การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมด้วยการออกแบบประสบการณ์

ผู้แต่ง

  • เขมิกา ธีรพงษ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

คำสำคัญ:

การออกแบบประสบการณ์, การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, การท่องเที่ยวชุมชน

บทคัดย่อ

ปัจจุบันประเทศไทยถูกจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมอย่างมากจากนักท่องเที่ยวทั่วโลก รัฐบาลไทยได้ให้ความสำคัญและสนับสนุนการเติบโตของอุสาหกรรมการท่องเที่ยว เป็นอย่างมาก ถึงแม้ว่าการท่องเที่ยวจะสร้างเงินรายได้มหาศาลแต่ก่อให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจ และสังคมของชุมชนท้องถิ่นอย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก เกิดการโยกย้ายถิ่นฐาน เปลี่ยนแปลงอาชีพและการทำมาหากิน ประเพณีและวัฒนธรรมดั้งเดิมแปรเปลี่ยนไปตามพฤติกรรมของของนักท่องเที่ยว จากการที่ผู้ประกอบการที่เข้าสู่พื้นที่ ภาพชุมชนพื้นถิ่นที่เป็นแหล่งวัฒนธรรมเลือนรางและจางหายไป นักวิชาการและนักวิจัยจากหลากหลายสาขาได้ตระหนักถึงปัญหาเหล่านี้ และได้นำเสนอแนวทางการจัดการการท่องเที่ยวในเชิงวัฒนธรรมด้วยกลไกหลายประการเพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน อย่างไรก็ตามงานวิจัยส่วนใหญ่มักมุ่งเน้นศึกษาโดยผ่านมุมมองทางมนุษย์ศาสตร์ สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ สถาปัตยกรรมและการผังเมือง ซึ่งในปัจจุบันยังขาดการบูรณาการนำองค์ความรู้อื่นๆ เข้ามาช่วยพัฒนาแนวทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยเฉพาะงานวิจัยที่นำศาสตร์แห่งการออกแบบ มาประยุกต์ใช้ในการสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยว (Tourist Experience) อันจะเป็นกุญแจสำคัญ ที่นำไปสู่ความสำเร็จในการพัฒนารูปแบบการสื่อสารเรื่องราวทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม

 

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการเชื่อมโยงแนวคิดการท่องเที่ยวชุมชนเชิงวัฒนธรรมกับ การออกแบบประสบการณ์ ซึ่งเป็นการใช้ทฤษฏีและเทคโนโลยีการออกแบบ เพื่อสื่อสารเรื่องราว ของสถานที่และสร้างประสบการณ์ทางวัฒนธรรมให้แก่ผู้เข้าเยี่ยมชม เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ในการใช้ทรัพยากรพื้นถิ่น โดยไม่มุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพหรือการลงทุนที่ใช้ทรัพยากรจำนวนมาก ศาสตร์การออกแบบยังสามารถสร้างการสื่อสารเชื่อมโยงระหว่างชุมชนพื้นถิ่นและนักท่องเที่ยว อีกทั้งผู้เข้าเยี่ยมชมหรือเพิ่มแนวคิดเรื่องการอนุรักษ์ อันจะนำไปสู่การท่องเที่ยวที่ไม่กลืนกินวัฒนธรรมพื้นถิ่น และเป็นแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนต่อไป

References

Brown, J. S., Collins, A., & Duguid, P. (1989). Situated cognition and the culture of learning. Educational researcher, 18(1), 32-42.
Bywater, M. (1993). The market for cultural tourism in Europe. Travel & Tourism Analyst(6), 30-46.
Du Cros, H., & McKercher, B. (2014). Cultural tourism: Routledge.
Fogg, B. J. (1999). Persuasive technologies. Communications of the ACM, 42(5), 27-29.
King, P., & Tester, J. (1999). The landscape of persuasive technologies. Communications of the ACM, 42(5), 31-38.
Laurel, B. (1991). Computer as Theater. Reading: Addison-Wesley Professional.
Leslie, D., & Sigala, M. (2005). International Cultural Tourism: Management, Implications and Cases: Elsevier Butterworth-Heinemann.
McKercher, B. and Du Cros, H., 2002. Cultural tourism: The partnership between tourism and cultural heritage management. Routledge.
McLellan, H. (2000). Experience design. Cyberpsychology and Behavior, 3(1), 59-69.
Oldenburg, R. (1989). The great good place: Café, coffee shops, community centers, beauty parlors, general stores, bars, hangouts, and how they get you through the day: Paragon House Publishers.
Pine, B. J., & Gilmore, J. H. (1999). The experience economy: work is theatre & every business a stage: Harvard Business Press.
Richards, G. (2001). Cultural attractions and European tourism: Cabi.
Richards, G. (2018). Cultural tourism: A review of recent research and trends. Journal of Hospitality and Tourism Management, 36, 12-21.
Seybold, P. B., & Marshak, R. T. (1998). Customers. com: how to create a profitable business strategy for the Internet and beyond: Random House Inc.
UNWTO. (2018). UNWTO tourism highlights. Retrieved from Madrid:
กาญจนา แสงลิ้มสุวรรณ, & แสงลิ้มสุวรรณ, ศ. น. (2555). การท่องเที่ยวเชิงมรดกวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน. วารสารนักบริหาร, 32(4), 139-146.
เขมิกา ธีรพงษ์. (2561). การออกแบบประสบการณ์ในฐานะสื่อการเรียนรู้ใหม่ในสังคมไทย. บทความนำเสนอในงาน "การจัดการศึกษาและงานวิจัยด้านศิลปวัฒนธรรมในศตวรรษที่ 21", โรงแรมมิราเคิลแกรนด์เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-05-25

ฉบับ

บท

บทความทางวิชาการ