This is an outdated version published on 2023-06-28. Read the most recent version.

การศึกษาวิเคราะห์ผลงานวิจัยทางด้านการออกแบบเพื่อการแสดงละครเวทีในประเทศไทย ในช่วง 20 ปี (ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2544-พ.ศ.2563)

ผู้แต่ง

  • จารุนี อารีรุ่งเรือง สาขาการละคอน คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

งานวิจัยทางการออกแบบเพื่อการแสดง, ละครเวที, ละครเวทีในประเทศไทย

บทคัดย่อ

การศึกษาวิเคราะห์ผลงานวิจัยทางด้านการออกแบบเพื่อการแสดงละครเวทีในประเทศไทยในช่วง 20 ปี (ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2544-พ.ศ.2563) มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลและศึกษาวิเคราะห์องค์ความรู้จากงานวิจัยทางด้านการออกแบบเพื่อการแสดงละครเวทีในประเทศไทยและจัดทำเป็นฐานข้อมูล  ใช้ระเบียบวิธีวิจัยทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) รายงานการวิเคราะห์ข้อมูลแบบพรรณนา กลุ่มประชากรคืองานวิจัยและวิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบด้านศิลปะการแสดง โดยแบ่งเป็น (1) กลุ่มประชากรหลัก คืองานวิจัยด้านการออกแบบเพื่อการแสดงละครเวทีจำนวน 10 ตัวอย่าง (2) กลุ่มประชากรรองจำนวน 30 ตัวอย่างคืองานวิจัยการออกแบบเพื่อศิลปะการแสดงแขนงอื่นรวมถึงงานวิจัยทางละครเวทีที่ไม่ได้มุ่งศึกษาเฉพาะด้านออกแบบแต่มีเนื้อความอธิบายเกี่ยวข้องกับกระบวนการออกแบบ  จากการเปรียบเทียบข้อมูลพบว่า วิจัยการออกแบบเพื่อละครเวที : วิจัยการออกแบบเพื่องานนาฏศิลป์ : วิจัยการออกแบบเพื่อการแสดงผ่านสื่อ มีสัดส่วน 10 : 10 : 9    ผลงานวิจัยด้านการออกแบบเพื่อศิลปะการแสดงทุกแขนง 29 รายการ เป็นผลงานวิจัยของอาจารย์ผู้สอนระดับมหาวิทยาลัยจำนวน 16 รายการ เป็นผลงานวิทยานิพนธ์ 12 รายการ และจากหน่วยงานอื่น 1 รายการ   สำหรับผลการศึกษางานวิจัยด้านการออกแบบเพื่อการแสดงละครเวที 10 รายการ พบว่าการวิจัยด้านเครื่องแต่งกายละครเวทีมี 3 รายการ  การวิจัยด้านการออกแบบฉากละครเวทีมี 5 รายการ  การวิจัยด้านการกำกับศิลป์ละครเวทีมี 1 รายการ และการวิจัยด้านการใช้พื้นที่และมัลติมีเดีย 1 รายการ  ผู้วิจัยเป็นอาจารย์ด้านการออกแบบเพื่อการแสดงละครเวทีโดยตรง 5 คน นักศึกษาระดับปริญญาโท 1 คน และนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีชื่อร่วมกับอาจารย์ 1 คน  ด้านวิธีวิทยาในการวิจัยพบว่าใช้กระบวนการวิจัยสร้างสรรค์ 8 รายการ อีก 2 รายการเป็นวิทยานิพนธ์เพื่ออภิปรายปรากฏการณ์และสร้างองค์ความรู้ตามลำดับ  ทฤษฎีที่มีการนำมาใช้ ได้แก่ ทฤษฎีการละคร ทฤษฎีสุนทรียศาสตร์ ทฤษฎีการออกแบบ ทฤษฎีสัญวิทยา แนวคิดทางการออกแบบที่นำมาใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานมากที่สุดอยู่ในกลุ่มแนวเหนือจริง (Surrealism) อาทิ เอ็กซ์เพรสชันนิสม์ (Expressionism)  สัญลักษณ์นิยม (Symbolism)

References

กฤษณ์ คำนนท์. (2552). การสร้างภาพตัวแทนด้วยการแต่งหน้าเพื่อสื่อความหมายลักษณะตัวละครของละครโทรทัศน์ไทย. (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กิตติกรณ์ นพอุดมพันธุ์. (2557). การศึกษาวิเคราะห์แนวทางการออกแบบเครื่องแต่งกายนาฏศิลป์นิพนธ์ (นาฏศิลป์ไทย) คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ระหว่างปีการศึกษา 2546 – 2550. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ, 16(1), 79-92.

