การศึกษาลักษณะพรรณไม้ในสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน สำหรับการออกแบบและสร้างสรรค์ผลงานศิลปะลายกำมะลอแบบสามมิติ ชุด พรรณไม้ลายทอง

ผู้แต่ง

  • นฤทธิ์ วัฒนภู โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะพรรณไม้ในสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน สำหรับการออกแบบและสร้างสรรค์ผลงานศิลปะลายกำมะลอแบบสามมิติ ชุด พรรณไม้ลายทอง 2) ออกแบบผลงานศิลปะลายกำมะลอแบบสามมิติ ชุด พรรณไม้ลายทอง และ 3) สร้างสรรค์ผลงานศิลปะลายกำมะลอแบบสามมิติ ชุด พรรณไม้ลายทอง เป็นการวิจัยเชิงสร้างสรรค์ทางทัศนศิลป์ (Creative Research) ดำเนินการโดยใช้พรรณไม้ที่ปลูกอยู่ในบริเวณโรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา ออกแบบ และสร้างสรรค์ผลงานในห้องปฏิบัติงานทางศิลปะของผู้วิจัย ด้วยเทคนิควิธีการทางศิลปะไทยร่วมกับวัสดุสมัยใหม่ ผลการวิจัย พบว่า

  1. พรรณไม้ที่นำมาเป็นแรงบันดาลใจและแนวทางในการออกแบบ สร้างสรรค์ผลงาน จำนวน 3 ชนิด ได้แก่ ราชพฤกษ์ โพธิ์ และแก้วเจ้าจอม โดยศึกษาลักษณะต่าง ๆ ของพรรณไม้แต่ละชนิด ประกอบด้วย ส่วนราก ลำต้น กิ่ง ก้าน ใบ ดอก ผล และเมล็ด ซึ่งแต่ละส่วนสามารถนำมาออกแบบผลงานได้
  2. ออกแบบผลงานโดยได้แรงบันดาลใจจากส่วนประกอบต่าง ๆ ของพรรณไม้ทั้งสามชนิด เป็นผลงานจำนวน 3 ชิ้น โดยใช้หลักการทางทัศนศิลป์ ประกอบด้วย ทัศนธาตุ การจัดวางองค์ประกอบทางทัศนศิลป์ ทฤษฎีสี รวมทั้งรูปแบบของศิลปะลายกำมะลอ
  3. สร้างสรรค์ผลงานศิลปะลายกำมะลอแบบสามมิติ ตามที่ได้ออกแบบไว้ โดยใช้เทคนิคกระบวนการ รูปแบบของศิลปะลายกำมะลอ และประยุกต์ใช้วัสดุสมัยใหม่ รวมทั้งเทคนิควิธีการต่าง ๆ เพื่อให้เกิดผลงานศิลปะลายกำมะลอที่มีมิติ มุมมองที่หลากหลาย มีความร่วมสมัย รูปแบบเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของผู้วิจัย แตกต่างจากรูปแบบผลงานโดยทั่วไป

 

References

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. (2560). คู่มือการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน พุทธศักราช 2560. (เอกสารถ่ายสำเนา).

เชษฐ์ ติงสัญชลี. (2555). สัตตมหาสถาน พุทธประวัติตอนเสวยวิมุตติสุขกับศิลปกรรมอินเดียและเอเซียอาคเนย์. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ.

พรสวรรค์ จันดาหงส์. (2563). การสร้างสรรค์จิตรกรรมเพื่อตกแต่งเฟอร์นิเจอร์ไม้ ชุด ไม้เลื้อย. ช่อพะยอม, 31(1), 57-76.

พิชิต เลี่ยมพิพัฒน์. (2544). เครื่องประดับ. กรุงเทพฯ : ป.สัมพันธ์พาณิชย์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2532). พจนานุกรมศัพท์ศิลปกรรม อักษร ก. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน.

สกุลทิพย์ ใจชุ่ม. (2563). กาแฟอาราบิก้า : ภาพสีสันแห่งกาลเวลา. วารสารศิลปกรรมและการออกแบบแห่งเอเชีย, 1(1), 108-122.

สนั่น รัตนะ. (2549). ศิลปะลายกำมะลอ. กรุงเทพฯ : สิปประภา.

อนงค์นาฏ สมหวังธนโรจน์. (2561). เรซินอิพ็อกซี สำหรับชุดประกอบไมโครอิเล็กทรอนิกส์บนแผงวงจร ยืดหยุ่น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Narit Vadhanabhu. (2021). The Creation of Three-Dimensional Thai Laquer Work from Epoxy Resin with Drawing Techniques. PalArch’s Journal of Archaeology of Egypt/Egyptology, 18(7), 3545-3555.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-28

ฉบับ

บท

บทความวิจัยสร้างสรรค์