ความรู้ความเข้าใจในการสืบค้นงานวิจัยจากฐานข้อมูลออนไลน์ของอาจารย์ บุคลากรและนักศึกษา สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล

Main Article Content

ณัฏฐณิชย์ ศรีมาเสริม

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ความเข้าใจในการสืบค้นงานวิจัยจากฐานข้อมูลออนไลน์ของอาจารย์ บุคลากรและนักศึกษา สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรมี 2 กลุ่ม รวม 238 คน ได้แก่ บุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน ประเภทข้าราชการและพนักงานมหาวิทยาลัย จำนวน 131 คน และ นักศึกษาระดับปริญญาโทและเอก จำนวน 107 คน


ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยความสามารถในการสืบค้นงานวิจัยจากฐานข้อมูลออนไลน์ อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\chi= 3.79, S.D.= .64) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การตระหนักรู้ถึงความต้องการสารสนเทศ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\chi= 3.94, S.D.=065) รองลงมาการใช้และการสื่อสารสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\chi= 3.91,S.D.=.62) และการค้นหาสารสนเทศและการประเมินสารสนเทศ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก( gif.latex?\chi= 3.83, S.D.=.58) ส่วนการประมวลผลสารสนเทศ มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\chi= 3.29, S.D.=.99) ตามลำดับ ส่วนความสามารถในการใช้โปรแกรมค้นหาจากการเรียนรู้โดยวิธีการสืบค้น พบว่า ส่วนใหญ่เรียนรู้ด้วยตนเองจากประสบการณ์ใช้งานจริง บางส่วนศึกษาจากหนังสือและเรียนรู้ด้วยตนเองจากประสบการณ์ใช้งานจริง ศึกษาจากหนังสือเกี่ยวกับการสืบค้นสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ตและเคยใช้รูปแบบการสืบค้นของโปรแกรมค้นหา ตามลำดับส่วนการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับ ความรู้ความเข้าใจในการสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์ พบว่า สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ (Y¢)นักวิเคราะห์นโยบายและแผน (ผู้ชำนาญการพิเศษ)


Y¢= .761 + 0.048 (การประมวลผลสารสนเทศ) + 1.014 (การตระหนักรู้ถึงความต้องการสารสนเทศ) + 1.420 (ภาพรวมความสามารถในการสืบค้นฐานข้อมูล)


นั่นคือ ถ้าตัวแปรการประมวลผลสารสนเทศเพิ่มขึ้น 1 คะแนน จะทำให้ความรู้ความเข้าใจในการสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์ เพิ่มขึ้น 0.048 เมื่อตัวแปรการตระหนักรู้ถึงความต้องการสารสนเทศ และภาพรวมความสามารถในการสืบค้นฐานข้อมูลเข้ามาในสมการพยากรณ์ อธิบายได้ว่าตัวแปรที่พยากรณ์อธิบายความรู้ความเข้าใจในการสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์ได้ร้อยละ 43.3


 

Article Details

How to Cite
ศรีมาเสริม ณ. . (2022). ความรู้ความเข้าใจในการสืบค้นงานวิจัยจากฐานข้อมูลออนไลน์ของอาจารย์ บุคลากรและนักศึกษา สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล. นิเทศสยามปริทัศน์, 21(2), 159–178. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/commartsreviewsiamu/article/view/262375
บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2554). การวิเคราะห์สถิติขั้นสูงด้วย SPSS for Windows (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: ธรรมสาร.

กฤตพล จั่นเที่ยง. (2556). การประยุกต์ไอทิลเพื่อใช้ในการรับแจ้งปัญหาระบบเครือข่ายของ บุคลากรภายในโรงเรียนอนุบาล. ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี.

นงนภัส คู่วรัญญ เที่ยงกมล. (2551). การวิจัยเชิงบูรณาการแบบองค์รวม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิลุบล ทองชัย. (2557). ศึกษาเพื่อหาแนวทางส่งเสริมการใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ที่ให้บริการผ่าน สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

รุ่งรวี ลาภมูล และนิลุบล ทองชัย. (2556). การใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ที่ให้บริการในสำนักวิทยบริการ และเทคโนโลยีสารสนเทศ (รายงานการวิจัย). สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

สิน พันธุ์พินิจ. (2553). เทคนิคการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: วิทยพัฒน์.

สำนักวิจัยและพัฒนาการศึกษา. (2562). ทิศทางและโจทย์วิจัยของการศึกษาไทยเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก. กรุงเทพมหานคร: 21 เซ็นจูรี่

สำนักการจัดการศึกษาออนไลน์. (2564). การจัดระบบอีเลิร์นนิงในระดับอุดมศึกษา ประจำปี 2564. สำนักการจัดการศึกษาออนไลน์, มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

Grewal, A., & Kataria, H. (2018). Ira Dhawan2 Literature search for research planning and identification of research problem. Punjab, India.

Cronin, P., Ryan, F., & Coughlan, M.J. (2008). Undertaking a literature review: a step-by-step approach. British journal of nursing, 17(1), 38-43.

Shah, J., Pawaskar, A., Kumar, S., & Kshirsagar, N. (2013). Outcomes research resources in India: Current status, need and way forward. Springer plus 2, 518 (2013). https://doi.org/10.1186/2193-1801-2-518

กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. เช้าถึงได้จาก http://www.slideshare.net/boonlert/ict-moe-master-plan-?from_action=save&from=fblanding/

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. (2564). ความรู้เกี่ยวกับอาเซียน. เข้าถึงได้จาก http://www.thai- aec.com/%

มหาวิทยาลัยรามคำแหง. (2564). การเรียนรู้โดยสื่ออินเตอร์เน็ต. เข้าถึงได้จาก http://www.ram.edu/elearning/what_e_learning.php

สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล, มหาวิทยาลัยมหิดล. (2564). ประวัติความเป็นมา. เข้าถึงได้จาก https://mb.mahidol.ac.th/th/history/

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2564). แนวทางการปฏิรูปการศึกษาระดับอุดมศึกษา. เข้าถึงได้จาก http://www.mua.go.th/university.xls