มุมมองต่อนาฏยศิลป์ร่วมสมัยในสังคมไทย ในช่วงปีพ.ศ.2550-พ.ศ.2562 (ปัจจุบัน)

ผู้แต่ง

  • นิสากร แก้วสายทอง
  • นรีรัตน์ พินิจธนสาร คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

มุมมองนาฏยศิลป์ร่วมสมัย

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์คือ ศึกษาค้นคว้า และรวบรวมความหมายคำนิยามของคำว่านาฏยศิลป์ร่วมสมัยในสังคมไทยในช่วงปีพ.ศ.2550 ถึงปีพ.ศ.2562 (ปัจจุบัน) และวิเคราะห์มุมมองต่อนาฏยศิลป์ร่วมสมัยในสังคมไทย โดยเป็นงานวิจัยเชิงสำรวจ เครื่องมือที่ใช้ในการสำรวจ คือ ศึกษาค้นคว้าจากเอกสารเชิงวิชาการ หนังสือ และวิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้อง สัมภาษณ์ผู้มีพื้นฐาน และประสบการณ์ในแวดวงนาฏยศิลป์ร่วมสมัยอย่างแท้จริง คือศิลปิน และนักวิชาการ ใช้แบบสอบถามในกลุ่มผู้ชมเพื่อสำรวจแนวความคิดที่มีต่องานนาฏยศิลป์ร่วมสมัย โดยนำข้อมูลที่ได้ทั้งหมดมารวบรวมเพื่อวิเคราะห์ สังเคราะห์ และสรุปผลตามลำดับ

ผลการวิจัยพบว่าการให้นิยามความหมายของคำว่านาฏยศิลป์ร่วมสมัยในช่วงปีพ.ศ.2550 จนถึง
ปีพ.ศ.2562 (ปัจจุบัน) โดยศิลปิน และนักวิชาการ ไม่แตกต่างกันมากนัก มีการพัฒนาไปตามยุคสมัย แต่ยังคงไว้ซึ่งจุดร่วมเรื่องช่วงเวลาเสมอ คือนาฏยศิลป์ร่วมสมัย คือ งานที่ต้องสร้างขึ้นในยุคสมัยหรือเวลาปัจจุบันของช่วงเวลานั้น ๆ มีหลักการ แนวคิด และกระบวนการสร้างสรรค์ที่ชัดเจน มีการบอกเล่าเรื่องราว สะท้อนหรือเชื่อมโยงกับความเป็นปัจจุบัน มีเอกลักษณ์ความเป็นปัจเจคของผู้สร้างอย่างชัดเจน แต่มีข้อแตกต่างระหว่างศิลปิน และนักวิชาการ คือผลงานนาฏยศิลป์ร่วมสมัยนั้นสามารถเป็นผลงานที่พัฒนาต่อยอดมาจากผลงานเดิม หรือเป็นผลงานเก่าแล้วนำมาสร้างใหม่ได้หรือไม่ หรือควรเป็นเพียงผลงานสร้างใหม่เพียงเท่านั้น ในส่วนของมุมมองต่อนาฏยศิลป์ร่วมสมัย ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อทั้งผู้สร้างงาน และผู้ชม คือ 1) การสนับสนุน และองค์ความรู้จากกระทรวงวัฒนธรรม 2) จุดมุ่งหมายของผู้สร้างงาน และ 3) สภาพสังคม และเศรษฐกิจ ผลการวิจัยทั้งหมดนี้มีความสอดคล้องตรงตามวัตถุประสงค์ทุกประการ

References

กฤษฏิ์ ชัยศิลบุญ. (สัมภาษณ์). ศิลปินอิสระ เชี่ยวชาญศิลปะล้านนา. 29 มีนาคม 2563.
จุติกา โกศลเหมมณี. (2556). รูปแบบและแนวความคิดในการสร้างสรรค์งานนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัยของนราพงษ์ จรัสศรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชานาฏยศิลป์ไทย ภาควิชานาฏยศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัฏฐ์พัฒน์ ผลพิกุล. (สัมภาษณ์). กรรมการประจำสาขาวิชาศิลปะการแสดง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์. 9 พฤศจิกายน 2562.
ธนกร สรรย์วราภิภู. การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ ชุด เดอะวิทรูเวียนแทน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปกรรม
ศาสตรดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาศิลปกรรมศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , 2560
ธนากร จันทน์สาโรช. นาฏยศิลป์จากแนวคิดไตรลักษณ์ในพระพุทธศาสนา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาศิลปกรรมศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , 2557
ดุจดาว วัฒนปกรณ์. (สัมภาษณ์). นักจิตบำบัดด้วยการเคลื่อนไหว. 30 ตุลาคม 2562.
นพพล จำเริญทอง. (2555). การวิเคราะห์การสร้างงานนาฏศิลป์ไทยร่วมสมัย กรณีศึกษา พิเชษฐ
กลั่นชื่น. วิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาศิลปะการแสดง มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
พีรพงศ์ เสนไสย. (2546). นาฏยประดิษฐ์ (พิมพ์ครั้งที่1). กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์
นราพงศ์ จรัสศรี. (2548). ประวัติศาสตร์นาฏยศิลป์ตะวันตก (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นราพงศ์ จรัสศรี. (สัมภาษณ์). ศาสตราจารย์ ประจำภาควิชานาฏยศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 20 ตุลาคม 2562.
นรีรัตน์ พินิจธนสาร. (สัมภาษณ์). อาจารย์ประจำสาขาวิชาการละคร คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 29 ตุลาคม 2562.
ปริญญา ต้องโพนทอง. (สัมภาษณ์). ศิลปินอิสระ. 26 ตุลาคม 2562.
ปาริชาต จึงวิวัฒนาภรณ์. (สัมภาษณ์). รองศาสตราจารย์ ประจำสาขาวิชาการละคอน คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 31 ตุลาคม 2562.
ภัทรทัน กันตะกนิษฐ์. การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากทฤษฎีสมัยใหม่และหลังสมัยใหม่ทางด้านศิลปะ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาไม่สังกัดการศึกษา ไม่สังกัดภาควิชา/เทียบเท่า คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , 2561
มัทนี รัตนิน. (2546). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศิลปะการกำกับการแสดงละครเวที. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ศูนย์หนังสือธรรมศาสตร์
ราชบัณฑิตยสถาน. (2542). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ.2542, กรุงเทพมหานคร: อักษรเจริญทัศน์การพิมพ์
ลักขณา แสงแดง. (สัมภาษณ์). เลขานุการประจำสาขาวิชาศิลปะการแสดง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์. 9 พฤศจิกายน 2562.
สุชาติ สวัสดิ์ศรี. (2551). ศิลปะร่วมสมัย ในความคำนึง. สานแสงอรุณ, 12(3).
อภิยา ฉายจันทร์ทิพย์, ผู้ดำเนินรายการ. (2557). หลังม่าน ตอน นักเต้นคอนเทมโพรารี่ จิตติ ชมพี
[รายการโทรทัศน์]. กรุงเทพมหานคร: สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส. (8 กันยายน)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-25