การผลิตสื่อการสอนและประเมินผล เรื่องการศึกษาผลของแสงที่เปลี่ยนแปลงไปในการถ่ายภาพบุคคลและภาพหุ่นนิ่ง เมื่อเลือกใช้อุปกรณ์ประกอบไฟแฟลชต่างชนิดกัน

ผู้แต่ง

  • พงษ์ศักดิ์ ตั้งติวาจา ภาควิชานิเทศศิลป์ คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

คำสำคัญ:

การพัฒนาหลักสูตร, การถ่ายภาพบุคคล, การจัดแสงในสตูดิโอ, สื่อการสอน, ไฟแฟลช

บทคัดย่อ

 เทคโนโลยีทางการถ่ายภาพถูกพัฒนาให้เจริญรุดหน้าอย่างมากจนกล้องและภาพถ่ายกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน ดังนั้นการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาที่เกี่ยวกับการถ่ายภาพในยุคที่ข้อมูลข่าวสารมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดและวิธีการให้ทันยุคสมัย เข้าใจง่ายและรวดเร็วขึ้น การวิจัยในครั้งนี้นำไปใช้ประกอบการเรียนการสอนใน วิชาภาพถ่ายบุคคล 1 มีเนื้อหาสำคัญเชื่อมต่อความรู้ทางการจัดแสงในสตูดิโอไปสู่เทคนิคขั้นสูงในการถ่ายภาพบุคคลและโฆษณา ผู้วิจัยจึงพัฒนาสื่อการสอนขึ้นใหม่จากสื่อการสอนเดิมที่เคยใช้ โดยนำหลักการเรียนรู้จากทฤษฎีของกาเย่มาเป็นแนวทางในการสร้างกระบวนการเรียนรู้เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาสาระต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็วและจดจำสิ่งที่เรียนได้นาน ขอบเขตการวิจัยกำหนดให้ครอบคลุมประเด็นต่าง ๆ อย่างเป็นขั้นตอน เริ่มจากการผลิตภาพถ่ายต้นแบบที่แสดงให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของแสงในการถ่ายภาพบุคคลและภาพหุ่นนิ่งภายหลังจากการใส่อุปกรณ์ประกอบหน้าไฟแฟลชแล้ว จากนั้นจึงจัดเตรียมสไลด์ประกอบการบรรยาย ออกแบบและจัดสร้างแบบสอบถามเพื่อใช้ประเมินผลและจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ผ่านโปรแกรม Zoom โดยใช้ตัวอย่างจากการทดลองเป็นภาพนิ่งประกอบเนื้อหาคำบรรยายที่เป็นสไลด์นำเสนอ โดยมีประชากรเป็นนักศึกษาสาขาการถ่ายภาพและกลุ่มเป้าหมายคือผู้ที่เคยเรียนวิชาจัดแสงเบื้องต้นมาแล้วจำนวน 35 คน ภายหลังกระบวนการสอนเสร็จสมบูรณ์ผู้เรียนทั้งหมดตอบแบบสอบถาม ประเมินความพึงพอใจตามขั้นตอนทฤษฎีของกาเย่ ผลการประเมินส่วนใหญ่อยู่ที่เห็นด้วยมากที่สุด จึงสรุปได้ว่าแนวทางในการพัฒนาสื่อและวิธีการสอนสำหรับการวิจัยครั้งนี้ มีความเหมาะสมกับผู้เรียนทั้งในเรื่องเนื้อหาและวิธี ทำให้เข้าใจเกี่ยวกับการจัดแสงได้อย่างชัดเจนและเป็นขั้นตอน นำไปต่อยอดสู่การเรียนรู้ในวิชาขั้นสูงและยังสามารถพัฒนาเป็นสื่อการสอนแบบแอปพลิเคชันที่ทันสมัยได้  

References

ข้อมูลหลักสูตรสาขาการถ่ายภาพ. (2565). สืบค้น 1 มิถุนายน 2565, จาก https://www.aad. kmitl.ac.th/communication-art/b-phot

ชนาธิป พรกุล. (2555). การออกแบบการสอน การบูรณาการ การอ่าน การคิดวิเคราะห์และการเขียน. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2529). จะสอนบรรยายไม่ง่ายเหมือนที่คิด. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2563). หลักและเทคนิคการสอนระดับอุดมศึกษาจากการบรรยายแบบประเพณีโบราณสู่การสอนแบบไม่สอน. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2554). รูปแบบการเรียนการสอน : ทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

เอกสารประกอบการสอนวิชา Lighting Theory 1 (1997). Brooks Institute of photography, Santa Barbara, California.

Gagne, R. (1985). The conditions of learning and theory of instruction Robert Gagné. New York, NY : Holt, Rinehart ja Winston.

Hunter, F., Biver, S., Fuqua, P., & Reid, R. (2021). Light–Science & Magic : An Introduction to Photographic Lighting. Routledge.

Hince, P. (2011). The Portrait Lighting Reference. East Sussex : UK : The ILEX Press.

Gatcum, C. (2014). Light and Shoot 50 Fashion Photos. Routledge.

London, B., Stone, J., & Upton, J. (2016). Photography. Pearson. New Jersey, USA

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30