การศึกษาความผิดพลาดในสื่อดิจิตอลเพื่อการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ

ผู้แต่ง

  • นิธิพัฒน์ หอยสังข์ทอง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

คำสำคัญ:

ศิลปะ, สื่อดิจิตอล, ความผิดพลาด

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง "การศึกษาความผิดพลาดในสื่อดิจิตอลเพื่อการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ” เป็นการศึกษา ความผิดพลาดที่เกิดจากระบบดิจิตอล และรูปแบบการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะจากความผิดพลาดของสื่อดิจิตอลในรูปแบบต่างๆ ตลอดจนศึกษาที่มาของศิลปะที่เกิดจากความผิดพลาดในสื่อดิจิตอล จากผลงานศิลปะร่วมสมัย เพื่อใช้อ้างอิงในการวิจัย การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะรูปแบบศิลปะแบบปฏิสัมพันธ์ (Interactive Art) โดยใช้สื่อมัลติมีเดีย (Multimedia) ที่ส่งผลต่อการรับรู้ของผู้ชมโดยตรงนี้ ถูกใช้เป็นเครื่องมือวัดในการวิจัย เนื่องจากผู้ชมเป็นตัวแปรที่ทำให้ผลงานศิลปะเกิดการเปลี่ยนแปลง จากความผิดพลาดของการรับส่งสัญญาณ ที่เกิดจากระยะที่แตกต่างกันในการชมผลงานของผู้ชมเอง ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้ทดสอบระยะห่างระหว่างผลงานกับผู้ชม โดยผู้วิจัยจะทำการทดสอบด้วยการแบ่งระยะห่างระหว่างผลงานกับผู้ชมไว้ 10 ระยะ เริ่มตั้งแต่ระยะห่าง 200 ซม. แล้วขยับระยะห่างของผู้ชมให้เข้ามาใกล้ผลงานครั้งละ 20 ซม. จนถึงระยะห่างสุดท้ายที่ 20 ซม.ตามลำดับ จากการทดสอบการวิจัยนี้ ทำให้เกิดการหักเหของคลื่นภาพและคลื่นเสียง ที่สร้างสำนึกให้แก่ผู้ชม และเกิดการตั้งคำถามกับสัญญาณรบกวนที่ปรากฏ ซึ่งเกิดเป็นผลสัมฤทธิ์ตามสมมุติฐานที่ผู้วิจัยได้ตั้งเอาไว้ และสามารถนำองค์ความรู้นี้ไปต่อยอดเพื่อการศึกษาและการสร้างสรรค์ศิลปะต่อไป

References

บุญธรรม ภัทราจารุกุล. 2556. การประมวลผลภาพดิจิตอลเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ:
สำนักพิมพ์ซีเอ็ด.
สมศักดิ์ เตชะเศรษฐธนะ และคณะ. 2529. ทฤษฎีและปฏิบัติโทรทัศน์สีระบบ PAL. กรุงเทพฯ:
ซีเอ็ดยูเคชั่น.
Halter, Ed. 2010. “The Matter of Electronics.” Vague Terrain (accessed January 10, 2014)
Moradi, Iman, Scott, Ant, Gilmore, Joe, Murphy, Christopher. 2009. Glitch: Designing Imperfection. New York: Mark Batty Publisher.
Wanner, Andres. 2013. Generative Art as Experiment. Master’s Thesis, Emily Carr University of Art and Design, Vancouver.
Nick Briz, Evan Meaney, Rosa Menkman, William Robertson, Jon Satrom, Jessica Westbrook. 2010. “GLI.TC/H READER[ROR] 20111”. A PDF of this publication is downloadable at: https://GLI.TC/H/READERROR: Unsorted Books.
Brooks, Rodney Allen. 1991. “Intelligence Without Representation.” Artificial Intelligence Journal vol.47: pp.139-159.
Menkman, Rosa. 2009/2010. Glitch Studies Manifesto. Amsterdam/Cologne.
———. 2010. A Vernacular of File Formats. A Guide to Database Compression Design. Amsterdam: Rosa Menkman.
———. 2011. The Glitch Moment(um). Institute of Network Cultures. Moradi, Iman. 2004. Glitch Aesthetics. The University of Huddersfield.
https://www.organised.info/wp-content/uploads/2016/08/Moradi-Iman-2004-GlitchAesthetics.pdf
https://503244015.eu5.org/noise.html
https://www.il.mahidol.ac.th/e-media/computer/network/net_wan3.htm
https://www.laemtech.ac.th/it/download/3204-2010/Network_chapter4.pdf
https://networkcultures.org/_uploads/NN%234_RosaMenkman.pdf
https://phillipstearns.wordpress.com/glitch-art-resources/
https://weburbanist.com/2013/03/18/image-hacking-40-glitch-art-photos-paintings-videos/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-05-25