การพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอแฟชั่นไลฟ์สไตล์จากทุนวัฒนธรรมพื้นถิ่นจังหวัดน่านเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์

ผู้แต่ง

  • ดร. อรรถพนธ์ พงษ์เลาหพันธุ์
  • รองศาสตราจารย์ ดร. พัดชา อุทิศวรรณกุล หน่วยปฏิบัติการวิจัยแฟชั่นและนฤมิตศิลป์ ภาควิชานฤมิตศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • รองศาสตราจารย์ ดร. ศุภกรณ์ ดิษฐพันธุ์ หน่วยปฏิบัติการวิจัยแฟชั่นและนฤมิตศิลป์ ภาควิชานฤมิตศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • รองศาสตราจารย์ อารยะ ศรีกัลยานบุตร หน่วยปฏิบัติการวิจัยแฟชั่นและนฤมิตศิลป์ ภาควิชานฤมิตศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ตฤศ หริตวร หน่วยปฏิบัติการวิจัยแฟชั่นและนฤมิตศิลป์ ภาควิชานฤมิตศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ศมิสสร สุทธิสังข์ หน่วยปฏิบัติการวิจัยแฟชั่นและนฤมิตศิลป์ ภาควิชานฤมิตศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ดร. ศิวรี อรัญนารถ หน่วยปฏิบัติการวิจัยแฟชั่นและนฤมิตศิลป์ ภาควิชานฤมิตศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ชัชวาลย์ พึ่งพระ หน่วยปฏิบัติการวิจัยแฟชั่นและนฤมิตศิลป์ ภาควิชานฤมิตศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

แฟชั่นไลฟ์สไตล์, การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์, ทุนวัฒนธรรม, จังหวัดน่าน, สิ่งทอ

บทคัดย่อ

            การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (Creative Tourism) ได้รับการนิยามโดยยูเนสโก (UNESCO) ว่าเป็นการท่องเที่ยวที่มีจุดประสงค์สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาให้ชุมชนนั้น ๆ เกิดความยั่งยืน โดยมีการจัดกิจกรรมท่องเที่ยวที่สอดคล้องและสัมพันธ์กับประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ตลอดจนวิถีชีวิตในชุมชน ในเชิงการเรียนรู้และการทดลอง เพื่อให้ได้มาซึ่งประสบการณ์ที่เป็นอยู่จริงในชุมชน นอกจากนั้นชุมชนจะต้องสามารถใช้การจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เป็นเครื่องมือในการรักษาความสมดุลระหว่างการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการท่องเที่ยวภายในชุมชนและผลประโยชน์ที่ชุมชนจะได้รับ

            ประเทศไทยมีความหลากหลายในเรื่องทุนวัฒนธรรมที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตภาคเหนือซึ่งเป็นท้องถิ่นที่มีบทบาทสำคัญเชิงเศรษฐกิจการท่องเที่ยว โดยมีจังหวัดน่านซึ่งเป็นแหล่งรวมกลุ่มชาติพันธุ์และทุนวัฒนธรรมที่หลากหลาย ทั้งนี้จากการสำรวจปัญหาของผู้ประกอบการสิ่งทอไทยในพื้นที่นั้นพบว่าผู้ประกอบการระดับชุมชนยังขาดแนวทางการพัฒนาทางนวัตกรรมสร้างสรรค์ด้านสิ่งทอ  และความสามารถในการหาแนวคิดเพื่อการแปรรูปผลิตภัณฑ์และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า โครงการวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษาหาแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์ใหม่แก่จังหวัดน่าน เพื่อให้ได้แนวทางการพัฒนาสินค้าที่มีความเหมาะสมกับลักษณะของทุนวัฒนธรรมพื้นถิ่นจังหวัดน่านและตอบสนองแนวคิดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์

            จากการวิจัยพบแนวทางในการสร้างเส้นทางการท่องเที่ยวจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ทำให้เกิดอัตลักษณ์ในพื้นที่จังหวัดน่าน ส่งผลให้ชุมชนมีรายได้ที่ยั่งยืนจากการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ดังนี้ (1) พัฒนาลวดลาย (Textile Development) ที่มาจากทุนวัฒนธรรมให้มีความร่วมสมัยตามกระแสนิยม และนำนวัตกรรมสิ่งทอมาใช้เพื่อช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ สำหรับตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายใหม่ (2) พัฒนารูปแบบของผลิตภัณฑ์ (Product Development) โดยเฉพาะการขยายประเภทของสินค้า (Product Line) และการสร้างอัตลักษณ์ของสินค้าในพื้นที่ให้มีความชัดเจน (3) พัฒนาพื้นที่จัดจำหน่ายสินค้า (Retail Space Development) ให้กลายเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับนักท่องเที่ยว

