พฤติกรรม และความคิดเห็นที่มีต่อการใช้งานแอปพลิเคชันฟูดดิลิเวอรี ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ฐานทัศน์ ชมภูพล
เอกสิทธิ์ อวยชัยวัฒน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรม และความคิดเห็นที่มีต่อการใช้งานแอปพลิเคชันฟูดดิลิเวอรีในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร ด้วยวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลออนไลน์ จากกลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 400 คน


ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการสั่งอาหารผ่านทางแอปพลิเคชันฟูดดิลิเวอรีก่อนช่วงสถานการณ์โควิด-19 ส่วนใหญ่ใช้บริการสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง มากที่สุด จำนวน 179 คน คิดเป็นร้อยละ 44.8  ส่วนพฤติกรรมการสั่งอาหารผ่านทางแอปพลิเคชันฟูดดิลิเวอรีหลังช่วงสถานการณ์โควิด-19 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ใช้บริการสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง มากที่สุด จำนวน 203 คน คิดเป็นร้อยละ 50.7 กลุ่มตัวอย่างเลือกสั่งอาหารผ่านทางแอปพลิเคชันฟูดดิลิเวอรีในมื้อกลางวันมากที่สุด จำนวน 237 คน คิดเป็นร้อยละ 59.3 แอปพลิเคชันฟูดดิลิเวอรีที่กลุ่มตัวอย่างรู้จักและใช้งานมากที่สุด คือ Grab Food จำนวน 320 คน คิดเป็นร้อยละ 40.4 โซเชียลมีเดียที่กลุ่มตัวอย่างเข้าถึงโฆษณาแอปพลิเคชันฟูดดิลิเวอรีมากที่สุดคือ เฟซบุ๊ก จำนวน 372 คน คิดเป็นร้อยละ 24.8 และเหตุผลในการสั่งอาหารผ่านทางแอปพลิเคชันฟูดดิลิเวอรี ส่วนใหญ่กลุ่มตัวอย่างให้เหตุผลในเรื่องความสะดวก รวดเร็ว จำนวน 321 คน คิดเป็นร้อยละ 38.5


ภาพรวมของระดับความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการใช้บริการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันฟูดดิลิเวอรี ในช่วงสถานการณ์โควิด-19พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับความคิดเห็น อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 3.81 (เห็นด้วย) โดยกลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อประเด็น “ได้รับการบริการที่น่าพอใจจากพนักงานส่งอาหาร” มากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.29 (เห็นด้วยอย่างยิ่ง) และ “ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ใช้บริการแอปพลิเคชันฟูดดิลิเวอรี เพราะมีกระแสข่าวผ่านสื่อต่าง ๆ” น้อยที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.44 (เห็นด้วย)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ภาษาไทย
ณัฐพัฒน์ ชลวณิช. (2556). พฤติกรรมการใช้และความคิดเห็นที่มีต่อแอพพลิเคชั่น Line ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ดวงฤทัย พงศ์ไพฑูรย์. (2544). การเปิดรับข่าวสารความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับเพศศึกษาของวันรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เทิดรัฐ แววศักดิ์. (2556). การยอมรับนวัตกรรมที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อแอปพลิเคชันสำหรับสมาร์ตโฟนของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นิลาวัณย์ พาณิชย์รุ่งเรือง. (2540). ความน่าเชื่อถือและความพึงพอใจของประชาชนในกรุงเทพมหานครที่มีต่อรายการข่าวภาคค่ำทางโทรทัศน์ทั้ง 5 ช่อง (3, 5, 7, 9, 11). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นพมาศ ธีรเวคิน. (2539). จิตวิทยาสังคมกับชีวิต (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศันสนีย์ นิธิจินดา. (2552). การเปิดรับ ความพึงพอใจ และการใช้ประโยชน์ของผู้ชมรายการ คริส ดีลิเวอรี่ ทางสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศรีสมบูรณ์ แย้มกมล. (2538). ความคิดเห็นของข้าราชการต่อศักยภาพในการบริหารงานของสภาตำบลภายใต้พระราชบัญญัติสภาตำบลพ.ศ.2537. กรณีศึกษาเฉพาะจังหวัดฉะเชิงเทรา. ภาคนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, คณะพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
สิริพร บุญนันทน์. (2549). ความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อการให้บริการของสำนักงานไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดเชียงราย. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, สาขาการจัดการทั่วไป คณะวิทยาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

ภาษาอังกฤษ
Best, J. W. (1977). Research in education. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice-Hall.
McCombs, M. E., & Becker, L. B. (1979). Using Mass Communication Theory. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice-Hall.
Rogers, E. M., & Shoemaker, F. F. (1971). Communication of Innovation: A Cross-cultural Approach. New York: The Free Press.

ระบบออนไลน์
วิทย์ สิทธิเวคิน. (2563). ธุรกิจ Food Delivery เติบโตจริงหรือ?. เข้าถึงได้จาก http://accesstrade.in.th/การเติบโต-food-delivery.
สมประวิณ มันประเสริฐ. (2563). ต่อยอดธุรกิจอาหารของคุณให้สมบูรณ์ ด้วย Food Delivery. เข้าถึงได้จาก https://brandinside.asia/power-up-your-food-business-with-food-delivery/.