อัตลักษณ์กลองยาวภาคใต้
The Identity of Tall Norrow Drum in Southern Thailand
คำสำคัญ:
อัตลักษณ์ กลองยาว ทับยาว ภาคใต้บทคัดย่อ
ดนตรีและการแสดงในวัฒนธรรมพื้นบ้านภาคใต้ของไทยมีเอกลักษณ์และสามารถจำแนกออกจากวัฒนธรรมดนตรีของภาคอื่น ๆ ได้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งโนราและหนังตะลุง ซึ่งเมื่อกล่าวถึงในสถานที่ใดก็แล้วแต่ จะสามารถรู้ได้ทันทีว่าการแสดงเหล่านั้นเป็นของภาคใต้ แต่กระนั้นแล้วยังมีการแสดงดนตรีรูปแบบอื่นที่เป็นเอกลักษณ์บ่งบอกถึงความเป็นภาคใต้ได้เช่นกัน ซึ่งก็คือกลองยาวหรือบางแห่งเรียกทับยาว ด้วยเหตุที่กลองยาวเป็นการแสดงที่มีอยู่ในทุกภูมิภาคของประเทศ จึงไม่อาจกล่าวเป็นการเฉพาะเจาะจงได้ว่าเป็นดนตรีของภาคอื่นเว้นเสียแต่ภาคกลาง แต่ถ้าพิจารณาในบริบทของพื้นที่ผนวกกับองค์ประกอบอื่น ๆ ของกลองยาวในแต่ละภาคนั้น จะสามารถเห็นได้เลยว่ากลองยาวในแต่ละภาคมีความแตกต่างกัน เช่นเดียวกับภาคใต้
บทความนี้มุ่งเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับกลองยาวของภาคใต้เป็นการเฉพาะ เพื่อให้สามารถจำแนกลักษณะกลองยาวในรูปแบบเฉพาะภูมิภาคได้ โดยมีรายละเอียดในเรื่องรูปลักษณ์ของกลองยาวภาคใต้ การประสมวง การบรรเลง บทเพลงที่นิยม และรูปแบบการแสดง ซึ่งในรายละเอียดเหล่านี้มีทั้งส่วนที่คล้ายคลึงกับกลองยาวของภาคกลางและสิ่งที่สามารถทำให้จำแนกออกได้ซึ่งความเป็นกลองยาวภาคใต้ โดยส่วนใหญ่แล้วนั้นกลองยาวภาคใต้จะนิยมผสานเอาลักษณะของวัฒนธรรมดนตรีโนรา หนังตะลุง และรำวงเวียนครกร่วมในการแสดงด้วย สิ่งนี้ตอกย้ำถึงความเป็นอัตลักษณ์ของภาคใต้ได้อย่างเด่นชัด
References
กิตติชัย รัตนพันธ์. (2564). ดนตรีพื้นบ้านภาคใต้. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: บริษัท โอ. เอส. พริ้นติ้ง เฮาส์ จำกัด.
เดชชาติ ตรีทรัพย์, และคณะ. (2560). การศึกษาวิเคราะห์ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 4(1), 65 – 75.
ธิกานต์ ศรีนารา, และพิเชษฐ์ เดชผิว. (2548). วัฒนธรรมดนตรีในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: แม็ค.
ภูวนาถ ลาดทุ่ง. (2564). ทับยาวในวัฒนธรรมดนตรีพื้นบ้าน จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา, 3(1), 30 – 55.
ศุภวัฒน์ นามปัญญา, และปัทมาวดี ชาญสุวรรณ. (2562). พัฒนาการและการประกอบสร้างขบวนแห่ปราสาทผึ้งจังหวัดสกลนคร. วารสารช่อพะยอม, 30(2). 195 – 204.
ศูนย์ข้อมูลกลางวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม. (2556). การรำกลองยาว. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 7 สิงหาคม 2564, จาก http://m-culture.in.th/album/190566/การรำกลองยาว
สิทธิศักดิ์ จำปาแดง. (2561). กลองยาวในวิถีวัฒนธรรมของชาวอำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 10(1), 91 – 109.
สุมาลี นิมมานุภาพ. (2561). ดนตรีวิจักขณ์ MUSIC APPRECIATION. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2554). บาก. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 7 สิงหาคม 2564, จาก https://dictionary.orst.go.th/
สำนักวัฒนธรรมจังหวัดศรีษะเกษ. (2560). การแสดงกลองยาว. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 7 สิงหาคม 2564, จาก https://www.m-culture.go.th/sisaket/ewt_news.php?nid=1038&filename=index
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2022-06-29 (3)
- 2022-06-29 (2)
- 2022-06-29 (1)