ประวัติศาสตร์ พัฒนาการทางความคิด และรูปแบบทางการละคอน ของ สถาบันศิลปวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนา (มายา)

ผู้แต่ง

  • กวิสรา มุกดา คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

สถาบันศิลปวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนา (มายา), ละคอนประยุกต์, การสื่อสารเพื่อการพัฒนา

บทคัดย่อ

            สถาบันศิลปวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนา (มายา) มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่ยาวนานกว่า 39 ปี (2524-2563) มีผลงานทางการละคอนที่หลากหลายขึ้นอยู่กับกลุ่มเป้าหมาย และมีพัฒนาการทางความคิดที่เป็นระบบตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยจะแบ่งได้เป็น 3 แนวคิดหลัก ๆ ได้แก่ 1) แนวคิดการใช้ศาสตร์ทางการละคอนเพื่องานพัฒนา เป็นการใช้ละคอนในฐานะสื่อที่มีประสิทธิภาพที่ช่วยพัฒนาตัวบุคคลโดยตรง คือเด็กและเยาวชน 2) แนวคิดการใช้ศาสตร์ทางการละคอนเพื่อการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เป็นการใช้ประยุกต์ใช้ศาสตร์ทางการละคอนมาใช้ในการฝึกอบรมร่วมกับบุคคลอื่น ๆ ที่ต้องมีความสัมพันธ์กับเด็ก เช่น ครู หรือหน่วยงานพัฒนาอื่น 3) แนวคิดการใช้ศาสตร์ทางการละคอนเวที เป็นแนวคิดที่ให้ความสำคัญกับการจัดตั้งแหล่งเรียนรู้ที่จะช่วยบ่มเพาะหรือส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ต่าง ๆ ให้กับกลุ่มเป้าหมาย มีรูปแบบวิธีการนำเสนอทางการละคอนหลากหลายประเภท ได้แก่ StoryTheatre หรือละคอนปาฐนาฏ และรูปแบบผลงานประเภท Drama ได้แก่ EAP (Experiential Activities Planner) หรือแผนการออกแบบประสบการณ์ ที่นำมาใช้ร่วมกับการฝึกอบรมต่าง ๆ นอกจากนี้ยังพบว่า สถาบันศิลปวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนา (มายา) มีแนวทางในการพัฒนากลุ่มเป้าหมายโดยประยุกต์ใช้ศาสตร์ทางการละคอนร่วมกับหลักการสื่อสารเพื่อการพัฒนา (Development Communication) ที่คำนึงถึงการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างเป็นองค์รวม ซึ่งครอบคลุมทั้งการพัฒนาตั้งแต่ตัวบุคคล รวมถึงพัฒนาความยั่งยืนของระบบโครงสร้างที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาตัวบุคคลด้วย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-18