การจัดการความรู้ฮูปแต้มวัดโพธิ์ชัย บ้านนาพึง อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย

Knowledge Management of Mural Painting at Wat Phochai, Napueng Village, Na Haew District, Loei Province

ผู้แต่ง

  • ไทยโรจน์ พวงมณี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย / Faculty of Humanities and Social Sciences, Loei Rajabhat University
  • คชสีห์ เจริญสุข สาขาวิชาดุริยางคศิลป์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • นัยนา อรรจนาทร สาขาวิชาบรรณารักษ์ศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

คำสำคัญ:

การจัดการความรู้, ฮูปแต้ม, วัดโพธิ์ชัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพในการศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการจัดการความรู้ฮูปแต้มวัดโพธิ์ชัย และ 2) ศึกษาองค์ความรู้จากการจัดการความรู้ฮูปแต้มวัดโพธิ์ชัย บ้านนาพึง อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย ปราชญ์ท้องถิ่น นักวัฒนธรรม นักวิชาการท้องถิ่น และกลุ่มผู้สื่อความหมายการท่องเที่ยว จำนวน 12 คน ใช้การศึกษาเอกสาร แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกข้อมูล และประเด็นการสนทนากลุ่มเป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) การจัดการความรู้ฮูปแต้มวัดโพธิ์ชัยสำหรับการนำองค์ความรู้ไปพัฒนางานด้านการจัดการท่องเที่ยวและด้านการเรียนรู้มี 7 ขั้นตอนดังนี้ (1) การบ่งชี้ความรู้ (2) การสร้างและแสวงหาความรู้ (3) การจัดความรู้ให้เป็นระบบ (4) การประมวลและกลั่นกรอง (5) การเข้าถึงความรู้ (6) การแบ่งปันและการแลกเปลี่ยนความรู้ และ (7) การเรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ 2) องค์ความรู้ที่ค้นพบจากการจัดการความรู้ฮูปแต้มวัดโพธิ์ชัยพบว่า ฮูปแต้มถูกแต้มบนผนังวิหารมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2359 แต้มผนังด้านในแต้มเรื่องราวพุทธประวัติ ทศชาติชาดกโดยช่างแต้มจากนอกพื้นที่ ส่วนผนังด้านนอกแต้มเรื่องราววรรณกรรมท้องถิ่นโดยช่างแต้มในพื้นที่บ้านนาพึงและช่างแต้มชาวลาว มีลักษณะเป็นภาพเล่าเรื่องราวแบบต่อเนื่องเต็มผนัง

References

กิตติ์ธนัตถ์ ญาณพิสิษฐ์. (2560). สถานภาพฮูปแต้มอีสานศึกษา: อดีตจนถึงปัจจุบัน. วารสารการบริหารปกครอง, 6(ฉบับพิเศษ), 156- 173.

คณาทิพย์ ศรีวะรมย์. (2562). แนวคิดเรื่องการจัดการความรู้. วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย, 1(4), 41-50.

ชมพู เนินหาด, สุชาดา นิ้มวัฒนากุล, และปาลีรัญญ์ ฐาสิรสวัสดิ์. (2561). การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาตน พัฒนางานอย่างสร้างสรรค์: กรณีศึกษาบุคลากรสายสนับสนุนวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี, 29(2), 217-230.

ชิงชัย ศิริธร. (2561). การประยุกต์ใช้วัฒนธรรมฮูปแต้มในการออกแบบกราฟิกเพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายในกีฬาขอนแก่นมาราธอนนานาชาติ 2019. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 30(3), 233-241.

ดลนายา สุเวทเวทิน. (2561). ถอดรหัสฮูปแต้มพัฒนาชุมชน, https://www.thaihealth.or.th/Content/42398.

ไตรเทพ สหะขันธ์. (2562). ศึกษาอัตลักษณ์และความเชื่อในจิตรกรรมฝาผนังแบบพื้นบ้านเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เทพพร มังธานี. (2554). ฮูปแต้มในสิมอีสาน: ภาพสะท้อนความหลากหลายของลัทธิความเชื่อ. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 3(1), 40-54.

นงนุช ภู่มาลี. (2553). ภาพเจดีย์จุฬามณีในงานฮูปแต้มอีสาน. วัฒนศิลปะสาร, 5(1), 73-135.

บวร ขมชุณศรี และ บุญทัน ดอกไธสง. (2562). การจัดการความรู้. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทัศน์, 5(1), 89-102.

บุรินทร์ เปล่งดีสกุล. (2554). พัฒนาการจิตรกรรมฝาผนังอีสานกรณีศึกษาจังหวัดขอนแก่ มหาสารคามและจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 3(1), 84-113.

