This is an outdated version published on 2022-06-29. Read the most recent version.

การวิจัยสร้างสรรค์ เรื่อง ชั่วขณะจิต

ผู้แต่ง

  • Samaporn Klayvichien -

บทคัดย่อ

การวิจัยสร้างสรรค์ เรื่อง ชั่วขณะจิต มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาถึงความหมายของความสุข และระดับของความสุขในทัศนะของพระพุทธศาสนา 2) สร้างสรรค์ผลงานศิลปะจากแนวคิดของความสุขในทัศนะของพระพุทธศาสนา โดยมีขั้นตอน คือ 1) ศึกษาองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องและกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย 2) สร้างสรรค์ผลงานศิลปะ โดยใช้ “Design Chart” วิเคราะห์หาค่าความสัมพันธ์ระหว่างส่วน    มูลฐานทางศิลปะและหลักการทางศิลปะของยีน มิทเลอร์

ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสุข คือความสบาย ความสำราญ ความฉ่ำชื่นรื่นกายรื่นใจ สามารถแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ความสุขทางกาย และความสุขทางใจ มี 13 คู่ บางคู่มีขอบเขตเนื้อหาแคบไม่ครอบคลุมความสุขคู่อื่นๆ หรือความสุขในระดับอื่นๆ แต่บางคู่ก็มีขอบเขตเนื้อหากว้างครอบคลุมความสุขคู่อื่นๆ หรือความสุขในระดับอื่นๆ ทั้งหมด ทั้ง 13 คู่นี้ สรุปได้ 2 ลักษณะใหญ่ คือความสุขอิงอามิส กับ ไม่อิงอามิส ระดับของความสุข มี 3 ระดับ คือ กามสุข ฌานสุข และ นิพพานสุข 2) สร้างสรรค์ผลงานศิลปะจากแนวคิดของความสุขในทัศนะของพระพุทธศาสนา ผู้วิจัยใช้เทคนิคการขีดเส้นสัญลักษณ์ | เป็นการสร้างสมาธิให้จดจ่ออยู่กับการเขียดเส้นจะขีดไปเรื่อยๆ ทีละเส้น เพื่อไม่ส่งจิตออกนอก พยายามให้จิตอยู่กับตนเอง ใช้สัญลักษณ์ ๐ แทนจิตที่ส่งจิตออกนอก ไปสนใจเรื่องอื่นชั่วขณะ จำนวนสัญลักษณ์ ๐ ที่เพิ่มขึ้นเป็น ๐๐๐ แทนการส่งจิตออกนอกนานขึ้น สัญลักษณ์ ๐๐๐๐๐ แทนการหยุดกิจกรรมในวันนั้น แล้วมาเริ่มต้นในวันอื่นใหม่ โดยเขียนวันเดือนปี เพื่อเป็นการบันทึกในแต่ละวันของผลงานว่า เริ่มสร้างสรรค์ตั้งแต่วันแรกจนถึงวันที่หมดความยาวของผ้า 12 เมตร และเริ่มใหม่กับผ้าม้วนใหม่ตั้งแต่ต้นจนจบ

References

พระมหาวิเชียร สุธีโร. (2562). ความสุขในทัศนะของพระพุทธสาสนา. วารสารพุทธมัคค์ ศูนย์วิจัยธรรมศึกษา สำนักเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม, 4(1), 42-47.

พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี. (2550). ความสุขในสังคมสมัยใหม่: จิตวิญญาณ สังคม และวิทยาศาสตร์. 19 สิงหาคม 2550 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ : http://oknation.nationtv.tv/blog/ vana/2008/05/01/entry-1

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลทรัพย์. พิมพครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตสถาน. (ม.ป.ป). พจนานุกรมอิเล็กทรอนิก ฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ:

ราชบัณฑิตสถาน.

เฮดต์, โจนาทาน. (2562). วิทยาศาสตร์แห่งความสุข:สำรวจความสุขและความหมายของชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์. (แปลโดย โตมร ศุขปรีชา). กรุงเทพฯ : ซอลท์ พับลิชซิ่ง.

Mittler, G.A. (1994). Art in Focus. New York: Macmillan/McGraw-Hill School Publishing Company.

Mittler, G.A. (1986). Art in Focus. Peoria, IL: Bennett & Mcknight Publishing.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-29

Versions

ฉบับ

บท

บทความวิจัยสร้างสรรค์