References

กรรณิการ์ ธรรมพานิชวงค์. (2561). ปลดล็อก ‘เที่ยวเหนือ’ ดึงดูดนักท่องเที่ยวนอกฤดูหนาว สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2563 https://tdri.or.th/2018/03/unlocking-northern-thailands-tourism/

การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. (2556). องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2562. http://www.dasta.or.th/creativetourism/th/creativetourism/531.html

คิดเล่นเห็นต่าง. (2556). จากOVOP สู่ OTOP กับการพัฒนาที่ยั่งยืน
Oct 20, 2013 17:39 รายการ คิดเล่นเห็นต่าง กับคำผกา ประจำวันที่ 20 ตุลาคม 2556. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2563. https://voicetv.co.th/watch/85501

จับตาเอเชียตะวันออก. (2014). กลยุทธ์การท่องเที่ยวของญี่ปุ่น: ความสำเร็จและผลข้างเคียง สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2563 http://www.eastasiawatch.in.th/th/articles/miscellaneous/244/


ธันยมัย เจียรกุล. (2557). ปัญหาและแนวทางการปรับตัวของ OTOP เพื่อพร้อมรับการเปิด AEC
The Problems and the Adaptation of OTOP to AEC. กรุงเทพ: วารสารนักบริหาร EXECUTIVE JOURNAL หน้า 177-191

แผนพัฒนาจังหวัดน่าน พ.ศ. 2561-2564. (2559). คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ (ก.บ.จ.) จังหวัดน่านสำนักงานจัง หวัดน่าน

พริมา อ่วมเจริญ. (2563). เล่าขานตำนานไทลื้อ เมืองเชียงคำ. กรมส่งเสริมวัฒนธรรม วารสารวัฒนธรรม ฉบับที่ ๑ ปี ๒๕๖๒. สิบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2563 http://www.culture.go.th/culture_th/ewt_news.php?nid=4709&filename=index

ภทรภานุ ไชยเชียงของ. (2556). กลยุทธ์การสร้างและการสื่อสารตราสินค้ารูปแบบการดำเนินชีวิต. กรุงเทพ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะนิเทศศาสตร์ สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2563 https://cuir.car.chula.ac.th/dspace/handle/123456789/43216?src=%2Fdspace%2Fbrowse%3Ftype%3Dsubject%26order%3DASC%26value%3DBranding%2B%2528Marketing%2529%26brw_total%3D27%26brw_pos%3D1

ยุพิน คล้ายมนต์. (2562). การศึกษาการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืนผ่านโครงการหนึ่งชุมชนหนึ่งผลิตภัณฑ์
ของญี่ปุ่นและไทย. กรุงเทพ: สถาบันเอเชียศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. สืบค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2563. https://www.google.com/url?sa=t&rct=j&q=&esrc=s&source=web&cd=4&ved=2ahUKEwjYlsmr8P7hAhWMto8KHUu6DCkQFjADegQIARAC&url=https%3A%2F%2Fwww.tci-thaijo.org%2Findex.php%2Fjapanese%2Farticle%2Fdownload%2F51810%2F42930&usg=AOvVaw2G57VXnVKTPKLgVHgqTcof

วทัญญู ใจบริสุทธิ์. (2556). การศึกษาโครงการหนึ่งตาบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP)
ภายใต้วาทกรรมความเป็นสินค้า สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2563. https://www.tci-thaijo.org/index.php/easttu/article/download/82708/65715/

วิทยา อินทร์สอน, สุขอังคณา แถลงกัณฑ์, ปัทมาพร ท่อชู, นวัตกรรมอุตสาหกรรมสิ่งทอสีเขียว Eco-Industrial Innovative Textiles, Industrial Technology Review, 2563 No. 277

สุดแดน วิสุทธิลักษณ์ และคณะ. (2556). การท่องเที่ยว (Tourism) และนักท่องเที่ยว (Tourist): ความหมายและความสำคัญ. ใน การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (หน้า 7-14). กรุงเทพมหานคร: องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน.

สราวุธ กลิ่นสุวรรณ. (2554). กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์และสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าไลฟ์สไตล์ของไทย. กรุงเทพฯ : กรมส่งเสริมการส่งออก : 2554

Wang Zhuojun & He Hualing. (2014). National Identity in the Era of Globalization: Crisis and Reconstruction, Social Sciences in China,35:2, 139-154, DOI: 10.1080/02529203.2014.900889

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-18