ฮักสถิต: จากตำนานรักดอกเอื้องแซะสู่ศิลปะการแสดงล้านนาสร้างสรรค์

Hug Sathit: from the Love Legend of Uangsae (Orchidaceae) to Lanna Performing Arts Creation

ผู้แต่ง

  • ปทิตตา ไชยปรุง สาขาวิชาดนตรีและนาฏศิลป์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ภูดิท ศิริวัฒนกุล สาขาวิชาดนตรีและนาฏศิลป์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ลิขิต ใจดี สาขาวิชาดนตรีและนาฏศิลป์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา/Fine and Applied Arts Program in Music and Dance. School of Architecture and Fine Art, University of Phayao

คำสำคัญ:

ฮักสถิต, ดอกเอื้องแซะ, ศิลปะการแสดง, ล้านนา, สร้างสรรค์

บทคัดย่อ

การแสดง ชุด ฮักสถิต เป็นการแสดงที่ได้นำต้นทุนทางวัฒนธรรมด้านตำนานรักดอกเอื้องแซะมาพัฒนาไปสู่ศิลปะการแสดงล้านนาสร้างสรรค์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาตำนานรักดอกเอื้องแซะ 2) เพื่อสร้างสรรค์การแสดงชุด ฮักสถิต ดำเนินการสร้างสรรค์ตามกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพร่วมกับขั้นตอนของโมเดลการจัดการเรียนรู้ทางศิลปะการแสดงสร้างสรรค์แบบ 4C PE MODEL จากการศึกษาพบว่าตำนานรักดอกเอื้องแซะมีการประพันธ์ 3 รูปแบบ ได้แก่ 1) การประพันธ์ในรูปแบบร่ายยาวล้านนามีจุดมุ่งหมายเพื่อขับลำนำก่อนเข้าสู่ขับร้องเพลงเอื้องแซะ 2) การประพันธ์ในรูปแบบโฟล์คซองคำเมืองมีจุดมุ่งหมายเพื่อใช้ในการขับร้อง และ 3) การประพันธ์ในรูปแบบกลอนสุภาพมีจุดมุ่งหมายเพื่อการอ่าน แต่อย่างไรก็ตามการดำเนินเรื่องของตำนานมีความสอดคล้องกันทั้ง 3 รูปแบบ จึงนำมาเป็นแนวความคิดสร้างสรรค์การแสดงล้านนา ชุด ฮักสถิต โดยสามารถแบ่งการแสดงออกเป็น 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงที่ 1 ความฮัก เป็นช่วงที่แสดงให้เห็นถึงหนุ่มสาวชาวล้านนาที่มีความรักต่อกัน และช่วงที่ 2 สถิตฮัก เป็นช่วงที่แสดงให้เห็นถึงหญิงสาวที่รอคอยชายหนุ่มกลับมา ด้วยใจที่ยึดมั่น ศรัทธาในความรัก จนถึงเวลาที่หญิงสาวต้องลาจากโลกนี้ไป ด้วยจิตวิญญาณที่ยังผูกพันของหญิงสาวจึงกลายเป็นหมอกควันไปเกาะห่อหุ้มแฝงจิตอยู่กับต้นดอกเอื้องแซะ โดยมีองค์ประกอบการแสดงทั้งหมด จำนวน 6 องค์ประกอบ ได้แก่ ผู้แสดง ดนตรี กระบวนท่าฟ้อน เครื่องแต่งกาย อุปกรณ์ประกอบการแสดง ฉากและแสงสี และจากการประเมินผลงานสร้างสรรค์ภายใต้แนวคิดนาฏยปัญญา: ศิลปกรรมสร้างสรรค์สู่สังคม โดยคณะกรรมการจำนวน 5 ท่าน พบว่า ผลงานสร้างสรรค์มีคุณภาพอยู่ในระดับดีเลิศ สะท้อนให้เห็นว่าโมเดลการจัดการเรียนรู้ทางศิลปะการแสดงสร้างสรรค์แบบ 4C PE MODEL เป็นกระบวนการแนวทางเลือกหนึ่งที่เหมาะสำหรับการดำเนินการจัดการเรียนรู้ด้านพัฒนาความคิดเชิงสร้างสรรค์ของผู้เรียนด้านศิลปะการแสดงในระดับอุดมศึกษา

References

กิ่งโศก. (2553). ตำนานเอื้องแซะ. https://www.thaipoem.com/poem/132172

ฐาปกรณ์ เครือระยา. (2563). ดอกเอื้องในพิธีกรรมความเชื่อและวัฒนธรรมล้านนา. วารสารวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 11(2), 177-206.

ตติยา สายบัวพัตร์. (2555). เพลงโฟล์คซองคําเมือง ของสุนทรีเวชานนท์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

ลิขิต ใจดี. (2564). การพัฒนาโมเดลการจัดการเรียนรู้ทางศิลปะการแสดงสร้างสรรค์. สาขาวิชาดนตรีและนาฏศิลป์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา.

สาขาวิชาดนตรีและนาฏศิลป์ มหาวิทยาลัยพะเยา. (2565). นาฏยปัญญา: ศิลปกรรมสร้างสรรค์สู่สังคม. พะเยา: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา.

สุนทรี เวชานนท์. ร่ายกวีขับเพลงเอื้องแซะ. (2551).https://www.youtube.com/watch?v=TPTlHzE_59c

องค์การสวนพฤกษศาสตร์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2551). กล้วยไม้ไทย 1. วนิดาการพิมพ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31 — Updated on 2024-01-01

ฉบับ

บท

บทความวิจัยสร้างสรรค์