การศึกษาลวดลายศิลปะศรีวิชัย เพื่อมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบพัฒนาเครื่องประดับถมนคร

ผู้แต่ง

  • ชัชวาล รัตนพันธุ์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

ลวดลายศิลปะศรีวิชัย, การออกแบบพัฒนา, เครื่องประดับถมนคร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลวดลายศิลปะศรีวิชัย  2) เพื่อออกแบบเครื่องประดับถมนครตามอัตลักษณ์ลวดลายศิลปะศรีวิชัย 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจต่อเครื่องประดับถมนครที่ได้ออกแบบและพัฒนา ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เนื้อหา สำรวจความต้องการด้วยแบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง 100 คน เป็นกลุ่มประชาชนที่ชื่นชอบเครื่องประดับในจังหวัดนครศรีธรรมราช วิเคราะห์ด้วยการหาร้อยละและค่าเฉลี่ย นำข้อมูลที่ได้มากำหนดแนวทางในการออกแบบ 3 แนวทาง ได้แก่ แนวทางดั้งเดิม แนวทางประยุกต์ และแนวทางผสมผสาน ทำการออกแบบภาพร่าง ประเมินภาพร่างโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน เพื่อสร้างต้นแบบ จากนั้นประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภคจำนวน 100 คน   ผลการวิจัยพบว่า  1)  ลวดลายศิลปะศรีวิชัยประกอบด้วย ลวดลายจากประติมากรรมพระโพธิ์สัตว์ อวโลกิเตศวร ลวดลายจากปฏิมากรรมพระพุทธรูปนาคปรก ลวดลายสถาปัตยกรรมพระธาตุไชยา และ ลวดลายดินเผากุณฑี  2) ผู้บริโภคต้องการนำลวดลายจากฐานพระพุทธรูปนาคปรกมาพัฒนา (ร้อยละ 37) ต้องการให้ออกแบบเครื่องประดับถมนครประเภทจี้  (ร้อยละ32)  ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นต่อการประเมินเครื่องประดับถมนครประเภทจี้แนวทางประยุกต์ รูปแบบที่ 1 มากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.24 (SD.0.68) 3) ผู้บริโภคมีความพึงพอใจในแต่ละด้านตามลำดับดังนี้ ด้านชุดแต่งกายที่เหมาะสมกับเครื่องประดับสร้อยจี้ คือ ชุดไทย พึงพอใจมากที่สุด  4.63 (SD. 0.59) ด้านโอกาสที่เหมาะสมกับเครื่องประดับสร้อยจี้  คือ งานประเพณี พึงพอใจมากที่สุด 4.60 (SD.0.58) ด้านรูปแบบผลิตภัณฑ์  มีคุณค่าทางมรดกทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญามากที่สุด   4.59 (SD.0.63) ด้านช่องทางการเลือกชื้อผลิตภัณฑ์ที่สนใจ ซื้อจากแหล่งผลิตเครื่องถม พึงพอใจมากที่สุด 4.51(SD. 0.64)  ด้านการส่งเสริมการขาย  มีช่องทางออนไลน์เพื่อเลือกชมสินค้า พึงพอใจมาก 4.38 (SD.0.69)  และด้านราคาขั้นต่ำ (1,500 บาท)  ผลิตภัณฑ์มีมูลค่าเพิ่มผู้บริโภคพึงพอใจมาก 3.97(SD.0.68)   จากนั้นผู้วิจัยได้ทำการถ่ายทอดผลการวิจัยให้กับนักเรียนสาขาวิชาโลหะรูปพรรณ  ณ ศูนย์ส่งเสริมหัตถกรรมเครื่องถมนคร วิทยาลัยศิลปหัตถกรรม อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

References

ชัชวาลย์ รัตนพันธุ์. (2561). การนำศิลปวัฒนธรรมภาคใต้มาสร้างแนวความคิดในการออกแบบของที่ระลึก. วารสารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์, 18(1), 119 - 136.