จรรย์สมร ผลบุญ, กำธร เกิดทิพย์ และ โอภาส อิสโม. (2563). การพัฒนาชุดยืนเครื่องในการแสดงนาฏศิลป์ไทย. สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

จารุนี อารีรุ่งเรือง. (2559). กระบวนทัศน์ของการออกแบบฉากการแสดงโขน : กรณีศึกษาโขนตามแนวพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 8(1), 131-152.

คณพศ วิรัตนชัย. (2560). การออกแบบเครื่องแต่งกายละครเวทีเรื่องการมาเยือนของหญิงชรา. วารสารดนตรีและการแสดง, 7(1), 94-109.

คณพศ วิรัตนชัย และ เกษมศักดิ์ ศรีโสภณ. (2561). การออกแบบฉากรูปแบบสัญลักษณ์นิยมในละครสัจนิยม : ละครเวทีเรื่อง Kitchen’s Monologue. วารสารดนตรีและการแสดง, 4(2), 102-118.

ชญาดา รุ่งเต่า. (2549). การใช้พื้นที่และมัลติมีเดียของคณะละครเวทีร่วมสมัยในเทศกาลละครกรุงเทพ. (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชโลธร จันทะวงศ. (2554). การสร้างสรรค์ละครเพลงของ บริษัท ดรีมบอกซ์ เอนเตอร์เทนเมนท์ จำกัด และ บริษัท ซีเนริโอ จำกัด พ.ศ. 2533 – 2553. (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณฐพงษ์ เธียรสวัสดิ์. (2556). การออกแบบเสียงเพื่อสร้างศานติภาวะในการแสดงจากผลงานของซามูแอลเบ็คเก็ต. (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฐคม แช่มเย็น. (2556). การวิจัยและสร้างสรรค์ผลงานออกแบบฉากละครเวทีเรื่องคำพิพากษาของชาติ กอบจิตติ. ศิลปกรรมสาร, 11(2), 37-52.

ธิดารัตน์ ไชยเสนา. (2548). สุนทรียรูปในการสื่อสารการแสดงหุ่นละครเล็ก. (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

นพดล อินทร์จันทร์. (2557). การศึกษาบทบาทและลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้กำกับศิลป์ในภาพยนตร์ไทย. สถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ, 16(1), 57-67.

นพดล อินทร์จันทร์. (2560). การศึกษาวิเคราะห์เครื่องแต่งกายในละครโทรทัศน์เรื่อง “ปริศนา”

ตั้งแต่ พ.ศ. 2530 – 2558. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

บรมวุฒิ ถนอมวงษ์. (2551). กระบวนการสร้างสรรค์ละครเวทีประเภทละครเพลงของบริษัทซีเนริโอจำกัด. (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

บุษรา คำเมือง. (2560). กรณีศึกษาการออกแบบการแต่งกายจากละครโทรทัศน์เรื่อง กีฮวังฮู จักรพรรดินีสองแผ่นดิน. (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปวิตร มหาสารินันทน์. (2546). รัก(ทะ)ลวงตา ความจริง(ลวง)ในชีวิตและความลวง(จริง)ในละคร. อักษรศาสตร์, 32(1), 221-245.

พรรณศักดิ์ สุขี. (2562). ลอดิลกล่มฟ้า : การผสานนาฏยศิลป์ไทยกับตะวันตกเพื่อสร้างอัตลักษณ์ละครสมัยใหม่ของไทย. (วิทยานิพนธ์ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พันธุ์ชนะ สุนทรพิพิธ. ศิลปะการออกแบบเครื่องแต่งกายละครเวทีสมัยใหม่. (วิทยานิพนธ์ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พีรพงศ์ เสนไสย. (2550). การแสดงแสง สี เสียง : การสร้างสรรค์วัฒนธรรมบันเทิง การบริการวิชาการ และการบริการศิลปวัฒนธรรมเพื่อสังคม ของกลุ่มสาขาวิชาศิลปะการแสดง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ภคพร พิมสาร. (2562). แนวทางสร้างสรรค์การออกแบบอุปกรณ์ประกอบการแสดงจากผลงานนาฏยศิลป์สร้างสรรค์ ของนราพงษ์ จรัสศรี. วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 11(2), 38-48.

