โมหินี : มายาแห่งวิษณุ

Mohini : a dance creation of the maya of Vishnu

ผู้แต่ง

  • นรีรัตน์ พินิจธนสาร สาขาการละคอน คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • อภิโชติ เกตุแก้ว คณะอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต

คำสำคัญ:

โมหินี, นาฏศิลป์สร้างสรรค์, วิษณุอวตาร, โมหินีอัตตัม

บทคัดย่อ

การสร้างสรรค์ทางนาฏยศิลป์ ชุด โมหินี มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์และศึกษาหารูปแบบตามองค์ประกอบการสร้างสรรค์ผลงานทางด้านนาฏยศิลป์ทั้ง 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1. บทการแสดง 2. นักแสดง 3. ลีลาท่าทางนาฏศิลป์ 4. เสียงและดนตรี 5. เครื่องแต่งกาย 6. แสง ซึ่งมีกระบวนการวิจัยเชิงสร้างสรรค์ที่ใช้แนวคิด 3 ประการ ได้แก่ แนวคิดพหุวัฒนธรรม แนวคิดความเรียบง่ายในงานนาฏศิลป์หลังสมัยใหม่ และแนวคิดสุนทรีย์ทางนาฏศิลป์ ทั้งนี้ผู้วิจัยได้ศึกษาข้อมูลโดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลเชิงเอกสาร การสังเกตการณ์ และการสัมภาษณ์ ตลอดจนข้อมูลจากสื่อสารสนเทศอื่น ๆ เพื่อนำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล และสรุปผลตามวัตถุประสงค์   ผลงานมีจุดมุ่งหมายเพื่อนำเสนอเรื่องราวของโมหินีปรากฏอยู่ในมหากาพย์มหาภารตะและรามายณะซึ่งสอดคล้องกับเรื่องรามเกียรติ์ของไทย ทางด้านวัฒนธรรมในเรื่องนี้ได้รับการตีความทั้งในตะวันตกและตะวันออกในหลายประเด็น ทางด้านนาฏกรรม ปรากฏการแสดงที่ชื่อว่า โมหินีอัตตัม (Mohiniattam) ซึ่งเป็นนาฏศิลป์อินเดียแบบดั้งเดิมกล่าวถึงความงดงามและท่วงท่าที่อ่อนช้อยตามรูปแบบของลัสยา (Lasya) เป็นอีกการแสดงหนึ่งที่ได้รับอิทธิพลมาจากตำนานนาฏยศาสตร์ ซึ่งผลงานสร้างสรรค์ในครั้งนี้สามารถนำเอาความรู้จากการศึกษากระบวนการสร้างสรรค์ไปพัฒนาต่อยอดในการออกแบบผลงานทางด้านนาฏยศิลป์และศิลปะการแสดงอื่น ๆ ต่อไปได้ในอนาคต

References

จุติกา โกศลเหมมณี. (2556). รูปแบบและแนวคิดในการสร้างสรรค์งานนาฏศิลป์ไทยร่วมสมัยของ นราพงษ์ จรัสศรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธรากร จันทนะสาโร. (2557). นาฏยศิลป์จากแนวคิดไตรลักษณ์ในพระพุทธศาสนา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นราพงษ์ จรัสศรี. (2548). ประวัตินาฏยศิลป์ตะวันตก. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นรีรัตน์ พินิจธนสาร. (2563). การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากการตีความตัวละคร “ราม” ในรามายณะผ่านทฤษฎีภาวะและรส. International Journal of East Asian Studies, 23(2), 276-293.

พระนารายณ์. (ม.ป.ป.). Sac.or.th. https://db.sac.or.th/seaarts/artwork/172.

มัทนี รัตนิน. (2546). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศิลปะการกำกับการแสดงละคอนเวที. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อรุณศักดิ์ กิ่งมณี. (2551). ตรีมูรติ อภิมหาเทพของฮินดู. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ.

อภิโชติ เกตุแก้ว. (2563). การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากสัญลักษณ์โอมในความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 21(2), 94-110.

Classical Dances: Mohiniyattam. (n.d.). Firstpost. https://www.firstpost.com/ artand-culture/know-your-classical-dances-mohiniyattam.

Mohini. (n.d.). https://www.alamy.com

Mohini Avatar of lord Vishnu. https. (n.d.). https://www.reddit.com/r/hinduism/ comments/tbfvb2/mohini_avatar_of_lord_vishnu/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-28

ฉบับ

บท

บทความวิจัยสร้างสรรค์