การศึกษาและพัฒนาการนำผ้าฝ้ายทอมือ มาประยุกต์ใช้ใน การสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ กรณีศึกษา:กลุ่มหมู่บ้าน ผ้าฝ้ายทอมือบ้านดอนหลวง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน1

ผู้แต่ง

  • กิตติพงษ์ เกียรติวิภาค คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

การออกแบบ / ผ้าฝ้ายทอมือ / ผลิตภัณฑ์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาการน�ำผ้าฝ้ายทอมือ
มาประยุกต์ใช้ในการสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์รวมถึงส่งเสริมงานศิลปหัตถกรรม
ในท้องถิ่นให้มีสินค้ามากขึ้น รายได้เพิ่มขึ้นและได้รูปแบบที่สามารถน�ำไปพัฒนา
และต่อยอดทางความคิด รวมถึงความร่วมมือกันระหว่างชุมชนในการผลิตชิ้นงาน
กรณีศึกษากลุ่มหมู่บ้านผ้าฝ้ายทอมือบ้านดอนหลวง อ�ำเภอป่าซาง จังหวัดล�ำพูน
โดยท�ำการศึกษาและลงพื้นที่ส�ำรวจรูปแบบ การแปรรูปผลิตภัณฑ์จาก
ผ้าฝ้ายทอมือที่ชุมชนผ้าฝ้ายทอมือบ้านดอนหลวงและละแวกใกล้เคียง (จังหวัด
ล�ำพูนและจังหวัดเชียงใหม่)รวมถึงการสัมภาษณ์ความต้องการและลักษณะการพัฒนา
รูปแบบผลิตภัณฑ์จากกลุ่มร้านค้า ผู้ผลิตและผู้จ�ำหน่ายสินค้าจากผ้าฝ้ายทอมือ
บ้านดอนหลวง เพื่อให้ข้อมูลและผลลัพธ์ที่ได้กลับไปต่อยอด พัฒนาให้ตรงกับ
กลุ ่มเป้าหมายและความต้องการของสังคมในปัจจุบัน โดยใช้ทฤษฎีการสร้าง
ภาพลักษณ์ผลิตภัณฑ์(ImagePlanning)และแนวโน้มในการออกแบบเข้ามาช่วย
ในการวิเคราะห์และพัฒนาผลิตภัณฑ์ซึ่งผลงานจากการศึกษาที่ได้ท�ำการออกแบบ
และพัฒนาจ�ำแนกได้เป็น 2 กลุ ่มได้แก ่ การออกแบบและพัฒนาเครื่องนุ ่งห ่ม(เสื้อผ้าส�ำหรับเด็ก)จ�ำนวน 25 รูปแบบ และการออกแบบกระเป๋าสตรีจ�ำนวน 25
รูปแบบ ซึ่งผลงานที่ได้รับการออกแบบ ใช้ขอบเขตการออกแบบคือต้องมีคุณค่าของ
ธรรมชาติหรืองานหัตถกรรม, มีเอกลักษณ์และศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่น, วัสดุ
และกรรมวิธีการผลิตของท้องถิ่น, ผลิตได้จริง ใช้สอยดีเหมาะสมกับวัสดุท้องถิ่น,
ความสวยงามและความน่าสนใจและรูปแบบแปลกใหม่สะดุดตา
ซึ่งผลจากการแจกแบบสอบถามกลุ ่มประชากร เพื่อท�ำการศึกษา
ความคิดเห็นและความพึงพอใจ(4P) ที่มีต่อผลิตภัณฑ์จากการแปรรูปผ้าฝ้ายทอมือ
ที่ได้รับการออกแบบและพัฒนาแล้วจ�ำนวน 350 คน พบว่า ภาพรวมกลุ่มตัวอย่าง
มีทัศนคติเชิงบวกในระดับมากที่สุดต่อผลิตภัณฑ์ ( = 4.27) โดยประเด็นที่
กลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยสูงที่สุดได้แก่ ผลิตภัณฑ์จากผ้าฝ้ายทอมือสามารถต่อยอด
พัฒนารูปแบบและลวดลายในอนาคตได้( = 4.41) รองลงมาอีก 4 อันดับได้แก่
ผลิตภัณฑ์จากผ้าฝ้ายทอมือสะท้อนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบให้มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น
( = 4.37), ผลิตภัณฑ์จากผ้าฝ้ายทอมือมีรูปแบบและการประยุกต์ที่สวยงามและ
เป็นที่ดึงดูดใจ / ผลิตภัณฑ์จากผ้าฝ้ายทอมือเป็นการใช้เทคนิคภูมิปัญญาท้องถิ่น
แบบเดิมมาใช้ในการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ ( = 4.35), ผลิตภัณฑ์จากผ้าฝ้ายทอมือ
สามารถพัฒนาเป็นสินค้าที่เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับชุมชนได้( = 4.34),
ผลิตภัณฑ์จากผ้าฝ้ายทอมือสะท้อนความเป็นเอกลักษณ์และลักษณะเฉพาะของ
ความเป็นท้องถิ่นได้อย่างชัดเจน ( = 4.33)และภาพรวมความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์
ผ้าฝ้ายทอมือที่ได้รับการออกแบบสร้างสรรค์ที่ได้รับการออกแบบสร้างสรรค์ใหม่
ทั้งหมดจากการวิจัยอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 8.23 จากคะแนนเต็ม 10)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-01-02

ฉบับ

บท

บทความวิจัยสร้างสรรค์