ภาสกร อินทุมาร. (2565). สถานะองค์ความรู้ด้านการละครสมัยใหม่ในสังคมไทย: การสังเคราะห์องค์ความรู้จากงานวิจัย. วารสารธรรมศาสตร์, 41(2), 1-26.

รินบุญ นุชน้อมบุญ. (2554). ประตูน้ำ (ชุมชนตลาดเฉลิมลาภ): มิติการพัฒนาชุมชนเครื่องแต่งกายเพื่อการแสดง. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ, 13(1), 46-55.

รินบุญ นุชน้อมบุญ. (2559). การออกแบบในงานภาพยนตร์กับบริบทสังคมและวัฒนธรรม: กรณีศึกษาผลงานของหม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุลในช่วงปี พ.ศ. 2553 – 2557. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ, 17(2), 95-103.

รินบุญ นุชน้อมบุญ. (2561). งานวิจัยเครื่องแต่งกายเพื่อการแสดง : กรณีศึกษาเครื่องแต่งกายในภาพยนตร์ไทยอิงประวัติศาสตร์เรื่อง“ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช”. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

รุจน์ ขาวมาลา. (2558). งานออกแบบงานสร้างให้ดูสมจริงต่อผู้ชมในภาพยนตร์ไทยเรื่อง ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 5 ยุทธหัตถี. (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ลักขณา แสงแดง. (2557). นาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัยในการแสดงแสงเสียงประกอบจินตภาพ เรื่อง วังลดาวัลย์ อดีตอันรุ่งเรือง สู่ปัจจุบันอันรุ่งโรจน์. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ลักษณ์นัยน์ ทรงเสี่ยงไชย. (2552). การออกแบบสารด้วยแสงในการสร้างสรรค์การแสดงโขนร่วมสมัย. (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฤทธิรงค์ จิวากานนท์ (2545). ราตรีนิมิตกลางคิมหันต์ : การออกแบบเครื่องแต่งกายละครดัดแปลงบริบทเป็นสังคมไทย. มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์, 19(4), 13-25.

ฤทธิรงค์ จิวากานนท์ (2550). ความหลากหลายและหลากเลื่อนของงานสร้างสรรค์ในละครเวที : กรณีศึกษา มหัศจรรย์ผจญภัยเจ้าชายหอย. มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์, 24(3), 34-50.

ฤทธิรงค์ จิวากานนท์. (2550). เรื่องเก่าเล่าใหม่ 3: การกำกับศิลป์สำหรับละครร่วมสมัย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฤทธิรงค์ จิวากานนท์ (2554). บทละครเวทีแบบ Stylization เรื่อง สี่แผ่นดิน:การใช้พื้นที่และการสื่อความหมาย. มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์. 28(3), 149-176.

ศริยา หงษ์ยี่สิบเอ็ด. (2557). นาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัยในการแสดงแสงเสียงประกอบจินตภาพ เรื่อง เวียงกุมกาม : เมื่อน้ำเอาชนะกษัตริย์ผู้ไม่แพ้ใคร. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศรุต รัตนวิจิตร. (2555). การดัดแปลงข้ามสื่อ ละครเรื่อง "แม็คเบธ" ของ วิลเลียม เชคสเปียร์. (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิรินทร์พร ศรีใส. (2545). จินตทัศน์ในกระบวนการสื่อสารการแสดงของคณะละครเวทีสมัยใหม่. (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สดใส พันธุมโกมล. (2542). ศิลปะของการแสดงละครสมัยใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สิริธร ศรีชลาคม. (2559). การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ร่วมสมัยร่วมกับการฉายภาพสำหรับการแสดง: มาย แท็งก์ (My Tank). (วิทยานิพนธ์ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุชาติ เถาทอง. (2559). ศิลปวิจัย สร้างวิชาการแบบการปฏิบัติสร้างสรรค์ศิลปะ. กรุงเทพมหานคร : จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.

สุรีรัตน์ อุปพงศ์. (2559). อิทธิพลศิลปะเซอร์เรียลิสม์ (Surrealism) ที่ปรากฏในการกำกับศิลป์ของมิเชล กอนดรี้ในภาพยนตร์เรื่อง The Science of Sleep. (วิทยานิพนธ์ศิลปมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อาภาวี เศตะพราหมณ์. (2551). กระบวนการสร้างสรรค์ละครดนตรีเรื่อง “กว่าฉันจะเป็น...”ตามแนวทางของแบร์ทอลท์ เบรคชท์ เพื่อสื่อประเด็นวัยรุ่นกับยาเสพติด. (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-28

Versions