ฐปนัฐ แก้วปาน, สราวุธ อิสรานุวัฒน์, และจริยา แผลงนอก. (2563). หลักการและแนวคิดในการออกแบบผลิตภัณฑ์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 22(2), 161-172.

นิคม นกอักษร. (2564, 15 มิถุนายน). ครูศิลป์ของแผ่นดินสาขาโลหะเครื่องถม ประจำปี 2555. สัมภาษณ์.

พรรณนุช ชัยปินชนะ, อเนก ชิตเกษร, และจิรัฏฐ์ กาญจน์บุญเรือง. (2565). พัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์ผ้าทอคุณภาพกลุ่มผ้าทอกะเหรี่ยง บ้านแม่ใหญ่ จังหวัดลำพูน. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาพื้นที่, 14(1), 27-39.

มัณฑนา ทองสุพล และ กนกเนตร พินิจด่านกลาง. (2560). ศึกษาเอกลักษณ์เครื่องประดับไทยจาก 4 ภาค ประยุกต์ในการออกแบบเครื่องประดับเงินสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้เครื่องประดับร่วมสมัย. วารสารสังคมมนุษย์, 5(1),137 - 166.

รัฐ เปลี่ยนสุข และ ฟิลิป เมยสัน. (2565, 26 กันยายน). เสพประสบการณ์ในงานดีไซน์. https://www.thaipower.co/-sumphat-gallery/?utm_source=facebookkptp&utm_ medium=post&utm_campaign=sumphat-people-

เรวัต สุขสิกาจญน์. (2564). แนวทางการประยุกต์ศิลปะการแกะหนังตะลุงเพื่อออกแบบเครื่องประดับถมนคร. วารสารสถาปัตยกรรมการออกแบบและการก่อสร้าง, 3(3), 13 - 31.

รุ่งณภา สุวรรณศรี. (2563, 17 ธันวาคม). ศึกษาศิลปะแบบศรีวิชัยเพื่อออกแบบอัตลักษณ์ลวดลายบนผลิตภัณฑ์เครื่องถมทอง. http://www.journal.rmutt.ac.th/ index.php/arts/article/view/2112

วรัญชลีย์ ทวีชัย, พิชัย สดภิบาล, และทรงวุฒิ เอกวุฒิวงศา. (2559). การศึกษาภูมิปัญญาทองเพชรเพื่อพัฒนาชุดเครื่องประดับ. วารสารวิชาการศิลปะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร, 7(1), 160 - 172.

วรรณภา แสงภักดี, สุพัตรา ใจเมตตา, วิยะดา บรรจง, สุพจน์ ดีบุญมี, และมัลลิกา จำปาแพง. (2561). การศึกษาความพึงพอใจและความผูกพันของผู้ซื้อผ้าไหมแพรวา จังหวัดกาฬสินธ์. วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2(2), 3-26.

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช. (2561). ผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทยในโครงการสร้างคนสร้างงานศิลปะในเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช. นครศรีธรรมราช : อักษรการพิมพ์.

สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรม. (2559). วัฒนธรรม 9 ยุค. วารสารอุตสาหกรรม, 58(6), 12-41.

สิปปนันท์ นวลละออง และ ปิยตา สุนทรปิยะพันธ์. (2561, 20 ธันวาคม) .วิถีทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรมศรีวิชัยเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมบนคาบสมุทรภาคใต้ของไทย. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/e-jodil/article/view/213772/148720

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2565, 2 เมษายน).

สถานการณ์ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย เดือนมกราคม-กันยายน ปี 2565. https://www.thaitextile.org/th/insign/detail.3237.1.0.html

เอกพงศ์ ตรีตรง. (2561). การสร้างสรรค์ศิลปะร่วมสมัยเพื่อเพิ่มทุนทางวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ : ส.อ. การพิมพ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-28

ฉบับ

บท

บทความวิจัยสร้างสรรค์