โครงการศึกษาการผลิตสื่อภาพถ่ายเพื่อการสื่อความหมายเชิงอนุรักษ์ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันออก

ผู้แต่ง

  • อุรชา จักรคชาพล ภาควิชานิเทศศิลป์ คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

คำสำคัญ:

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันออก, ภาพถ่ายสารคดี, การสื่อความหมายเชิงอนุรักษ์, ป่าสงวน, สัตว์ป่าสงวน

บทคัดย่อ

 ในปัจจุบันธรรมชาติได้ถูกทำลายไปเป็นจำนวนมาก อาทิ การตัดไม้ทำลายป่า การล่าสัตว์ป่าสงวนเพื่อนำส่งออกต่างประเทศ ผู้วิจัยเล็งเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ธรรมชาติ จึงได้จัดทำสื่อภาพถ่ายของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันออกขึ้น จำนวน 90 ภาพในหมวดหมู่ต่าง ๆ เช่น ภาพถ่ายเจ้าหน้าที่และที่พักอาศัยในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฯ ภาพถ่ายร่องรอยของสัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ ภาพธรรมชาติและความสวยงามของเขตป่าชั้นในเป็นต้น เพื่อสร้างองค์ความรู้เรื่องการใช้ภาพถ่ายเพื่อการสื่อความหมายเชิงอนุรักษ์สำหรับการสื่อสาร ถ่ายทอด และประชาสัมพันธ์ข้อมูลเชิงอนุรักษ์ โดยการนำมาเผยแพร่และดำเนินการวิจัยเพื่อวัดประสิทธิผลของภาพถ่ายชุดนี้ ผู้วิจัยได้เชิญผู้เชี่ยวชาญทางด้านการถ่ายภาพ จำนวน 10 ท่านมาแสดงความคิดเห็นต่อภาพถ่ายเชิงอนุรักษ์ชุดนี้ผ่านแบบสอบถามที่ผู้วิจัยจัดทำขึ้น โดยสรุปเป็นประเด็นได้ดังนี้ เนื้อหาของภาพถ่ายชุดนี้มีความครบถ้วนสมบูรณ์ องค์ประกอบของภาพเป็นการเล่าแบบตรงไปตรงมา แสงเงาของภาพถ่ายชุดนี้สามารถแสดงถึงความร่มรื่นและความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าได้เป็นอย่างดี โทนสีของภาพมีความโดดเด่น โดยเน้นสีที่เสมือนจริงแต่ไม่จัดจ้านจนเกินไป ทั้งนี้การใช้แสงและโทนสีของภาพก่อให้เกิดความต่อเนื่องกันของภาพแต่ละภาพได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ดี ในส่วนของคำบรรยายภาพ ผู้เชี่ยวชาญแสดงความเห็นว่าผู้วิจัยสามารถเพิ่มเติมข้อมูลในคำอธิบายภาพ เพื่อให้ผู้ชมเข้าถึงและเข้าใจเรื่องในภาพถ่ายนั้น ๆ ได้มากขึ้น ส่วนปัญหาหลักที่ผู้วิจัยได้ประสบคือความไม่พร้อมในการเตรียมตัวในเชิงวิถีความเป็นอยู่ในป่าและสภาพภูมิประเทศของบริเวณที่ดำเนินการวิจัยและการเตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มิได้เหมาะแก่การบันทึกภาพในป่า ผู้วิจัยได้แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าโดยการใช้ประสบการณ์เพื่อที่จะนำพาการสร้างสรรค์ผลงานภาพถ่ายชุดนี้ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้ คือให้ผู้ที่ได้รับชมเกิดความตระหนักรู้ถึงคุณค่าของผืนป่าแห่งนี้

References

จิรกิจนิมิตร ณัฐนนท์. (2565). บทบาทพระสงฆ์กับการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ และสัตว์ป่า. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง, 11(1). Lampang, Thailand : 195-213.

จิราพงษ์ ศุภวิชญ์, และ โรจนตระกูล ธนัสถา. (2564). แนวทางการส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากร ป่าไม้แบบยั่งยืน. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(10), 441-58.

นิวัติ เรืองพานิช. (2546). การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วาสุณีศรี ศิลปกร. (2557). การศึกษาวิถีชีวิตคนกับป่า กรณีศึกษาชุมชนในบริเวณเขตป่าสัมปทาน ป่าสงวนแห่งชาติดงใหญ่ ตำบลลำนางรอง อำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิตสาขาวิชาโบราณคดี). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศักดิ์ศรี สืบสิงห์, นิธินาถ อุดมสันต์, และ สุภิมล บุญพอก. (2561). การพัฒนารูปแบบการอนุรักษ์ป่าไม้ กรณีศึกษา: ป่าดงหันบ้านท่าม่วงอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด โดยใช้กระบวนการทางสิ่งแวดล้อมศึกษา. Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University, 12(29), 77-87.

ศูนย์ข้อมูลมรดกโลก. (2565). เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่. สืบค้น 1 มิถุนายน 2565, จาก http://164.115.22.96/heritagenature.aspx

สุปาณี บุญญวงศ์. (2539). ไซเตสกับการอนุรักษ์สัตว์ป่าในประเทศไทย. วารสารปาริชาติ มหาวิทยาลัยทักษิณ. 9(1), 1-9.

Frey, F., & Heller, D. (2008). The AIC guide to digital photography and conservation documentation.

London, B., Stone, J., & Upton, J. (2016). Photography. Pearson.

Mittermeier, C. (2005). Conservation photography. International Journal of Wilderness, 11(1), 8-13.

Parrish, F. S. (2002). Photojournalism: an introduction. Wadsworth Publishing Company.

thailand.wcs.org. (2565). โครงการเสริมสร้างประสิทธิภาพการลาดตระเวนในพื้นที่อนุรักษ์. สืบค้น 1 มิถุนายน 2565. จาก https://thailand.wcs.org/th-th/Initiatives/ Smart-Patrol-System/Thungyai-Naresuan-West.aspx

www.tate.org.uk. (2022). Documentary Photography. Retrieved 2022, June 1. from https://www.tate.org.uk/art/art-terms/d/documentary-photography

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30 — Updated on 2023-01-04

Versions