ภูมิทัศน์การอภิบาลข้อมูลส่วนบุคคลในสื่อสังคมออนไลน์ในสังคมไทย

Main Article Content

อรธนัท เกียรติศักดิ์สาคร
พนม คลี่ฉายา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายถึงภูมิทัศน์การอภิบาลข้อมูลส่วนบุคคลในสื่อสังคมออนไลน์ โดยใช้กรอบแนวคิดในการกำกับดูแลอินเทอร์เน็ตของ Lessig (2006) ที่กล่าวถึงกลไก 4 ด้าน คือ รหัสเทคโนโลยี ตลาด กฎหมายและบรรทัดฐานสังคม เพื่อสำรวจถึงบทบาทหน้าที่ของภาคส่วนต่างๆที่เป็นผู้ใช้กลไกเหล่านี้ คือ ภาคเทคโนโลยีสื่อ ภาคตลาด ภาครัฐ และภาคประชาสังคมและประชาชน โดยใช้เครื่องมือในการวิจัยคือ การวิเคราะห์เอกสารที่เกี่ยวข้องในสายเทคโนโลยีสารสนเทศ กฎหมาย สื่อออนไลน์ การสื่อสารการตลาดออนไลน์ นํามาวิเคราะห์อ้างอิงรวมกับเอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้อง อาทิ นโยบายส่วนบุคคลหรือนโยบายการใช้ข้อมูลของสื่อสังคมออนไลน์และบริษัทการตลาดต่าง ๆ


ผลการวิจัยพบว่า ช่วงเวลามากกว่า 2 ทศวรรษของการพัฒนาการอภิบาลข้อมูลส่วนบุคคลในสื่อสังคมออนไลน์ที่มีพลวัตการเปลี่ยนแปลง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 - 2566 ของภาคส่วนต่าง ๆ แบ่งได้เป็น 3 ยุค คือ 1. การอภิบาลข้อมูลในฐานะสื่อสังคม (Social Media) (ปี พ.ศ. 2543-2549) ในช่วงแรกนี้ ภาคเทคโนโลยีสื่อสังคมออนไลน์จะเกี่ยวพันกับภาคประชาชนในฐานะของช่องทางการสื่อสารเป็นหลัก ข้อมูลของผู้ใช้มีการจัดเก็บ แต่ยังไม่ได้ถูกนำไปให้กับบุคคลที่สาม ช่วงเวลาที่สื่อสังคมออนไลน์สามารถพัฒนาเทคโนโลยีของตนในการเก็บและใช้ข้อมูลได้อย่างเต็มที่โดยไม่มีการกำกับจากภาครัฐ 2. การอภิบาลข้อมูลในฐานะแพลตฟอร์มทางการตลาด (Social commerce platform) (ปี พ.ศ. 2550-2560) สื่อสังคมออนไลน์ได้พัฒนาเป็นแพลตฟอร์มในการรับลงโฆษณา ที่มีรูปแบบธุรกิจที่นำเอาข้อมูลผู้ใช้ที่รวบรวมไว้มาสร้างรายได้และประสบความสำเร็จอย่างสูง การอภิบาลข้อมูลเป็นการกำกับตนเองตามแนวทางของอุตสาหกรรมโฆษณา 3. การอภิบาลข้อมูลในฐานะเป็นสถาบันทางสังคม (Social Institution)  (ปี พ.ศ. 2561-2566) สื่อสังคมออนไลน์ มีความชัดเจนในความเป็นองค์กรธุรกิจที่จัดตั้งขึ้น มีอิทธิพลต่อสังคมเป็นอย่างมาก มีปัญหาการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลจำนวนมาก ภาครัฐจึงได้มีกฎหมายคุ้มครองข้อมูลอย่าง GDPR ของสหภาพยุโรป ที่ส่งผลต่อการออกกฎหมาย PDPA ของไทย

Article Details

How to Cite
เกียรติศักดิ์สาคร อ. ., & คลี่ฉายา พ. . (2024). ภูมิทัศน์การอภิบาลข้อมูลส่วนบุคคลในสื่อสังคมออนไลน์ในสังคมไทย. นิเทศสยามปริทัศน์, 23(2), 26–43. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/commartsreviewsiamu/article/view/277098
บท
บทความวิจัย

References

ภาษาไทย

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2562). กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล. https://www.mdes.go.th/mission/detail/2319-กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล.

เคอร์บาลิจา, โจวาน. (2558). เปิดประตูสู่การอภิบาลอินเทอร์เน็ต. พิภพ อุดมอิทธิพงศ์, แปล. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิเพื่ออินเทอร์เน็ตและวัฒนธรรมพลเมือง. https://apps.bangkok.go.th/info_gidsedbkk/bmainfo/data_DDS/document/Introduction-to-Internet-Governance.pdf

นคร เสรีรักษ์.(2557). ความเป็นส่วนตัว: ความคิด ความรู้ ความจริงและพัฒนาการเรื่องการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในประเทศไทย. กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์ฟ้าฮ่าม.

พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562. (24 พฤษภาคม 2562) ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนที่ 69 หน้า 52-95.

พิรงรอง รามสูต. (2556). การกำกับดูแลเนื้อหาอินเทอร์เน็ต. กรุงเทพฯ. ศูนย์ศึกษานโยบายสื่อ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิรงรอง รามสูต. (2561). “สิทธิส่วนบุคคลในโลกออนไลน์” ไม่ใช่เรื่องไกลตัว https://www.chula.ac.th/cuinside/7484/

ราชบัณฑิตยสภา.(2556). อภิบาล. http://www.royin.go.th/?knowledges=อภิบาล-๑๓-มกราคม-๒๕๕๖

โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2561). วิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ. กรุงเทพฯ. ซีเอ็ดยูเคชั่น.

