การวิจัยสร้างสรรค์ เรื่อง ชั่วขณะจิต
Momentary Mind
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัยเชิงสร้างสรรค์ เรื่อง “ชั่วขณะจิต” เพื่อ 1) ศึกษาถึงความหมายของความสุข และระดับของความสุขตามหลักพุทธศาสนา 2) สร้างสรรค์ผลงานศิลปะจากแนวคิดเรื่องความสุขในพระพุทธศาสนา ขั้นตอนการวิจัยมี ดังนี้ 1) ศึกษาความรู้ที่เกี่ยวข้องและกำหนดกรอบแนวคิดของการวิจัย 2) สร้างสรรค์งานศิลปะ 3) วิเคราะห์ผลงานศิลปะในหัวข้อ “ชั่วขณะจิต” โดยใช้ “แผนภูมิการออกแบบ” เพื่อกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างส่วนมูลฐานทางศิลปะและหลักการทางศิลปะ
ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสุข คือความสบายใจ ความพอใจ ความเพลิดเพลิน ความเบิกบานใจ พระพุทธเจ้าบรรยายไว้ในคัมภีร์ ความสุขแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือความสุขทางกายและความสุขทางใจ 2) การสร้างสรรค์ผลงานตามหลักความสุขทางพุทธศาสนา ข้าพเจ้าถ่ายทอดความคิดเชิงนามธรรมสู่งานศิลปะรูปธรรมที่แสดงออกถึงจังหวะ ความเคลื่อนไหวและการเดินทางของจิตใจ
คำสำคัญ: ชั่วขณะจิต ศิลปะสร้างสรรค์ ความสุขทางพุทธศาสนา
References
พระมหาวิเชียร สุธีโร. (2562). ความสุขในทัศนะของพระพุทธสาสนา. วารสารพุทธมัคค์ ศูนย์วิจัยธรรมศึกษา สำนักเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม, 4(1), 42-47.
พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี. (2550). ความสุขในสังคมสมัยใหม่: จิตวิญญาณ สังคม และวิทยาศาสตร์. 19 สิงหาคม 2550 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ : http://oknation.nationtv.tv/blog/ vana/2008/05/01/entry-1
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลทรัพย์. พิมพครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
ราชบัณฑิตสถาน. (ม.ป.ป). พจนานุกรมอิเล็กทรอนิก ฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ:
ราชบัณฑิตสถาน.
เฮดต์, โจนาทาน. (2562). วิทยาศาสตร์แห่งความสุข:สำรวจความสุขและความหมายของชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์. (แปลโดย โตมร ศุขปรีชา). กรุงเทพฯ : ซอลท์ พับลิชซิ่ง.
Mittler, G.A. (1994). Art in Focus. New York: Macmillan/McGraw-Hill School Publishing Company.
Mittler, G.A. (1986). Art in Focus. Peoria, IL: Bennett & Mcknight Publishing.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2022-06-29 (2)
- 2022-06-29 (1)