= 3.80) (2) ระดับการประเมินสื่ออยู่ในระดับมาก ( X= 3.67) สำหรับเกณฑ์การวิเคราะห์ข่าวสารของผู้รับสาร 4 ช่วงวัย คือ ความน่าเชื่อถือของแหล่งที่มาของข้อมูล แหล่งข่าวและผู้รับสารจะเปรียบเทียบข้อมูลข่าวสารจากหลายสำนักข่าว/หลายช่องทาง นอกจากนี้ผู้รับสารช่วงวัย Y และช่วงวัย Z ยังให้ความสำคัญกับความเคลื่อนไหวบนสื่อสังคมออนไลน์ ได้แก่ จำนวนผู้ติดตามเพจของสำนักข่าว กระแสสังคม เป็นต้น
สำหรับปัจจัยการแบ่งปันข้อมูลข่าวสารของผู้รับสาร 4 ช่วงวัยนั้นทำให้ผู้รับสารคอยติดตามข่าวสารที่มีความใกล้ตัวทั้งทางตรง หรือทางอ้อมมากที่สุด รองลงมาคือการแบ่งปันข่าวสารที่มีผลกระทบกระเทือนต่อชีวิตความเป็นอยู่ และแบ่งปันข่าวสารที่เกี่ยวกับความก้าวหน้าทางวิทยาการตามลำดับ
Article Details
References
นันทิกา หนูสม และวิโรจน์ สุทธิสีมา (2562). ลักษณะของข่าวปลอมในประเทศไทยและระดับความรู้เท่าทันข่าวปลอมบนเฟซบุ๊กของผู้รับสารในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารนิเทศศาสตร์ 37:1.
บรรยงค์ โตจินดา. (2543).การบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ: รวมสาส์น.
ปรมะ สตะเวทิน. (2546). หลักนิเทศศาสตร์. กรุงเทพฯ: รุ่งเรืองสาส์นการพิมพ์
ประกิจ อาษา และสุธาวัลย์ ธรรมสังวาลย์ (2563). หลักการวิเคราะห์ข่าวสารและหลักเกณฑ์การแบ่งปันข่าวสารบนสื่อสังคมออนไลน์ของคนกรุงเทพมหานคร. วารสารนิเทศสยามปริทัศน์ 1 : ประจำปี 2563, 144-159
ประยงค์ มีใจซื่อ. (2542). พฤติกรรมองค์กร (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ฅมหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ภาคภูมิ หรรษา. (2554). การเขียนข่าวเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: อินทนิล, สนพ.
ศิริชัย ศิริกายะ.(2557). แบบจำลองการสื่อสารในยุคดิจิทัล. วารสารนิเทศสยามปริทัศน์ 15: 8-13.
ศูนย์การศึกษาและฝึกอบรมด้านสารสารศาสตร์. (2563). การนำ เสนอข่าว ข่าวลวง และข้อมูลบิดเบือน. กรุงเทฑฯ: สำนักพิมพ์บุ๊คสเคป
สุปัญญา ไชยชาญ. (2543). หลักการตลาด (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : พี.เอ.ลิฟวิ่ง.
ภาษาอังกฤษ
Anthony Adornnato. (2018). Mobile and Social Media Journalism. SAGE Publishing.
Bruce D.Itule and Douglas A.Anderson. (2007) News Writing & Reporting For Today’s Media. McGraw-Hill Higher Education
ระบบออนไลน์
อุษา บิ้กกิ้นส์. (2555). การรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ.วารสารสุทธิปริทัศน์, 26, 147-161. เข้าถึงได้จาก https://www.dpu.ac.th/dpurc/assets/uploads/magazine/
m37aw9rqdkgowcow08.