Ad addict. (2023). สรุป 12 สถิติ Thailand Digital Spending 2023 ข้อมูลที่น่าสนใจในโลกแห่งการตลาดดิจิทัล จากสมาคมโฆษณาดิจิทัลแห่งประเทศไทย. https://adaddictth.com/News/thailand-digital-spending-2023.

Dama. (n.d.). สมาคมดาต้า เมเนจเม้นต์ (ประเทศไทย-กรุงเทพ) – DATA MANAGEMENT ASSOCIATION (THAILAND-BANGKOK). https://damathailand.org/.

DAAT. (2020). Digital Advertising Spend Mid-Year 2020. https://static-daat-prod.s3.amazonaws.com/200908-DAAT-Mid-Year-2020-Press-Report.pdf

Tok. Wiki. (n.d.). เฟสบุ๊ค เนื้อหาและประวัติศาสตร์. https://hmong.in.th/wiki/Facebook.

ภาษาอังกฤษ

Applied Social Media Lab at Harvard University. (n.d.). Applied Social Media Lab at Harvard University. https://asml.cyber.harvard.edu/.

Bennett, Colin and Raab, Charles D. (2018) Revisiting 'The Governance of Privacy': Contemporary Policy Instruments in Global Perspective. https://ssrn.com/abstract=2972086 or http://dx.doi.org/10.2139/ssrn.2972086

Bickert, Monika. (2020). Charting a way forward online content regulation. https://about.fb.com/wp-content/uploads/2020/02/Charting-A-Way-Forward_Online-Content-Regulation-White-Paper-1.pdf.

Cloud Privacy Checking. (2018). A brief history of data protection: how did it all start? https://cloudprivacycheck.eu/latest-news/article/a-brief-history-of-data-protection-how-did-it-all-start/.

Creech, Kenneth. (2000). Electronic media law and regulation. USA. Focal Press. P241-267.

Dahl, Stephan. (2015). Social media marketing: Theories and applications. London. Sage Publications.

Ehly, Justin. (2010). Social Media Business Models. https://www.slideshare.net/jcancu/social-media-business-models.

Epic.org. (2018). Facebook privacy. https://epic.org/privacy/facebook/.

Ess, Charles. (2014). Digital media ethics. UK. Polity Press.

Fiegerman, S. (2018, December 19). Facebook could be in hot water with the FTC — again. CNN; CNN. https://edition.cnn.com/2018/12/19/tech/facebook-ftc-consent-decree/index.html.

Fuchs, Christian. (2017). Social Media: a critical introduction. USA. Sage. P156-200

GDPR EU. (2018). Timeline. https://www.gdpreu.org/the-regulation/timeline/.

Genelle I. Belmas, Jason M. Shepard, Wayne E. (2019). Overbeck. Major principles of Media law, 2019 edition. USA. Cengage. P187-207.

Ginosar, Avshalom. (2018). Governance, Public interest, and Public Film Funding: An Integrative Theoretical Framework. https://link.springer.com/content/pdf/10.1007%2F978-3-319-71716-6_6.pdf.

Google. Personalized and non-personalized ads - AdSense Help. (n.d.). Support.google.com. https://support.google.com/adsense/answer/9007336?hl=en.

Home. (n.d.). DAMA. https://dama.org/.

JSW - Sustainability-Framework-Measuring-Success- Business Ethics. (n.d.). JSW. https://www.jsw.in/groups/sustainability-framework-measuring-success-business-ethics.

Kuner, Christopher. (2003). European data Privacy Law and Online Business. New York. Oxford University Press.

Latham, Robert. (2006). View of knowledge and governance in the digital age: The politics of monitoring planetary life. https://firstmonday.org/ojs/index.php/fm/article/view/1398/1316.

Lessig, Lawrence. (2006). Code: Version 2.0. https://cyber.harvard.edu/ptc2010/sites/ptc2010/images/Lessig_Code_Excerpts.pdf

Martin, Kelly D. Murphy, Patrick E. (2017). The role of data privacy in marketing. DOI 10.1007/s11747-016-0495-4.

Mcstay, Andrew. (2017). Privacy and the media. USA. (P77-80). Sage.

Murwa, Violet, et., al. (2018). Enhancing & disseminating Africa’s scholarly publications the effect of the EU general data protection law on big data: a literature review. https://www.researchgate.net/publication/323244997.

New Hampshire PBS. (2024, May 15). Social Media & Democracy with Lawrence Lessig. YouTube. https://www.youtube.com/watch?v=RZrfVDybVWg.

Packard, Ashley. (2010). Digital media law. UK. Blackwell Publishing.

Patel, N. (2023, October 24). Harvard professor Lawrence Lessig on why AI and social media are causing a free speech crisis for the internet. The Verge. https://www.theverge.com/23929233/lawrence-lessig-free-speech-first-amendment-ai-content-moderation-decoder-interview.

Susan B. Barnes. (2006). A privacy paradox: Social networking in the United States by First Monday, volume 11, number 9, http://firstmonday.org/issues/issue11_9/barnes/index.html.

Tech companies need to change. (n.d.). Security Pledge. https://www.securitypledge.com/#pledge.

Techworld. (2018). The most infamous data breaches. https://www.techworld.com/security/uks-most-infamous-data-breaches-3604586/.