การศึกษาวิเคราะห์ชุมชนไทยสิงขรเพื่อสะท้อนวัฒนธรรมร่วมทางภราดรภาพบนเส้นทางประวัติศาสตร์ข้ามคาบสมุทรมลายูตอนบนด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม
คำสำคัญ:
ไทยสิงขร, วัฒนธรรมร่วม, ภราดรภาพ, การมีส่วนร่วมบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างชุดองค์ความรู้สำหรับชุมชนไทยสิงขรโดยการศึกษาและวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ความเชื่อมโยงในวัฒนธรรมร่วม ความสัมพันธ์ และภราดรภาพ ในอาณาบริเวณพรมแดนรัฐชาติด่านสิงขร ตามเส้นทางประวัติศาสตร์ข้ามคาบสมุทรมลายูตอนบน วิธีดำเนินการวิจัยใช้เครื่องมือวิจัยและรูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) ประชากรกลุ่มตัวอย่างเป็นชุมชนด่านสิงขรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์และอำเภอตะนาวศรี จังหวัดมะริด ประเทศเมียนมา ที่มีความเชื่อมโยงทางประวัติศาสตร์ ได้วิเคราะห์ข้อมูลจากภาคเอกสาร ภาคสนาม การสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม จัดทำต้นแบบชุดองค์ความรู้ จัดกิจกรรมแบบมีส่วนร่วมในการตรวจสอบข้อมูลและความถูกต้องของชุดองค์ความรู้ชุมชน ได้ชุดองค์ความรู้ไทยสิงขรดังนี้ 1.ประวัติเส้นทางเวลา 2.หนังสือองค์ความรู้ 3.ปฏิทินประเพณี 12 เดือน และ4.แผนที่วัฒนธรรม ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า เส้นทางข้ามคาบสมุทรมลายูตอนบนเป็นเส้นทางที่มีความสำคัญในการเชื่อมโยงทางวัฒนธรรมและภราดรภาพข้ามพรมแดน 3 ด้านดังนี้ 1.เส้นทางการค้า 2.เส้นทางเผยแผ่ศาสนาและการทูต และ 3.เส้นทางเดินทัพ ไทยสิงขรจึงเป็นชุมชนคนไทยที่ติดแผ่นดินหลังถูกปักปันเขตแดน ถือตนเป็นคนไทยและยังคงผลิตซ้ำความเป็นไทยมาอย่างเข้มข้น ด้วยการใช้ภาษา ขนบประเพณี วัฒนธรรมแบบดั้งเดิมไว้ ซึ่งพบลักษณะบางประการที่ไม่ปรากฏในวัฒนธรรมพม่า เช่น การตั้งศาลพระภูมิ การละเล่นตะลุง โนราห์ เป็นต้น ถึงแม้ภายนอกจะจะมีภาพลักษณ์ของชาวเมียนมา แต่การแสดงออกในวิถีชีวิตประจำวันถูกถ่ายทอดผ่านคติแบบไทยทั้งสิ้น ทำให้เห็นถึงภราดรภาพที่ยังคงเชื่อมโยงเป็นภาพสะท้อนทางสายสัมพันธ์ความเป็นไทยสิงขรแม้จะไม่ได้อยู่บนแผ่นดินมาตุภูมิ
References
กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. (2545). พงศาวดารเรื่องไทยรบพม่า. กรุงเทพฯ : มติชน.
กรมศิลปากร. (2542). สมุดภาพไตรภูมิฉบับกรุงศรีอยุธยา–ฉบับกรุงธนบุรี เล่ม 1. กรุงเทพฯ : อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
กรมศิลปากร. (2542). สมุดภาพไตรภูมิฉบับกรุงศรีอยุธยา–ฉบับกรุงธนบุรี เล่ม 2. กรุงเทพฯ : อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. (2544). วัฒนธรรมพัฒนาการทางประวัติศาสตร์เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร.
โคลด์ เซเบเรต์ เดอ บูเล. (2560). จดหมายเหตุของมองซิเออร์เซเบเรต์. นนทบุรี : ศรีปัญญา.
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. (2558). แผ่นพับประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวด่านสิงขร. ประจวบคีรีขันธ์.
ชวน เอมโอฐ. (2556). บันทึกเรื่องเล่าชาวกุยบุรี. ประจวบคีรีขันธ์ : โรงพิมพ์เสียงประจวบ.
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. (2555). ประมวลแผนที่: ประวัติศาสตร์-ภูมิศาสตร์-การเมือง กับลัทธิอาณานิคมในอาเซียน-อุษาคเนย์. กรุงเทพฯ : มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย.
ณัฐพล ตันตระกูลทรัพย์ (2552). เขตแดนไทย-พม่า ปัญหาที่รอการปักปัน (2) สถานะปัจจุบันของ
เขตแดนไทย-พม่า และประเด็นปัญหา. กรุงเทพฯ : ศูนย์โลกสัมพันธ์ไทย สถาบันเอเชียศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดุลยภาค ปรีชารัชช และคณะ. (2554). เขตแดนสยามประเทศไทย-มาเลเซีย-พม่า-ลาว-กัมพูชา.
กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.
เดอ บูรช์, ฌ. (2530). จดหมายเหตุการเดินทางของพระสังฆราชแห่งเบริธ ประมุขมิสซังสู่อาณาจักโคจินจีน. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร.
บ. ธรรมบุตร (2547). จดหมายจากตะนาวศรี. กรุงเทพฯ : มูลนิธิธนาคารกรุงเทพ.
มอริส คอลลิส. (2507). แซมมวลไวท์แห่งกรุงสยาม. พระนคร : เกษมบรรณกิจ.
ไมเคิล ไรท์. (2562). เข้าใจจักรวรรดินิยมแบบยุโรปกับทะเลอันดามันและสยามในคริสต์ศตวรรษที่ 19. กรุงเทพฯ : ศิลปวัฒนธรรม.
ไมเคิล ไรท์. (2548). แผนที่แผนทางในประวัติศาสตร์โลกและสยาม. กรุงเทพฯ : มติชน.
ราชบัณฑิตยสภา. (2555, 7 สิงหาคม). รู้ รัก ภาษาไทย. กรุงเทพฯ : สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (2550).จารึกวัดเขากบ. https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/215
สายสกุล เดชาบุตร. (2558). เสียดินแดนให้จักรวรรดินิยมในสมัยล่าอาณานิคม. กรุงเทพฯ : ยิปซี กรุ๊ป.
สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2560). วัฒนธรรมร่วมอุษาคเนย์ในอาเซียน. กรุงเทพฯ : เรือนแก้วการพิมพ์.
สุเนตร ชุตินธรานนท์. (2561). พม่ารบไทย ว่าด้วยการสงครามระหว่างไทยพม่า. กรุงเทพฯ : มติชน.
สุเนตร ชุตินธรานนท์ และคณะ. (2557). ชาตินิยมในแบบเรียน. กรุงเทพฯ : มติชน.
สุนนท์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา. (2534). ชุมชนและสถาปัตยกรรมเพชรบุรี (สมัยทวารวดี-สมัยอยุธยา).
NAJUA: Architecture, Design and Built Environment. (มกราคม-ธันวาคม/11), 26-55.
Du Val, M. (1686). Carte du Royaume de Siam et des Pays Circonvoisins. Paris.
Glassner, M. I. (1993). Political Geography. Mississauga: John Wiley & Son Canada Ltd.
MGR Online (2561, 26 มกราคม). บันทึกจีนฯ จับมือทางทหารมาแต่สมัยอยุธยา. https://mgronline.com/china/detail/9610000033455.