ปรัชญา เหลืองแดง. (2563). การจัดการความรู้งานศิลปกรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นในวัดเทวสังฆารามเพื่อการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมท้องถิ่นสำหรับนักศึกษาครูสังคมศึกษา. วารสารมนุษย์สังคมปริทัศน์, 22(1), 144-163.

ปาริชาต กัณฑาทรัพย์, สุภัคกาญจน์ จิวาลักษณ์, และสุริยา คำกุนะ. (2565). แนวคิดเกี่ยวกับพุทธศาสนาที่ปรากฏในจิตรกรรมฝาผนังของอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์. Journal of Modern Learning Development, 7(11), 553-564.

พระครูปลัดพีระพันธ์ธมฺมวุฑฺโฒ, พระมหาวิฑูรย์สิทฺธิเมธี, สมุทร สงวนสิน, และกาญจนพงศ์ สุวรรณ. (2562). พุทธจิตรกรรม: ประวัติ พัฒนาการ และอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(10), 5272-5285.

พระมหาพีรพันธ์ ธมมวุฑโฒ (ตรีศรี). (2559). การศึกษาวิเคราะห์คุณค่าฮูปแต้มเชิงพุทธศิลป์ในสิมวัดโพธิ์ชัย ตำบลนาพึง อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย. ธรรมทรรศน์. 13(3), 97-108.

พิทักษ์ น้อยวังคลัง. (2549). ค่านิยมไตรภูมิในจิตรกรรมฝาผนังโบสถ์อีสาน. วารสารสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, 38(2), 283-300.

พิมพ์พรรณ เทพสุเมธานนท์. (2560). การจัดการความรู้. วารสารรัชต์ภาคย์, 11(23), 79-96.

มนัส จอมปรุ และสุชาติ เถาทอง. (2562). ฮูปแต้มอีสาน: การวิเคราะห์รูปและความหมายจากภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่การตกแต่งพื้นที่ฝาผนังสิมร่วมสมัยอีสาน. วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์, 21(2), 100-139.

วรพรรณ ภูวิจารย์. (2555). จิตรกรรมฝาผนังวัดโพธิ์ชัยนาพึง อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย.

สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย.

ศุภชัย สิงห์ยะบุศย์. (2560). จิตรกรรมฝาผนังพุทธอุโบสถอีสานในบริบทสังคมวัฒนธรรมท้องถิ่นสมัย ประเทศสยาม. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 5(2), 41-50.

สมพงษ์ ทิมแจ่มใส. (2551). ฮูปแต้มวัดถ่งศรีเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 1(1), 82-90.

สุกานดา ถิ่นฐาน และอนุชา แพ่งเกสร. (2565). ปัจจัยที่ส่งเสริมการสื่อสารอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมในบริบทการท่องเที่ยวประวัติศาสตร์-วัฒนธรรม กรณีศึกษา เส้นทางรถไฟสายมรณะ จังหวัดกาญจนบุรี. ศิลปกรรมสาร, 15(2), 89-105.

สุพาสน์ แสงสุรินทร์. (2558). จิตรกรรมฝาผนังอีสาน”ฮูปแต้ม”จากความเชื่อนรกภูมิสู่รูปแบบและคุณค่าศิลปกรรม. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 7(1), 84-109.

อดิเทพ จันทร์แดง และพรหมภัสสร ชุณหบุญญทิพย์. (2565). แนวทางการปรับใช้องค์ความรู้การเล่าเรื่องฮูปแต้มเพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม: กรณีศึกษาฮูปแต้มสิมวัดพุทธสีมา อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 41(6), 171-182.

อดุลย์ หลานวงค์, พระมหาโยธิน โยธิโก และพระภานุวัฒน์ จนฺทวฑฺฒโน. (2563). ฮูปแต้มอีสาน: การจัดการของชุมชนเพื่อการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรม. Journal of Modern Learning Development, 5(5), 158-168.

อติญา วงษ์วาท, ดวงกมล บางชวด และชวลิต อธิปัตยกุล. (2565). แนวทางการสืบทอดคุณค่าฮูปแต้มอีสาน: วัดท่าเรียบ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารราชพฤกษ์, 20(1), 142-155.

อรัญ วานิชกร. (2559). การศึกษาจิตรกรรมไทยเพื่อบูรณาการและส่งเสริมภาพลักษณ์การแพทย์แผนไทย. ศิลปกรรมสาร, 11(1), 187-216.

อำภา บัวระภา. (2564). ความสัมพันธ์ของฮูปแต้มกับภูมิทัศน์ชุมชน. วารสารสถาปัตยกรรมการออกแบบและการก่อสร้าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 3(1), 29-40.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31