กระบวนการสร้างสรรค์ผลงานด้านนาฏยประดิษฐ์ กรณีศึกษารำฉุยฉายเกียรติภูมินเรศวร

ผู้แต่ง

  • ประภาศรี ศรีประดิษฐ์ ภาควิชาศิลปะการแสดง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

นาฏยประดิษฐ์ หมายถึง การคิดออกแบบสร้างสรรค์งานด้านนาฏศิลป์ขึ้นใหม่ ไม่ว่าจะเป็นแนวคิด รูปแบบ ท่าทางและวิธีการแสดง รวมถึงการนำผลงานในอดีตมา ปรับปรุงสร้างสรรค์และพัฒนา ซึ่งอาจประกอบด้วยผู้แสดงคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ รำฉุยฉาย หมายถึง การแสดงประกอบท่าทางการร่ายรำด้วยกิริยาอาการภาคภูมิใจเมื่อได้แต่งตัวใหม่ หรือเมื่อแปลงกายได้งดงามกว่าเดิม ด้วยกิริยากรีดกรายช้า ๆ งดงามตามคำร้องและเสียงปี่ที่เป่าทวนคำร้อง

บทคัดย่อ

รำฉุยฉายเกียรติภูมินเรศวร เป็นผลงานสร้างสรรค์ทางด้านนาฏยศิลป์ ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจากความภาคภูมิใจในเกียรติภูมิของมหาวิทยาลัยนเรศวร ที่มีปณิธานในการสืบสานสังคมให้เป็นไทจาก
อวิชชาด้วยการค้นคว้า แสวงหา สะสมองค์ความรู้ เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความเป็นเลิศทางด้านวิชาการ
มีคุณธรรมจริยธรรม เป็นแบบอย่างที่ดีงามในการดำรงชีวิต และสร้างสรรค์สังคมให้เป็นสุข
โดยผู้สร้างสรรค์ได้นำเรื่องราวดังกล่าว ออกมานำเสนอผ่านผลงานสร้างสรรค์ทางด้านนาฏยประดิษฐ์
ชุด รำฉุยฉายเกียรติภูมินเรศวร ด้วยหลักและวิธีการแสดงรำฉุยฉายที่มีอยู่แต่เดิม อย่างกรีดกรายละเมียดละไมงดงามตามคำร้อง และเสียงปี่ที่เป่าทวนเลียนทำนองและถ้อยคำให้เหมือนคำร้อง ดนตรีบรรเลงรับพร้อมกัน
ในตอนท้าย จากนั้นจึงจบการแสดงด้วยเพลงเร็ว - ลา มาประดิษฐ์สร้างสรรค์ขึ้นใหม่ ด้วยท่ารำทางด้านนาฏศิลป์ไทยซึ่งมีทั้งลักษณะของการตีบทตามความหมายของคำร้อง และการแสดงท่ารำที่ไม่แสดงความหมายของคำร้อง การตั้งซุ้ม อีกทั้งยังให้ความสำคัญกับกระบวนการเคลื่อนที่และการแปรแถว
โดยกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานดังกล่าวประกอบไปด้วย

            ขั้นที่ 1. กระบวนการสร้างแนวคิด

            ขั้นที่ 2. กระบวนการผลิตผลงาน

            จากนั้นจึงทำการฝึกซ้อม แก้ไขปรับปรุงข้อผิดพลาดต่าง ๆ กระทั่งการแสดงมีความสมบูรณ์ สามารถนำออกเผยแพร่ และนำมาใช้เป็นการแสดงประจำของมหาวิทยาลัยนเรศวรสืบต่อมาจนปัจจุบัน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-05-25

ฉบับ

บท

บทความวิจัยสร้างสรรค์